แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Nawongduen แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Nawongduen แสดงบทความทั้งหมด

16 ก.ค. 2563

กราบพระธาตุโพน เมืองไชพูทอง สปป.ลาว

โดย.ณ  วงเดือน
เมื่อปีก่อน บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ  ได้มีโอกาศไปเที่ยวสะหวันนะเขต สปป.ลาว และได้ไปกราบพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองลาวอีกแห่ง นั้นคือวัดเจติยาราม หรือพระธาตุโพน ตั้งอยู่เมืองไชพูทอง เป็นอีกพระธาตุที่ชาวลาว ให้ความเคารพนับถือกันมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระธาตุอิงฮัง แต่อย่างใด
  ในการเดินทางมาในครั้งนี้ ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัวข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.มุกดาหาร ซึ่งเมื่อเราขับข้ามเข้ามาสู่ฝั่งลาวแล้ว จะเจอวงเวียนกะปอมยักย์ หรือไดโนเสาร์  ใช้ทางออกด้านขวามือ เพื่อมุ่งสู่พระธาตุโพน เราขับรถผ่านเลี่ยงตัวตลาดสะหวันนะเขตมา ใช้เส้นทาง สาย 9 B จากตัวเมืองมาถึงบ้านหลัก 35 ระยะทางกว่า 35 กม.
จากนั้นเลี้ยวขวามาตามทางอีกประมาณ 15 กม. ถนนตัดผ่านท้องนาไร่ขับมาเรื่อย ๆ ขนถึงเมืองไชพูทอง แล้วขับรถต่อมาอีกเกือบ  20  กม. ก็จะมองเห็นพระธาตุโพนอยู่กลางท้องนา สลับกับต้นตาลตะโนดสูงลิบลิ่ว  มองเห็นได้แต่ไกลเลยทีเดียว
พระธาตุโพน ตามที่มีการเขียน ก็มีหลายชื่อเช่น โพน ,โฟน,  โผ่น ทราบมาว่า พระธาตุแห่งนี้ เดิมเป็นปราสาท สร้างมาแต่สมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจ แผ่อาณาจักรมาถึงแถบนี้ด้วย

มีศิลาจารึกเป็นภาษาลาว ไว้ว่า  " พะทาดโผ่น หลือ เจ้าแท่นคำเหลือง เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ตั้งอยู่ห่างจากเทสะบานเมืองไชพูทอง 22 กิโลแม็ค ตามเส้นทางเลกที่ 13 ใต้ มุ่งหน้าสู่แขวงจำปาสัก ตามตำนานได้ก่าวไว่ว่า " พะทาด อง นี้ส้างขึ้นในตอนค่ำ ของวันพุด เดือน 12 พส.236 

ส้างด้วยหินเข่าจี่หลือ เอิ้นว่า หินหนามหน่อ ก่อเป็นทาดอุโมง (ฮูปโอขว้ำ ) กว้างด้านละ 12 วา สร้างมื้อหนึ่ง กับคืนหนึ่ง ก็สำเล็ดมาถึงปัจจุบันนี้ มีอายุ 2,500 ปี  สะนั้นสะถานที่นี่จึงถือเป็นมอละดกตกทอด เป็นสมบัติมิ่งเมืองที่มีค่าสูง โดดเด่นทางด้านวัดทะนะทำอันล่ำค่า และเป็นปะหวัดสาด  ซึ่งติดพันกับแบบแผนดำลงชีวิตของปะชาชนลาว บันดาเผ่ามาแต่ดึกดำบัน และยังเป็นสะถานที่ท่องเที่ยว ทางด้านวัดทะนะทำที่สำคัน และมีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของสะหวันนะเขต.
นั้นก็เป็นคำจากรึก ที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของพะทาดโพ่น แห่งนี้  ซึ่งเป็นที่ชาวบ้านทั้งชาวลาว จะนับถือกันมาก ตลอดจนชาวไทย ที่ได้เข้ามากราบไหว้ขอพร มักได้รับพรสมมุ่งมาดปรารถนาทุกคน
ในพื้นที่ของวัด ตลอดจนรอบบริเวณ โดยทั่วไป จะเห็นต้นตาลขนาดใหญ่ อยู่ทั่วไป และภายในบริเวณวัด ก็จะมีชาวบ้านนำ น้ำตาลก้อน ที่ทำจากตาลตะโนดมาเคี่ยวจนเป็นก้อน นำมาขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวกราบขอพรกันยัง บริเวณวัดนั้นเอง
ทางด้านขวามือ ของวัดพระทาดโพน ยังมีสระน้ำ ที่เชื่อว่าเป็นสระน้ำอะโนดาด ที่กว้างใหญ่ กินพื้นที่อาณาบริเวณของวัดหลายสิบกว่าไร่  มีต้นมะพร้าวปลูกไว้โดยรอบ และมีความสงบร่มเย็นพอสมควร
ที่พระธาตุโพน ในแต่ละวันจะมีชาวบ้าน ทั่วทุกแห่งหน ที่นับถือและมีความเชื่อมั่นในพุทธานุภาพของ องค์พระธาตุ โพ่น ว่าเมื่อมาบนบานศาลกล่าว ขอให้ทั้งงานการในหน้าที่สำเร็จ  ตลอดสิ่งติดขัดในชีวิตให้หมดไป ให้ชีวิตมีความสะดวก คล่องตัวทั้งในการงาน การเงิน เมื่อมาขอแล้วมักได้ดังที่ขอ และเมื่อสำเร็จจากพร ที่ขอแล้ว เมื่อมีเวลาและโอกาศ ก็จะพากันมาแก้บน กับพระธาตุโผ่น อีกทีหนึ่ง

