25 พ.ค. 2562

หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม

ไปกราบขอพรหลวงพ่อวัดไร่ขิง

        อ.สามพราน จ.นครปฐม

                ----------

             โดย.. ณ วงเดือน


          หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องที่เป็นที่รู้จักของผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นั้นคือ หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา  หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม และหลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 


               ซึ่งความเป็นมาของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ที่ทางผู้เขียนได้ไปกราบไหว้และนำมาบันทึกไว้เป็นเรื่องราวความทรงจำ และไว้เป็นข้อมูลในการให้ได้รับความรู้แก่ตนเองด้วย จึงได้ค้นประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ มาบันทึกไว้ที่ตรงนี้ด้วย  ซึ่งจะขอกล่าวเขียนถึงดังนี้


            
         วัดไร่ขิง พระอารามหลวง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม. มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานีตำรวจโพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย 

                             ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็ม ๆ ว่าวัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด
        ตามตำนานกล่าวถึงการได้มาซึ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิงว่าได้ถูกอัญเชิญมากจากกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา)
เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนนับถือมาก  ในวันที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากท่าน้ำที่หน้าวัดไร่ขิง
ตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕  เป็นวันสงกรานต์  มีประชาชนมาชุมนุมกันมาก  ในขณะที่อัญเชิญ
หลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ประรำพิธี  เกิดความมหัศจรรย์  แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป
ความร้อนระอุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ
บันดาลให้ฝนโปรยลงมา ยังความเย็นฉ่ำใจทั่วหน้าทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี  พากันอธิษฐานจิต
ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝน
ที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ  เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร
                               หลวงพ่อวัดไร่ขิง  เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” เรียกตามชื่อวัด ตามตำนาน
กล่าวว่าหลวงพ่อทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ประทับนั่งปางมารวิชัยหรือปางชำนะมารแบบประยุกต์
หลวงพ่อวัดไร่ขิงมีลักษณะผึ่งผายคล้ายเชียงแสน  พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย
แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตน์โกสินทร์


        บางตำนานเล่าว่า 
มีพระ 3 องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" พระพุทธรูป 3 องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน" ในเขต จ.ฉะเชิงเทรา  แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด" ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า 


     "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ส่วนองค์ที่ 2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" และองค์ที่ 3 ลอยตามน้ำมาขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดเเสาทงทร แล้วเพี้ยนมาเป็นวัดเสาทอน และโสธรตามลำดับจึง เรียกว่า "หลวงพ่อโสธร"  มาแต่บัดนั้น
         หลวงพ่อพระเดชพระคุณ  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสไร่ขิง องค์ปัจจุบันได้นำอภินิหารและอิทธิฤทธิ์ บางส่วนจากผู้ศรัทธาหลวงพ่อ มาบันทึกไว้ในหนังสือ ประวัติวัดและหลวงพ่อวัดไร่ขิง เช่น

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีอภินิหารปิดทองไม่ติด ทั้ง ๆในแต่ละปีมีประชาชนมาปิดทองหลวงพ่อเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีความศักดิ์สิทธิและอภินิหาร ในการป้องกันสิ่งต่างๆ ตามความรู้สึกของแต่ละคนที่ตั้งใจปรารถนา
- น้ำมันและน้ำมนต์ของหลวงพ่อ รักษาโรคภัยต่างๆ ได้สมใจปรารถนา
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ช่วยให้รอดพ้นจากความตาม เพียงแค่ตั้งจิตถึงหลวงพ่อ
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปิดตาขโมยได้ ป้องกันไฟไหม้
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นทุกอย่างได้ตามแรงอธิษฐานของคนอยากให้เป็น
  นี่คือส่วนหนึ่งที่ประวัติความเป็นมาตามตำนานคร่าว ๆ ที่ผู้คนที่ได้พบเห็นได้นำมาเล่าสู่กันฟัง จากปากสู่ปากรุ่นสู่รุ่น ว่ามีความเป็นมาเช่นไร  บ้าง 
                             ซึ่งทางผู้เขียนจึงได้รวบรวมในความเป็นมาของหลวงพ่อวัดไร่ขิง มาบันทึกไว้ยัง nawongduen travel note.com  ของผู้เขียนเพื่อได้รู้เป็นข้อมูล และยังให้จิตใจชื่นบาน รับรู้เรื่องความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงด้วย  จึงขอบันทึกเรื่องราวไว้ในความทรงจำตลอดไป..
                                                                                


    @@@@@@@@@@@@

หลวงปู่คำคะนิง วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ

       ไปกราบสรีระสังขาร

 หลวงปู่คำคะนิง  จุลมณี

วัดถ้ำคูหาสวรรค์  อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ


โดย. ณ  วงเดือน


     นานหลายปีที่มีความตั้งใจที่จะไปกราบสรีระสังขาร ของปู่คำคะนิง ที่วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จนได้มีบุญได้มีโอกาศไปอย่างสมใจนึกเมือปีที่ผ่านมา
 

