10 เม.ย. 2561

ปราสาทนครธม เมืองหลวงสุดท้ายของขอมโบราณ กัมพูชา

ปราสาทนครทมเมืองหลวงขอม  แห่งสุดท้าย

                       ....โดย. ณ วงเดือน


เป็นที่ทราบกันดีว่า อาณาจักรสมัยขอมโบราณนั้นยิ่งใหญ่มีอาณาเขตแผ่ไพศาลไปทั่วแคว้น

         นครธม  (เขมรអង្គរធំ)   เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรก ๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่น ๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ

จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่น ๆ อีก 3 ด้าน


    ปราสาทนครธม  (Angkor Thom) นครธมเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขอม มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของนครวัด จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้าเทวพักตร์ 4 ด้าน ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่ 2 สะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมันเรียกว่า“ปราสาทบายน”
ปราสาทบายน (Bayon)  ปราสาทบายนประกอบด้วยองค์ปราสาทตั้งอยู่บนฐานซ้อนสามชั้น สมมุติให้เป็นทิพยสถานของเทพเจ้าบนยอดเขาพระสุเมร ด้วยปรางค์จัตุรมุข สลักป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร มี 216 หน้า รวม 54 ปรางศ์  หันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มบนพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรร เรียกว่า "ยิ้มแบบบายน
   นี่คือข้อมูลบางอย่างบางตอน ที่ได้บันทึกถึงความเป็นมาของปราสาทนครทม  ซึ่งทงผู้เขียน ได้มีโอกาศไปเยี่ยมเยียนเที่ยวชมความงามอย่างยิ่งใหญ่   ตั้งแต่ประตูทางเข้าและกำแพงของพระนครที่มีความยิ่งใหญ่ตระการตามา
มีคูน้ำขนาดใหญ่รอบรอบพระนคร   การจะเข้าไปยังปราสาทนี้ จะต้องผ่านยังสะพานทั้ง 4 ด้าน ซึ่งวันนั้น ทางคนนำพา ชาวเขมร พามายังด้านสะพานเข้าที่ยังอยู่ในสภาพดีกว่า ทั้ง 3 ด้าน
     โดยเราลงจากรถสามล้อ เดินเที่ยวชมยัง สะพานข้ามมายังฝั่งของนคร  ซึ่งสองข้างสะพานนั้นจะทำเป็น ฝ่ายมาร
และฝ่ายยักษ์ ชักขะเย่อซึ่งพญานาคราช ในตำนานพระอินทร์กวนสมุทร มีเทวดาและยักษ์มร่วมงานกวนน้ำทิพย์ในครั้งน้น  โดยถือเอาศุนญ์กลางตัวปราสาท สมมติว่าเป็นเขาพระสุเมรุ  โดยรูปปั้นทั้งฝั่งยักษ์และเทวดา นั้นก็ถือว่ายังอยู่ในสภาพที่ยังไม่ชำรุดเท่าไร   แต่ลำตัวของพญานาาคนั้น ขาดหลุดหล่นแตกหักไปตลอดทั้งสองฝั้ง ซึ่งเมือนับย้อนไปแล้วมีอายุกว่าหลายพันปีเลยทีเดียว ยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์เท่าที่เห็นตามสภาพอยู่ถึง 60 เปอเซนต์เลยทีเดียว
    เมื่อเราเข้าไปสู่ยังด้านในตัวปราสาทนั้นเรายังจะต้องใช้เวลาเดินทางเข้ามาอีกเป็นระยะทาง 3 ถึง 5 กม.เลยทีเดียว ถือว่าปราสาทนครทมแห่งนี้  มีพื้นที่ใหญ่โตมากกินพื้นที่หลายพันไร่เลยทีเดยว  เมื่อเรามาถึงด้านใน  ตรงกลางจะเป็นที่ตั้งตัวปราสาทหิน ที่มีรูปใบหน้า คล้ายพระพรหม หรือพระโพธิสัตว์ซึ่งต่างมองต่างกันออกไป ซึ่งมีการนำหินตัดเป็นก้อนวางเรียงทับซ้อนกันป็นระเบียบสวยงามมาก  
       มาอีกด้านซ้ายเหนือขึ้นมาของปราสาทนครทม จะเป็นลานช้างของพระเจ้าขี้เรือน ซึ่งตามเขาเล่ามาว่า และได้นำข้อมูลบางตอนมาจากเวป เกร็ดประวัติศาสตร์ จึงขอคัดลอกมา ลงไว้หน้าบันทึกท่องเที่ยวนี้ไว้ด้วยเป็นข้อมูลประดับความรู้ด้วยถึงความเป็นมาของลานช้างพระเจ้าขี้เรือนแห่งนี้ ดังนี้

