10 เม.ย. 2561

พิพิธภัณฑ์สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์เขมรแดง ที่เสียมเรียบ กัมพูชา


พิพิธภัณฑ์สงคราม

war Museaum Cambodia

   ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยุคเขมรแดง

           -------------------------
โดย.. ณ  วงเดือน
  


        เมื่อปลายปี  2559 เดือนพฤศจิกายน ได้มีโอกาศเดินทางไปเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์สงครามสมัยยุคเขมรแดงเรื่องอำนาจ ยังหลงเหลือร่องรอย อาวุธสงครามที่ใช้ฆ่าล้มล้างกันเอง พิพิธภัณฑ์สงคราม หรือว่า war museaum cambodia   ที่นี่เป็นที่รวบรวมเอาซากอาวุธที่ใช้เข่นฆ่ากันในยุคเขมรแดงตอนนั้นมาจัดแสดงรวบรวมเอาไว้ยังที่นี่   มีค่าเข้าชมคนละ 5 ดอลล่า
                     เมื่อเราเดินเข้าไปยังด้านในของพิพิธภัณฑ์ จะพบการจัดแสดงของ
ซาก รถถัง จรวดต่อสู้อากาศยาน  ปืนใหญ่  กับระเบิด ลูกระเบิดชนิดต่าง ๆ มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญมากมาย รวมทั้ง อาวุธปืนต่าง ๆ มาจัดแสดง  และภาพถ่ายของประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการถูกกับระเบิด หรือว่าเดินไปเยียบกับพวกระเบิดที่ถูกฝังดินเอาไว้ในยุคนั้น
      

พิพิธภัณฑ์สงครามนี้มีการจัดแสดงประวัติศาสตร์ของสงครามกลางเมืองระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาและทหารของฝ่ายเขมรแดง โดยจะมีซากรถถัง ยุทโธปกรณ์ต่างๆที่ไปกู้ซากมาจากเขตการสู้รบในจังหวัดต่างๆ เช่น อัลลองเวง เสียมเรียบ และอื่นๆ เพื่อนำมาจัดแสดงไว้ที่นี้ มีอาวุธสงครามแบบต่างๆให้หยิบมาถ่ายภาพได้่  เราเดินเที่ยวชมภายใน ประมาณ 30 นาที โดยรอบ ซึ่งก็มีซากรถถังมากมายที่ถูกทำลาย นำมาเก็บไว้เพื่อจัดแสดงถึงความเป็นมาในอดีตให้ได้รับรู้ถึงความโหดร้ายของสงคราม ที่ให้ได้มาเป็นข้อคิดเตือนสติ ของคนในสมัยปัจจุบันนี้ ได้ผ่านมุมมองของความคิดที่แตกแยก ในอดีตที่ทำให้ถึงขนาดเกือบสิ้นชาติ แผ่นดินกันเลยทีเดียว
  เราเดินดูด้วยความสลดหดหู่ใจอยู่สักพัก จึงได้พากันออกมา ซึ่งในการเดินทางไปครั้งนั้น กับท่านมหาเปรียญ 4 ประโยค ท่าน กมล  มงคลเกตุ   เป็นที่ปรึกษาด้านวรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คอยพาตะลอนดูในความเป็นไปของมนุษยชาติ ที่ว่า คนพูดจาภาษาเดียวกันแท้ ๆ ทำใมถึงได้มีจิตใจโหดร้ายฆ่ากันเองได้แบบไม่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้เพราะ แค่มีมุมมองความคิดที่แตกต่าง ๆ ในแนวการปกครองเพียงเท่านี้เอง
    เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น พรรคคอมมูนิสกัมพูชา         สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญ  และเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตร และใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมา
                        เพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชา  ต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วง คริศตวรรษที่ 20    หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน พ.ศ. 2522

            อำนาจการปกครองของเขมรแดงก็สิ้นสุดลง เนื่องจากการบุกยึดกัมพูชาของกองกำลังจากเวียดนาม  แต่อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเคลื่อนไหวแบบต่อต้านของเขมรแดง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันตกของกัมพูชา ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ที่ไทย  ก็ยังคงดำเนินต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 90 จนกระทั่ง ปี 2539  นายพล พต หัวหน้าขบวนการในขณะนั้น ก็ยุติการทำงานของเขมรแดงลงอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพ  พล พต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่   15 เมษายน  2541  โดยที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาคดีสังหารหมู่ประชาชนในช่วงที่เขมรแดงยังมีอำนาจอยู่แต่อย่างใด  เช่นเดียวกันกับนายพล ตามํอก อดีตผู้บัญชาการเขมรแดง ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  21  กค. 2549   ระหว่างการควบคุมตัวจากรัฐบาล  กัมพูชาเพื่อรอพิจารณาคดี   ปัจจุบัน มีเพียง
คังเอ็กเคียว   (หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ดุช”)    อดีตหัวหน้าค่ายกักกันตวลสะเลง และนวนเจีย อดีตสมาชิกระดับผู้นำ เท่านั้นที่ถูกนำตัวมาพิจารณาโทษจากศาลพิเศษซึ่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีของอดีตกลุ่มผู้นำเขมรแดงโดยเฉพาะ โดยได้เริ่มการพิจารณาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550  เป็นต้นมา       
                      บันทึกการท่องเที่ยว จึงขอรวบรวมบทความต่าง ๆ มาบันทึกไว้เป็นความรู้ยังที่แห่งนี้ด้วยที่ครั้งหนึ่งได้ไปเยือนมาแล้ว..



                                                ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น