        พร้อมกันนี้จึงได้รวบรวมหาข้อมูลมาบันทึกไว้ยัง บันทึก ออนทัวร์ ทาเวล ในครั้งนี้ด้วยเพื่อบันทึกเรื่องราว  ของหลวงปู่และได้รู้เป็นข้อมูลและประวัติความเป็นมา ของวัดและประวัติของหลวงปู่่ เพื่อได้เป็นแหล่งความรู้ของผู้เขียนเอง

    ท่านเกิด ที่บ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ประเทศลาว เมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน พ.ศ ๒๔๓๗  ท่านบวชเป็นตาชีปะขาว ถึง 15 ปี เพื่อปฎิบัติธรรมแบบโยคี หรือว่า ฤาษี  เดินท่องเที่ยวไปในป่าเขาทั้งป่าในเมืองไทยและป่าเขาลำเนาไพร ที่เมืองลาวจนเป็นที่เลื่องลือไปทั้วทั้งสองแผ่นดินไทยลาว ในยุคสมัยนั้น จนต่อมาโยคีคำคะนิง ดั้นด้นไปยังภูอีด่าง ซึ่งสมเด็จลุนพระอริยเจ้าแห่งราชอาณาจักรลาวจำพรรษาอยู่ พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของตนให้ท่านทราบ 

             สมเด็จให้ความปราณีมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ให้โยคีคำคะนิงไปค้นคว้า ศึกษา ครั้นท่านโยคีคำคะนิงศึกษาธรรมจากพระคัมภีร์เรียบร้อยก็เอาเก็บไว้ที่เดิม มิได้นำมาเป็นสมบัติส่วนตัว โยคีคำคะนิงลงจากภูเขาได้พบชาวบ้าน และได้ทำการรักษาคนป่วยจนหายทุเลา ท่านเดินทางไปเรื่อย เจอใครก็รักษาโรคภัยให้หมด  ณ วัดหอเก่าแขวงนครจำปาศักดิ์ คือศาสนสถาานที่กำหนดให้เป็นวัดอุปสมบทของปะขาวคำคะนิง มีประกาศป่าวร้องให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงวันอุปสมบทปะขาวคำคะนิง โดยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ให้จัดขึ้น พอถึงวันอุปสมบท ประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ ตลอดจนข้าราชการทุกหมู่เหล่าต่างมาร่วมในงานพระราชพิธีแน่นขนัดเป็นประวัติการณ์ แต่ละคนเตรียมผ้าไหมแพรทองมาด้วยเพื่อจะมาปูรองรับเส้นเกศาของปะขาวคำคะนิง ตอนแรกจะมีการแจกเส้นเกศาให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันหมด

ครั้นถึงเวลปลงผมจริงๆ ประชาชนกลัวจะไม่ได้เส้นเกศาจึงแออัดยัดเยียดเข้ายื้อแย่งกันอลหม่าน เกินกำลังเจ้าหน้าที่รักษาการจะห้ามปรามสกัดกั้นได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงเมื่อเส้นเกศาถูกแย่งเอาไปจนหมด
จากนั้นพระราชพิธีอุปสมบทก็ดำเนินต่อไปโดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี ๒๘ รูป เมื่อพิธีการอปุสมบทเสร็จสิ้นปะขาคำคะนิงซึ่งครองเพศพรหมจรรย์ เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ได้รับฉายาว่า สนฺจิตฺโตภิกขุ” หรือพระคำคะนิง สนฺจิตฺโต” หลังจากเป็นพระภิกษุ พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็กลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูอีด่างเช่นเดิม ดำรงวัตรปฏิบัติตามแนวทางของพระป่าอย่างเคร่งครัด และนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุคำคะนิง สนฺจิตฺโต ประชาชนก็ยิ่งหลั่งไหลไต่ภูเขาขึ้นไปกราบนมัสการ และขอความช่วยเหลือจากท่านจนไม่มีเวลาปฏิบัติภาวนาบำเพ็ญธรรม  วันหนึ่ง..พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็หายไปจากภูอีด่าง และไม่กลับมาอีกเลย ประชาชนลาวรู้แต่ว่าท่านออกธุดงค์สาบสูญไปแล้ว ต่างพากันร่ำไห้โศกเศร้าอย่างน่าสงสาร
หลวงปู่ชอบจารึกธุดงค์ฝั่งลาวเพราะหมู่บ้านยังไม่เยอะเท่าฝั่งไทย ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ และในช่วงปลายชีวิตท่านก็ตัดสินใจจำพรรษา วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี เป็นที่สุดท้ายของท่าน
         หลวงปู่ป่วยเป็นโรคปอดบวม และได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เวลา ๑๑.๑๓ น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ ท่านได้อยู่ในเพศฤาษีได้ ๑๕ ปี และอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ ๓๒ พรรษา บันทึก ออนทัวร์ ทาวล จึงได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ในอนุทินบันทึกไว้ในความทรงจำของผู้เขียนต่อไป..