           ที่ลานช้างแห่งนี้สร้างขึ้นมาเมื่อสมัยศตวรรษที่
12 มีภาพสลักนูนต่ำมากมาย โดยเฉพาะรูปตุ๊กตาหินที่วางอยู่เรียงรายเป็นแถวนั้น เล่ากันว่า เป็นที่มาของชื่อลานแห่งนี้ และเป็นตุ๊กตาที่ไม่มีใครกล้าแตะแม้แต่นิดเดียว

ตุ๊กตาเหล่านั้น เชื่อกันว่า เป็นตัวแทนแหง่ความวิบัติ ความเลวร้ายที่ได้บังเกิดขึ้นมาจากการสาปแช่งของพระฤาษีที่เล่ากันว่า เป็นแรงอาฆาตพยาบาทที่ตามจองเวรจนอาณาจักรแห่งนี้ล่มสลายในที่สุด
ย้อนหลังกลับไปใน สมัยที่เริ่มสร้างพระนครนั้น ตำนานของขอมโบราณเล่าถึงอุบัติกาลของปฐมกษัตริย์แผ่นดินตนว่า บรรพกษัตริย์ของตนนั้นถือกำเนิดขึ้นมาจากดอกบัว และต่อมากษัตริย์เกตุมาลาได้นำไปเลี้ยงไว้ และให้ชื่อว่า “ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์” ทรงครองเมือง “อินทรปัตถมนคร”
ต่อมาพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ได้นางกษัตริย์ลูกสาวพญานาคเป็นพระมเหสี พญานาคจึงมาสร้างเมืองให้พำนักอาศัย เรียกว่า “นครธม” จนเมื่อพระเจ้าเกตุมาลาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ จึงอุทิศเมืองนี้ให้เป็นวัด และนับแต่นั้นมา นาม “นครธม” ก็เปลี่ยนไป กลายเป็น “นครวัด” มาจนถึงทุกวันนี้
ในความรำลึกถึงบุญคุณอันยิ่งใหญ่และชาวเขมรทั่วไปเชื่อว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพญานาค ดังนั้น พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึงต้องจัดส่งเครื่องบรรณาการไปถวายแด่พญานาคทุกปี และหัวเมืองต่างๆที่เป็นเมืองขึ้นของขอมโบราณก็จำต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายเมืองอินทรปัตถมนคร เช่นกัน
เมืองสุโขทัยนั้นส่งส่วยน้ำมาสู่เมืองเขมรทุกปี ในขณะที่เมืองตลุงส่งผ้าไหม และเมืองละโว้ส่งส่วยปลาแห้งมาให้ เป็นเช่นนี้สืบต่อกันมาแน่นอนว่า เรื่องพระร่วงเจ้าส่งส่วยน้ำให้ขอมก็เกิดขึ้นในยุคนี้เช่นกัน หากแต่พระร่วงเจ้าพระองค์นั้น หาใช่พ่อขุนรามคำแหงอย่างที่ใครเข้าใจไม่ เพราะเรื่องราวทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมา ก่อนหน้ายุคพ่อขุนรามเกือบสองร้อยปีทีเดียว
