5 เม.ย. 2561

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต ต.พะลาน อ.นาตาล จ.อุบล ฯ


พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดบ้านปากแซง  พระพุทธรูปที่อาราธนาขึ้นมาจากแม่น้ำโขง

    ------------
โดย..ณ  วงเดือน


       วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ  วัดบ้านปากแซง เป็นพระพุทธรูปที่มีตำนานมายาวนานนับหลายพันปี 

                   
          ริมฝั่งแม่น้ำโขง บ้านปากแซง หมู่ที่ ตงพะลาน อ.นาตาล จ.อุบล ฯ  คือที่ตั้งของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ  พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร  สูง 4.36 เมตร 
         พระพุทธรูปนี้ ไม่ทราบปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดได้ว่าสร้างมาแต่ในยุคสมัยใด แต่มีในตำรา คำบอกเล่าของคนแก่สมัยโบราณ เล่าสืบต่อและบันทึกตาม ๆ กันมาว่า ในสมัยที่แถบลุ่มแม่น้ำโขง อารยธรรมแถบบนี้ ยังตกอยู่ในอำนาจของขอมโบราณ ที่มีความเจริญทางด้านอารยธรรมมานับพัน ๆ ปี 
      ในสมัยของกษัตริย์ขอมพระองค์หนึ่ง  มีพระนามว่า พระยาแข่วเจ็ดถัน ได้เสด้จล่องเรือมาตามลำน้ำโขง  และได้มาจอดแวะพัก เรือที่หาดทรายหน้าวัดแห่งนี้ และได้เสด้จขึ้นไปยังหมู่บ้านที่อาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำ   ได้พบกับหัวหน้าหมู่บ้าน ทางท่านพระยาแข่วเจ้ดถัน เลยได้ตรัสถามถึงความเป็นมาของ
หมู่บ้านแห่งนี้ ว่ามีความทุกข์เดือดร้อนในเรื่องอะไรบ้าง   ทางท่านหัวหน้าหมู่บ้าน จึงได้ตอบไปและเล่าเรื่องว่า ตรงท่า น้ำแห่งนี้นั้น ช่วงหน้าแล้ง จะมีหาดทราย  กว้างใหญ่ สวยงามมาก และถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างหนึ่งคือ     ในปีใด หาดทรายโผล่ขึ้นผิวน้ำ ชาวบ้านจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข  เมื่อพระองค์ได้ถามสาระทุกข์สุขต่าง ๆ แล้วจึงได้บอกว่า สักวันหนึ่งจะกลับมาสร้างหมู่บ้านแถบนี้ให้เป็นเมืองเจริญขึ้นมา  ในราวปี พ.ศ. 1154  พระองค์ได้เสด็จกลับมาอีกครั้ง และมอบหมายให้กับเจ้าแสง  เป็นผู้ควบคุมคนงานก่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา 1 องค์  สร้างแล้วเสร็จใน ปี พ.ศ 1180  และตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระอินทร์ใส่โฉม  และให้เจ้าแสงอยู่ดูแลรักษา ยังที่แห่งนี้จนสิ้นอายุขัย  ทางชาวบ้านจึงได้สร้างหอหลักเมือง ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ พระองค์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างหลวงพ่อใหญ่องค์นี้
และชาวบ้าน ให้ชื่อว่า หอแสง  จนต่อมาที่แห่งนี้ ได้ร้างผู้คน เป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งมายุคหนึ่ง ได้มีควาญช้าง ผ่านเข้ามาพบยังที่แห่งนี้และมีพระพุทธรูปทรุดโทรม ตั้งอยู่ จึงได้บอกผู้คน ให้ทราบและได้เข้ามาร่วมกันบูรณะปฎิสังขร องค์พระใหม่ ได้ตั้งชื่อให้ว่า พระโต
            และวัดพระโตมีการบูรณะมาหลายครั้ง จากหลักฐานของวัด  ได้บันทึกไว้อีกครั้งหนึ่งว่า  ใน ปี พ.ศ. 2461   พระครูกุ พร้อมทายกทายิกา ชาวบ้านแถบนั้น ได้จ้างช่าง ชาวญวน บูรณะปฎิสังขร ที่วิหารของหลวงพ่อโต ใช้เวลาสร้างกว่าจะเสร็จ เป็น เวลา 3 ปี  และได้จารึกเป็นหนังสือไว้ที่วิหารพระโตไว้ว่า
ข้าพเจ้าพระครูทองกุศกร   สมภารวัดกลาง เขมราฐ   มีท่่านพระครูกุ   เป็นประธาน พร้อมด้วยข้าพเจ้า ทั้งหลายทั้งกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน ได้พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้าง วิหารพระเจ้าใหญ่ ปากแซง ใน 5 หมู่บ้านคือบ้านปากแซง  บ้านนาทราย บ้านพะลาน บ้านบก บ้านทุ่งเกลี้ยง  ได้จ้างคนอานาม เป้นเงิน 700 บาท  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2463  จนถึงปี พ.ศ . 2468  แล้วเสร็จ นี่คือข้อความที่ได้บันทึกในการบำรุงซ่อมแซมองค์หลวงพ่อพระโต และวิหารที่ตั้งมาเป็นระยะ ซึ่งมีความเสื่อมโทรมตามกาลเวลา แต่องค์หลวงพ่อยังตระหง่าน ยืนหยัดเวลามานานับพัน ๆ ปีเลยทีเดียว 
 ซึ่งเมื่อ เวลา 03.00 น.ของ วันที่ 13  ธันวาคม พศ.2557   วัดพระโตก็ได้แจ้งว่า มีเหตุไฟไหม้ องค์หลวงพ่อ พระโต ภายในวิหารหลวงพ่อ และได้เผาฝาผนังรอบ ๆ วิหารเสียหายทั้งหมด ทำให้เกิดเขม่าดำติดตัวทั้งองค์หลวงพ่อ   แต่ไฟ ไม่ได้ทำให้องค์หลวงพ่อเป็นอะไรแม้นิดเดียว 
      ซึ่งองค์ที่เห็นในทุกวันนี้ได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ ทาสีใหม่ให้สวยงามเปล่งประกาย สง่างามกว่าที่เคยพบเห็นแต่ในอดีต   ซึ่งทางผู้เขียนได้เข้าไปกราบไหว้สักการะอีกครั้ง เมื่อ ปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมาและอยู่ในความทรงจำของทางผู้เขียน   
 ตำนานความเป็นมาของหลวงพ่อโตวัดบ้านปากแซง ก็ได้บันทึกไว้  ในความทรงจำในทริป นี้ ไว้อีกครั้งหนึ่งเพื่อบันทึกเรื่องราว ของการท่องเที่ยวที่ได้ไปเยือนมา ทางผู้เขียน ก็ขอคัด ประวัติตามตำนาน พื้นบ้านที่เล่าสืบๆ ต่อๆ กันมา มาบันไว้ในความทรงจำ เพื่อ ได้ระลึกถึงและรับรู้ความเป้นมา ของประวัติองค์พระนี้ด้วย  
จึงขอบันทึกไว้  ณ ที่นี้..   วงเดือน


                                                    
                         
                                                       @@@@@@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น