ซึ่งที่นี้ มักนิยมบูชาพระธาตุโพน ด้วยขันหมากเบง  ซึ่งทำมาจากใบตองกล้วย ทำเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ หลาย ๆ อันเสียบติดกันเป็นกรวยกลม แล้วแซมด้วยดอกไม้หลากสี  และธูปเทียนขันห้า ใส่มาในพานบ้าง หรือ ทำเป็นกรวยคู่ มีดอกไม้ธูปเทียนเสียบไว้โดยรอบ นำมาบูชา จะเป็นการบนบาน หรือ การแก้บนก็จะใช้ขันหมากเบ็ง ในการบูชา ที่พระธาตุโพนแห่งนี้ทุกครั้ง 
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุโพนนี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชาวลาวเอง หรือว่าชาวไทย ตลอดจน ชาวลาวผู้อพยพไปอยู่ต่างแดนทำมาหากิน เมื่อทำมาค้าขึ้นกิจการเจริญรุ่งเรือง ตามที่ได้เคยมาขอพร ก็จะไ้ด้เห็นผู้คน ที่พากันมาไหว้กราบขอพรแก้บน ในแต่ละวันอยู่เป็นอันมากแต่เช้าจรดเย็นทุกวัน


ความงดงาม ของวัดวา และความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรอบ และประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ยังสืบทอดรักษา มาได้อย่างโบร่ำโบราณ ในทุกวันนี้ ทางวัดของที่นี่ ก็ยังสืบสานอนุรักษ์ วัฒนธรรมอันดีงามของชาวลาวไว้ได้อย่างเหนียวแน่น การไหว้พระสวดมนต์ การทำพิธีกรรมของที่นี่ ก็ยังมีมนต์ขลัง อย่างในอดีต
บันทึกเที่ยวในความทรงจำ มีความประทับใจ ในการได้มาเที่ยวชม และดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทางฝั่งนี้  และกราบไหว้ ขอพรพระทาดโพน ในครั้งนี้ จึงขอบันทึกเรื่องราวและความเป็นมาต่าง ๆ ไว้ให้อยู่ในความทรงจำของผู้เขียน ตลอดไป ..

20 มิ.ย. 2562

เทพกระซิบ หรือ เมี๋ยะนานหน่วย

 เมี้ยะนานหน่วย หรือชื่อเทพกระซิบ
 อยู่ศาลาข้างกับวัดโบตะทาว  ย่างกุ้ง

โดย.ณ  วงเดือน

          


            เรื่องของเทพกระซิบ ของพม่าที่ตั้งอยู่          ที่ข้างวัดโบตะทาว บ้างก็ว่าเป็นธิดาของพญานาคราช ที่ศรัทธาต่อพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ไม่ยอมกินเนื้อสัตว์ จนตลอดอายุขัย เมื่อสิ้นชีพในาภาพนั้นแล้ว ได้กลายมาเป็นนัต