ความตามตำนานของเขมรนั้นเล่าว่า หลังจากที่พระร่วงสาปแช่งให้พระยาเดโชที่ดำดินไปจับพระองค์จนกลายเป็นหินอยู่ในลานวัดมหาธาตุจนเป็นที่กล่าวขานกันนั้น ในเวลาต่อมาหลังจากที่เจ้าเมืองสุโขทัยได้ถึงแก่พิราลัย ผู้คนทั่วไปจึงยกพระองค์ขึ้นครองเมืองครานั้นพระร่วงเจ้ายกกองทัพเข้าสู่นครธมเพื่อปราบขอมให้อยู่ภายใต้อำนาจของสุโขทัย หากแต่ไม่สามารถที่จะเอาชนะและเข้าเมืองได้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึงทรงให้เปิดประตูเมืองออกมา เพื่อประจันหน้ากัน พระร่วงตกใจในพระบรมเดชานุภาพจึงก้มลงกราบไหว้
ดินแดนที่กองทัพสยามพ่ายในครั้งนี้ จึงมีนามเรียกกันต่อมาว่า “เสียมราบ” หรือ “เสียม
เรียบ” นับแต่นั้น
แต่หลังจากที่สิ้นสมัยของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเขมรพระองค์ใหม่ คือพระยาพาล ขึ้นครองราชย์สืบแทน และไม่ยอมรับนับถือพญานาคผู้เป็นต้นวงศ์แห่งเขมรทั้งปวง ดังนั้นจึงได้ทำสงครามสู้รบกับพญานาคขึ้นมา ปรากฏว่าพระเจ้ากรุงพาล หรือพระยาพาลจับตัวพญานาคได้ และใช้ดาบตัดหัวนาคทิ้งทันที
เรื่องราวของลานพระเจ้าขี้เรื้อนจึงเกิดขึ้นที่ตรงนี้....
เพราะทันทีที่เลือดนาคกระเด็นออกมากระทบพระวรกายของพระเจ้ากรุงพาลเข้า เลือดนาคที่มีพิษก็สำแดงฤทธิ์ กัดกร่อนร่างกาย ทำให้กลายเป็นโรคเรื้อนลุกลามไปทั้งตัว
แล้วโรคเรื้อนนั้น ว่ากันว่าก่อนหน้านี้หายง่ายเสียที่ไหน ร้อยทั้งร้อย รักษาให้ตาย ก็ไม่สามารถที่จะกลับกลายมาเหมือนเดิมได้อีก ดังนั้น เมื่อกษัตริย์มาเป็นโรคเรื้อนเสียเอง พระเจ้ากรุงพาลก็เกิดความอับอายให้ทหารป่าวประกาศไปว่าถ้าใครรักษาพระองค์หายก็จะยกเมืองให้ปกครองครึ่งหนึ่ง
ในยามนั้นมีฤาษีองค์หนึ่งซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ในกรุงอินทรปัตถมนครได้เดินทางมาช่วยรักษาให้กับพระองค์ด้วยจิตใจที่เมตตา หากแต่ไม่รู้ว่าด้วยความเป็นคนสันดานพาลหยาบช้าหรือว่าอย่างไร กลับทำให้พระเจ้ากรุงพาลเกรงว่าถ้าหากฤาษีรักษาตนเองหายขึ้นมาก็จะต้องเสียเมืองไปครึ่งหนึ่ง


อย่าว่าแต่กระนั้นเลย จำต้องฆ่าฤาษีทิ้งไป แล้วเอาตัวยาที่ฤาษีให้มารักษาเองดีกว่า เรียกว่าไม่ต้องสูญเสียอะไร ว่าแล้วก็สั่งให้ประหารชีวิตฤาษีทิ้งเสียที่ทางใต้พระนครนั่นเอง
หลังจากที่พระเจ้ากรุงพาลรับสั่งให้ประหารชีวิตฤาษีที่มารักษาตนเองทิ้ง ทำให้ฤาษีอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นสหายกันเกิดความเคียดแค้นชิงชังพระยาพาลยิ่งนัก จึงได้สาปแช่งว่าเมืองอินทรปัตถมนครแห่งนี้มีคนพาลหยาบช้าครองเมือง ขออย่าให้ชีวิตรุ่งเรือง เจ้าเมืองคนใดขึ้นครองราชย์ก็อย่าให้ได้อยู่ในความสบายให้พบกับความวิบัติฉิบหายด้วยเวรกรรมที่มีต่อกันหลังจากนั้นอาถรรพณ์จากคำสาปแช่งจึงบังเกิดขึ้นมาในเมืองอินทรปัตถมนคร เมื่อปรากกว่ายารักษาโรคเรื้อนที่ฤาษีเคยให้มานั้น เสื่อมสภาพไม่สามารถรักษาได้ พระเจ้ากรุงพาลจำต้องพาบรรดาพระสนมและพระมเหสีแอบหนีไปรักษาพระองค์อยู่ที่เขาแปดเหลี่ยม หรือเขากุเลน (ลิ้นจี่ ชาวเขมรเรียกภูเขานี้ว่า พนมกุเลน)
แต่ด้วยคำสาปที่บังเกิดจากบาปกรรมที่ก่อขึ้นมา ปรากฏว่าพระเจ้ากรุงพาลไม่สามารถที่จะรักษาตัวเองให้หายได้ ทั้งพระสนมและพระมเหสี ต่างก็ติดโรคร้ายชนิดนี้กันถ้วนหน้า
มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ด้วยฤทธิ์จากคำสาปที่เกิดขึ้นมา พระเจ้ากรุงพาลและพีระสนม ชายา ทั้งหลายได้กลายเป็นหินอยู่ที่พนมกุเลนนั่นเอง

อย่างที่กล่าวเอาไว้แต่ต้นแล้วว่า ฤาษีสาปแช่งเอาไว้ว่าอย่าให้กษัตริย์ในภายหลังที่ขึ้นครองเมืองอินทรปัตถมนครนั้นครองสมบัติอยู่นาน ดังนั้นกษัตริย์ในรัชกาลต่อมาส่วนใหญ่จึงมีอำนาจวาสนาครองบัลลังก์ด้วยเวลาอันสั้นแทบทุกคน
จนกระทั่งมาถึงสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งถือว่าเป็นมหาราชองค์สุดท้ายของกัมพูชาซึ่งพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระบิดาที่ทรงขึ้นครองราชย์ในกัมพูชาด้วยระยะเวลาอันสั้นยิ่งนัก
มารดาของพระองค์นั้น สืบเชื้อสายมาจากพระราชวงศ์กัมพูชาที่มาจากต่างแดน ( ชัย ทิตยปุระ) และพระองค์ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงให้สถาปนานครวัดขึ้นมา เพื่อความเกรียงไกรในแผ่นดิน
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงอุปภิเษกกับเจ้าหญิงชัยเทวี ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และพระองค์ทรงได้เข้าร่วมสงครามในการป้องกันเมืองวิชัยปุระ หรือว่าเมืองบินทินในปัจจุบันจากการรุกรานของอาณาจักรจามปาซึ่งรุ่งเรืองขึ้นมาในสมัยนั้น
ในการจากพรากของพระสวามีทำให้พระนางชัยเทวีโศกศัลย์อาดูรยิ่งนัก ซึ่งพระขนิษฐาของพระนางสลักจารึกเอาไว้ในแผ่นหินที่ฐานพระราชวังหลวงถึงความอาดูรนี้ว่า
ภรรยาต้องอาบน้ำตา โศกสลดเช่นสีดาที่รอคอยพระสวามี ได้แต่สวดวิงวอน ให้พระองค์กลับคืนมาตามพิธีกรรมของพราหมณ์ แต่ในที่สุดพระนางก็ได้พบวิธีฝึกสมาธิตามแบบพุทธศาสนา”
ระหว่างการสู้รบที่ประเทศจามปา พระราชบิดาคือพระเจ้าธรนินทรวรมัน ที่ 2 ได้สิ้นพระชนม์ลง พระญาติคือพระเจ้ายโสวรมัน ที่ 2 เข้ามาแย่งราชสมบัติไปครองหากแต่ก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะหลังจากนั้น ขุนพลผู้ที่เคยยืนอยู่เคียงข้างบัลลังก์ก็เป็นกบฏ ยึดอำนาจ สถาปนาตนเองขึ้นมาครองราชย์นามว่า “ พระเจ้าตรีภูวนาทิตย์” ซึ่งเป็นเจ้าแห่งสามโลก
เมื่อข่าวราชสมบัติของราชวงศ์ถูกขุนพลแย่งไปครอง พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงยกกองทัพกลับคืนมาหมายจะแก้ไข แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ เพราะทุกอย่างมันสายไปเสียแล้ว
พระองค์ทรงต้องรอนแรมหลบซ่อนตัวเพื่อส้องสุมผู้คนและกำลังทหารอยู่นานถึง 15 ปี โดยที่ไม่สามารถจะกลับคืนมายังพระนครได้ ซึ่งในระหว่างนั้น พระเจ้าตรีภูวนาทิตย์ คิดที่จะยกพระนางชัยเทวีขึ้นมาเป็นพระชายา หากแต่พระนางไม่ทรงปรารถนา จึงถูกนำมาจองจำเอาไว้ในปราสาทที่ลานพระเจ้าขี้เรื้อนแห่งนี้
พระนางได้แต่ทรงสวดมนต์อ้อนวอน ขอให้พระสวามีได้กลับคืนมาสู่พระนครอย่างจงรักภักดีจนถึงนาทีสุดท้ายแม้ขณะที่สิ้นพระชนม์ไปในปี พ.ศ. 1709 พระนางก็ยังเฝ้ารำพันถึงแต่พระองค์