               ซึ่งในความหมายของนัต ก็คือ เทพเจ้าเทวาอารัก เทพคุ้มครองนั้นเอง  ซึ่งทางพม่านั้นมีความเชื่อกันว่า  ผู้ที่สร้างคุณงามความดีมาโดยตลอด เมื่อสิ้นชีพใน ช่วงอายุขัยของการเกิดในภพนั้น ๆ จะมาเป็นนัต นั่นเอง ซึ่งนัต ในพม่า ที่มีผู้คนนับถืออยู่มากถึง  36 องค์เลยทีเดียว เหมือนอย่างเมี้ยะนานหน่วย หรือเทพกระซิบ ตนนี้เช่นกัน   การบูชาเทพกะซิบ ตามที่่ทางผู้เขียนได้ไปกราบไหว้ ในวันนั้น ซึ่งผู้ศรัทธานิยมนำของ มาเซ่นไหว้สักการะบูชา  นั้นที่ชาวพม่านิยมกันนั้นก็ คือ มะพร้าวน้ำหอม กล้วยนาก ที่มีลูกออกสีทอง และอ้อย รวมทั้งข้าวตอก และน้ำนม และดอกไม้นานาสีสัน ซึ่งทางสถานที่ มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอดเวลา รวมทั้งเครื่องเซ่นไหว้ ต่าง ๆ มีจัดให้ ผู้คนที่ศรัทธาได้เช่าไปบูชา เทพกะซิบโดยไม่ต้องจัดหาให้ลำบาก หากไม่สดวกที่จะหาไปไหว้นั่นเอง
   ทางผู้เขียนได้ เข้าไปกราบและถ่ายทำ รวมทั้งรูปภาพ และวิดีโ
 อในครั้งนี้ด้วย เพื่อใช้ในการเผยแพร่อีกทีนึง รวมทั้ง เก็บภาพความประทับใจไว้ในการมาครั้งนี้ด้วยในการมาครั้งนี้นั้นของทางผู้เขียน รับเป็นข้อมูลมาว่า หากในช่วงวันเข้าพรรษา เทพกะซิบหรือ เมี๊ยะนานหน่วย ท่านจะอยู่ในช่วงถือศีล  ทางเจ้าหน้าที่ ซึ่งดูแลสถานที่นี่  จะนำมงกุฎที่ครอบศรีษะออก รวมทั้งวิกผม ที่สวมใส่ยาวสลวยนั้นออก รวมทั้ง ลบแป้งเครื่องสำอางค์ ที่ทาหน้าริมฝีปาก ไม่หลงเหลือเครื่องสำอางค์  และจะเปลี่ยนเครื่องชุดแต่งกายให้ใหม่ เป็นแบบแม่ชีจำศีล และในช่วงหลังเที่ยงแล้ว จะมีถวายเครื่องเซ่นไหว้เพียงน้ำผลไม้เท่านั้น เพราะถือว่าท่านอยู่ในศีลวัตรปฎิบัติดังแม่ชี ทุกประการ  
     แต่ในช่วงที่ทางผู้เขียนไป เป็นช่วงก่อนเข้าพรรษานั่นเอง จึงยังเห็น ชุดของเทพกะซิบ ยังแต่ชุดเหมือนเจ้าหญิง พร้อมเครื่องประดับนั่นเอง ส่วนมาก ทั้งชาวพม่า และคนไทยที่มักไปขอพร กับเทพกะซิบนั่น ก็จะนำเครื่องเซ่นไหว้ กล้วย อ้อย ข้าวตอก ดังที่ว่ามา มาขอพร ซึ่งก็จะสำเร็จได้ดังที่ขอกันว่าอย่างนั้น ใครอยากรู้ และขอพรสำเร็จดังตั้งใจหรือไม่ ก็ลองมาเที่ยวกันดูครับ ที่วัดโบตาทาวน์  กรุงย่างกุ้ง เมียนมาร์ ครับ.
  