จนหลังจากนั้นอีก 11 ปี ต่อมา ใน พ.ศ.1720 พวกจามปาจึงได้บุกเข้าโจมตีกัมพูชาและจับเอา พระเจ้าตรีภูวนาทิตย์ สำเร็จโทษเสีย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงได้เห็นเป็นโอกาสที่ดี นำกองทัพเขมรโจมตีกองทัพของจามปาแตกพ่ายไป และได้สถาปนาพระองค์ขึ้นมาเป็นมหาราชองค์ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินกัมพูชา
น่าเสียดายที่ว่า เมื่อถึงสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์นั้น บรรดาราชปุโรหิตย์ที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยุยงให้พระองค์ปฏิรปสาสนาเสียใหม่ วัดวาอารม พระพุทธรูปในพุทธศาสนาถูกทำลาย
แม้กระทั่งรูปเคารพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผ้เป็นพระราชบิดาซึ่งทรงสนับสนุนพุทธศาสนามาตลอดก็ยังถูกทำลายจนทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ผู้คนเบื่อหน่ายและเสื่อมศรัทธา ซึ่งพวกชาวเขมรเชื่อกันว่า เวทย์มนต์ คาถาอันศักดิ์ที่คุ้มครองแผ่นดินกัมพูชามาแต่โบราณนั้นถูกทำลายให้เสื่อสมสลายลงไปในรัชสมัยนี้เอง
ดังนั้นเมื่อส้นสมัยของพระองค์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ขึ้นครองราชสืบต่อมา หากแต่ว่า บ้านเมืองล่มสลาย สุดท้ายอาณาจักรกัมโพชที่รุ่งเรืองมากว่าหนึ่งพันปีจึงถึงกาลอวสานในสมัยนั้น ซึ่งชาวกัมพูชาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ต่างก็เชื่อกันว่า สืบเนื่องมาจากอาถรรพณ์ของลานพระเจ้าขี้เรื้อนแห่งนี้นั่นเอง.

       

@@@@@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น