                                                                      ๑////////////////////////๑

17 มิ.ย. 2562

เจดีย์ซู่เล อีกสถานที่สำคัญยิ่งของพุทธศาสนาของกรุงย่างกุ้ง


เจดีย์ซู่เล กลางเมืองย่างกุ้ง

โดย.ณ  วงเดือน
  
 เจดีย์ซูเล ตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นสมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนชีพอยู่ และสร้างมาก่อนเจดีย์ชะเวดากองอีกด้วย มีอายุมากถึง 2,500 กว่าปีเลยทีเดียว  ส่วนเจดีย์ชัเวดากองนั้นได้รับคำแนะนำจากนัตหรือว่า เทวดาที่รักษา เจดีย์สุเล ให้ไปสร้างยังเนินเขาดังกล่าว
     เจดีย์สุเล เป็นรูปทรงเจดีย์แปดเหลี่ยม แต่ละด้านมีความยาว 7เมตร สูง 44 เมตร  เจดีย์สุเล  ได้รับการบูรณะมีขนาดเท่า สมัยปัจจุบันนี้ โดยพระนาง เชงสอบู  รอบ ๆ เจดีย์ มีระฆังสัมฤทธิ์  10 ใบ ขนาด หลายขนาด อายุแตกต่างกัน ไป ตาม
แต่ละช่วงของผู้ศรัทธาสร้างถวายเป็นช่วง ๆ เจดีย์แห่งนี้ ตามความเชื่อต่อกันมาว่า เป็นที่มาร่วมชุมนุนกัน  เมื่อครั้งพระราชาพระนามว่า โอกะปาละ ร่วมกับแม่ทัพนายกองตลอดจน

 ไพร่พลเทวดาอารักษ์ ที่ได้มาร่วม ชุมนุมปรึกษา เพื่อจะหาที่สร้าง เจดีย์ใหม่ นั้นคือ เจดีย์ชะเวดากอง นั้นเอง จึงเป็นที่รวมชุมนุมเพื่อปรึกษาหารือกัน จึงเป็นที่มาของ ชื่อเจดีย์สุเล  ส่วนอีกที่มา ของชื่อเจดีย์ สุเล อีกที่มานั้นคือ  สุ-เล คือพุ่มไม้ป่าชนิดหนึ่ง นั่นเอง

13 มิ.ย. 2562

พระพุทธไสยาสน์เจาทัตยีหรือ พระนอนตาหวาน


พระใหญ่ไสยาสน์ทัตยี กรุงย่างกุ้ง

โดย..ณ  วงเดือน

  เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2562 ของวันที่ 9 ตรงกะวันอาทิตย์ เราทีมงานตั้งใจจะไปเที่ยวเมียนมาร์เพื่อสักการะพระและสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา จุดหมายอีกที่หนึ่งที่เราต้องการจะมา นั้นก็คือ วัดพระนอนตาหวาน หรือพระพทธไสยาสเจาทัตยี คนไทยเราเรียกพระนอนตาหวาน
   วัดเชาะทะจี ตั้งอยู่ที่ อำเภอบะฮ่าน เมืองหลวงเก่ากรุงย่างกุ้ง
ประเทศเมียนมาร์ เป็นพระพุทธรูปนอนขนาดใหญ่ มีความยาวกว่า 66 เมตรเป็นพระนอนใหญ่ที่สุดของพม่า
  ตามประวัติการสร้าง จากเศรษฐีชาวพม่า ชื่อ โบ้ตา เริ่มก่อสร้างใน ปี พ.ศ 2442 แล้วเสร็จสมบูรณ์ใน ปี พ.ศ 2450
ขณะนั้นใบหน้าของพระพุทธรูปยังมีหน้าตาที่ดุดัน
  จนต่อมาในปี พ.ศ  2493  จึงได้รื้อพระพุทธรูป องค์เก่าออก เนื่องจาก สภาพชำรุดเสียหาย จากพายุพัดถล่ม  ทางวัดจึงได้ทำการจัดสร้างขึ้นใหม่  โดยนายช่างผู้คุมชื่อ อู้ตอง เป็นช่างใหญ่จากเมืองทวาย เป็นผู้ดูแลการก่อสร้างจนแล้วเช่นปัจจุบัน
   เราเดินทางด้วยรถ taxy ไปยังจุดหมายวัดพระนอนตาหวานนี้ ในวันที่ 2 ของการเดินทางมาที่นี่ ความงดงามและความอลังการเป็นสุดยอด ของพระพุทธรูปที่เราได้พบเจอมา
  ทราบมาว่าวัดพระนอนแห่งนี้ เป็นสถานที่ศึกษาพระธรรมวินัย
ของพระ มีสอนแต่ระดับต้นถึงระดับสูง มีพระมาอาศัยเรียนที่นี่หลายร้อยรูปเลยทีเดียว ด้านหน้าของวัดยังมีร้านค้าต่างๆ ของชาวบ้านมาขายพวก หยกกำไล และผ้าพื้นบ้านให้กับนักท่องเที่ยวได้ซื้อหา เราแวะชมแหวนหยก และกำไลข้อมือ ซึ่งราคาไม่แพงมากเกินไป ใครสนใจก็ถาม ลดราคากันได้..



                                                               @@@@@@@@@@@

มากราบเจดีย์ชะเวดากอง กรุงย่างกุ้ง

เจดีย์ชะเวดากองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนพม่านับถือกันเท่าชีวิต

โดย..ณ  วงเดือน



    

            ครั้งหนึ่งเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาศได้เดินทางไปยัง  กรุงย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงเก่าของเมียนมาร์ ในปัจจุบันนี้  ด้วยความตั้งใจที่จะไปกราบสักการะเจดีย์ชะเวดากอง   ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั่วโลก ที่หากมีโอกาศ ก็จะมาเยือนกราบไหว้ ดูชมความงามและเสริมชะตาบารมี ชีวิตของตัวเอง 

  
 เจดีย์ชะเวดากอง  ตั้งอยู่ที่  บริเวณที่  เรียกกันว่า เนินเขาเชียงกุตระ  โดยคำว่า ชะเว หมายถึง ทอง ดากอง คือชื่อเมืองเก่าของย่างกุ้ง  เจดีย์แห่งนี้ เชื่อกันว่าเป็นที่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคดมพุทธเจ้า จำนวน 8  เส้น  โดยไว้บนส่วนยอดสุด ของเจดีย์ ฐานของเจดีย์ทำจากอิฐปกคลุมด้วยแผ่นทอง ด้านบนเป็นฐานเจดีย์ลาดแบบขั้นบันไดมีเพียงพระภิกษุและผู้ชายเท่านั้นที่สามารถขึ้นได้ ถัดไปด้านบนเป็นส่วนองค์ระฆังรัดอกคาดองค์ระฆังบาตรคว่ำบัวคอเสื้อลวดลายดอกไม้ห้อยปล้องไฉนกลีบบัวคว่ำแถบกลมกลีบบัวหงายปลียอดฉัตรธงใบพัด และลูกแก้วโดยรอบ ๆ ลูกแก้วที่บรรจุเกศาธาตุนั้น ประดับด้วยเพชรพลอยอัญมณี หรือเพชรหยาดน้ำค้าง ประกอบด้วยเพชร 5,448เม็ดและทับทิมจำนวน   2,317 เม็ด 
โดยในส่วนที่ปลายบนสุดนั้น  เป็นเพชรปลายแหลมหนัก 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกของพระอาทิตย์ และแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ตกซึ่งผู้จะเข้าไปกราบยังพระเจดีย์นี้ จะต้องถอดรองเท้าเข้าไป  แผ่นทองที่ใช้ปิดโครงสร้างอิฐถูกยึดด้วยหมุดแบบดั้งเดิม ประชาชนทั่วประเทศได้บริจาคเงินทองเพื่อบูรณะเจดีย์ การปฏิบัติยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้หลังจากพระนางเซงสอบู ได้บริจาคทองคำเท่าน้ำหนักของพระองค์ในการบูรณะเจดีย์    


โดยเรามาถึงช่วงเย็นของวันแรกของการเดินทางที่มาถึงที่นี่ และเดินรอบชมบริเวณโดยรอบ ของด้านหน้าด้านข้าง ของเจดีย์ เกือบ 18.00น.เราจึงได้พากัน ขึ้นมาสู่ด้านบน ของเจดีย์ ซึ่ง ที่นี่จะมีการตรวจความเรียบร้อยของผู้คนที่จะเข้ามายังด้านบนของ องค์เจดีย์ ผ่านจุดตรวจ x-ray  เรียบร้อย ถึงจะขึ้นไปสู่ด้านบนอีกชั้น ซึ่งที่นี่ จะต้องเสียบัตร เข้าชม คนละ 10,000 จ้าต หลังเราชำระ บัตรเป็นที่เรียบร้อยถึงจะเข้าไปด้านในรอบ ๆ บริเวณเจดีย์ได้ คนที่สวมใส่ขาสั้นต้อง ใส่ผ้าถุงที่เจ้าหน้าที่มีไว้แล้ว โดยจะต้องเสียค่าเช่าชุด ผ้านุ่งโสร่งอีกที จึงจะอนุญาติให้เข้าไป เรา เดินเจ้าไปกราบพระด้านหน้าเสร็จ แล้วจึง เดินหามุมถ่ายรูป ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนทั้ง ชาวพม่า ไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวนมากที่ขึ้นมาชมความงาม
  เจดีย์ชะเวดากองตามตำนานกล่าวว่า  สร้างขึ้นมากว่า 2,500 กว่าปีมาแล้ว นักโบราณคดีเชื่อกันว่า สร้างมาแต่ คริสต์ศตวรรษที่  6-10  โดยชาวมอญ 2 พี่น้อง ชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ  ซึ่งได้สร้างขึ้นที่เนินเขาเชียงกุตระ  ซึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงได้ประทาน พระเกศา คือเส้นผมของพระพุทธองค์ ให้พ่อค้าทั้ง 2 มาจำนวน 8 เส้น เมื่อได้เดินทางกลับมาถึงยังที่ดังกล่าว ได้รับความช่วยเหลือ จากพระราชา ชื่อ โอกะละปา ในการสร้างพระเจดีย์ ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระเกศาธาตุ บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ แห่งนี้นั้นเอง

   เจดีย์ได้ทรุดโทรดถูกทิ้งร้าง จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระยาอู่ ได้ทรงบูรณะเจดีย์ ขึ้นอีก มีความสูง 18 เมตร  และต่อมาอีก พระนางเชงสอบู ได้มีความศรัทธาเลื่อมใส ได้บูรณะเสริมเจดีย์ ให้มีความสูงขึ้นไปอีก ถึง 40 เมตร และทำการปรับเนินที่ตั้งของเจดีย์ ให้เป็นฐานลาด เป็นชั้น ๆ  แบบขั้นบรรได 
มีบันไดทางขึ้นไปยังลานเนินเขาสิงคุตระ ทั้งสี่ทิศทาง ในแต่ละทางขึ้นมีรูปปั้นคล้ายสิงโตมีชื่อเรียกว่าชินเต ประดับไว้เป็นคู่หน้าทางขึ้นเพื่อปกปักรักษาองค์เจดีย์ตามความเชื่อ ทางทิศตะวันออกและทางใต้มีร้านขายธูปเทียน ทองคำเปลว หนังสือ และวัตถุมงคลต่าง ๆ     
          โดยทางผู้เขียน   วงเดือน   และผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชม  เมื่อขึ้นไปยังด้านบนสุดแล้ว มักนิยมเดินตามเข็มนาฬิกาวนรอบเจดีย์ เริ่มต้นที่ศาลทางทิศตะวันออกซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป กกุกสันโท พระพุทธเจ้าพระองค์แรกในภัทรกัปนี้  ถัดไปเป็นศาลทางทิศใต้ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปโกนาคมโน  พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง  ในภัทรกัปนี้ ถัดไปศาลทางทิศตะวันตกเป็นศาลของ พระกัสสป พระพุทธเจ้าองค์ที่สามในภัทรกัปนี้ สุดท้ายศาลทางทิศเหนือเป็นศาลของพระโคตม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ทางผู้เขียนได้เข้ากราบองค์พระเจดีย์ ด้วยความสุขปลื้มปิติแห่งใจเป็นที่สุด ที่ได้มีโอกาศได้เข้ามาเที่ยวชมและกราบไหว้ถึงถิ่น ที่เป็นที่ตั้งประดิษฐานของพระเกศา ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ครั้งยังพระชนชีพอยู่ ที่ได้มอบให้กับพ่อค้า 2 พี่น้องชาวพม่า ที่เดินทางไปค้าขายยังชมภูทวีป ในครั้งที่  พระองค์ตรัสรู้ใหม่ และดำรงอยู่มาถึงทุกวันนี้    


  ส่วนใครที่อยากเดินทางไปยังกรุงย่างกุ้ง พม่า สามารถเดินทางไปได้แบบ เช้าไป เย็นกลับได้ ซึ่งทุกวันนี้ มีหลายสายการบินที่มุ่งหน้าสู่กรุงย่างกุ้ง ในราคาไม่แพง  เหมาะกับนักท่องเที่ยวและนักแสวงบุญทุกท่านที่อยากไปสร้างเสริมสะนสมบุญบารมีลองไปกันดูสักครั้งหนึ่งในชีวิต ที่เรานั้นจะหาโอกาศไปได้ยาก ยกเว้นผู้มีบารมีแรงกล้าและตั้งใจมั่นจริง ๆ ที่จะไปลองดูกันครับ..


@@@@@@@@@@