10 ธ.ค. 2564

เจดีย์มหามงคลบัว จ.รัอยเอ็ด

โดย.ณ วงเดือน

   
     เมื่อหลายปีก่อน ได้มีโอกาศแวะผ่านเที่ยวชม เจดีย์มหามงคลบัว สร้างเป็นอนุสรณ์แด่พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโน แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
 เจดีย์นี้ ตั้งอยู่ริมถนน ทล.232  ด้านหลังเป็นท้องทุ่งนาโล่ง ใน ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งเมื่อขับรถผ่านยังเส้นทางนี้ จะสามารถมองเห็นองค์เจดีย์สีเหลืองทองอร่าม สูงถึง 49 เมตร มองเห็นได้แต่ไกล

ที่ด้านหน้าและ ด้านข้างเจดีย์ มีการขุดสระน้ำไว้ ด้วย โดยเจดีย์แห่งนี้ ได้รับการอนุญาติให้สร้างขึ้น ในขณะที่หลวงตา ยังมีชีวิตอยู่ สามารถเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.



เจดีย์มหามงคล "บัว " แบ่งเป็น 4 ชั้น โดยชั้นล่างสุดจัดแสดงอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านไทยอิสาณ  มาที่ชั้นสอง จัดทำเป็นห้องสมุด รวบรวมหนังสือต่าง ๆ ตลอดหนังสือธรรมะที่ ท่านหลวงตามหาบัว ท่านได้แต่งขึ้น


มาในส่วนชั้นที่ 3 มีรูปเหมือนของหลวงตามหาบัว และห้องโถง ใช้เป็นสถานที่นั่งบำเพ็ญสมาธิภาวนา ได้ด้วย และในชั้นที่ 4 บนสุด มีพระประธาน และรูปบูรพาจารย์ต่าง ๆ  หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น  หลวงปู่หล้า และ หลวงตามหาบัว
ความสวยงามของเจดีย์ รูปทรงคล้ายเจดีย์พระธาตุหลวง เมืองเวียงจันทร์ ของประเทศลาว ทั้งรูปทรงและใบเสมา 
โดยรอบ องค์เจดีย์                          

ทางผู้เขียนได้เดินทาง จากตัว จ.ร้อยเอ็ด มุ่งหน้าไป จ.กาฬสินธุ์  ถึงสี่แยกบ้านบัว เลี้ยวซ้าย มาตามทางหลวง 232 และได้ขับต่อมาเกือบ 1 กม. ก็พบ เจดีย์มหามงคลบัว จะอยู่ทางซ้ายมือ จึงได้บันทึกไว้เป็นความทรงจำ ที่ได้มา
กราบเยี่ยมชม เจดีย์อันทรงคุณค่านี้..

3 ธ.ค. 2564

อนุสาวรีย์ วีรกรรมพลเรือน ตำรวจ ทหาร อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน

โดย.ณ วงเดือน
ตามรอยวีรกรรมความกล้าหาญ ของเหล่าผู้กล้าทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่สละชีพปกป้องชาติไทยไว้ในยุคที่ ระบอบคอมมิวนิสต์คุกรุ่นในช่วงปี 2516-2519 ที่อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน
เมื่อช่วงต้นเดือน พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้เดินทางผ่าน อนุสรณีย์วีรกรรมแห่งนี้ ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงผู้พลีชีพปกป้องแผ่นดินไทย ตั้งอยู่เนินเขาลูกเตี้ย ๆ ริม ทล.1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง บริเวณหลักกม.ที่ 84 อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน                        
สถานที่แห่งนี้ ในหลวงและพระราชินี รัชกาลที่ 9 ได้พระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลา    
 เมื่อ 10 กพ.2519     
                    และทุกปีถือเอาวันที่ 10 กพ.นี้
เป็นวันวางพวงมาลาและบำเพ็ญกุศลแด่วีรชนเหล่านั้น                                     
ที่ตั้งจะอยู่สูงขึ้นไปบนเนินเขาเตี้ย ๆ ซึ่งมีบันได ไต่ขึ้นไปทั้ง 3 ด้านเมื่อขึ้นไปสู่ลานด้านบน จะพบกับที่ตั้งรูปปั้นตำรวจทหาร พลเรือน กำลังช่วยกันตั้งเสาธงชาติขึ้น และโดยรอบมีพื้นที่ลานกว้างพอสมควร
อนุสาวรีย์วีรกรรม สร้างไว้เพื่อตระหนักให้คนผู้อยู่เบื้องหลังได้ตระหนัก ถึงความกล้าหาญ ของเขาเหล่านั้น ที่ต่างเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อปวงชนผู้อยู่ข้างหลังได้มีแผ่นดิน ที่อยู่อาศัยสืบไป                              
ความเป็นมาของ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน แต่เดิมมีฐานะเป็นแขวง เรียกแขวงขุนน่าน เจ้าผู้ครองแขวงชื่อ เจ้าพรม ณ น่าน  ปกครองเมืองช่วงปี พศ.2442-2446          
      
แล้วต่อมาได้รับยกฐานะเป็นอำเภอ  จนเมื่อปี พศ.2504 ทางอำเภอได้ย้ายมาสร้างอาคารที่ทำการใหม่ ที่บ้านทุ่งช้าง หมู่ 2
จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอทุ่งช้าง
รายชื่อเหล่าผู้กล้า ที่พลีชีพปกป้องผืนแผ่นดินไทย ทั้ง พลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่แท่นแต่ละด้านของอนุสาวรีย์วีรกรรม แห่งนี้
ในเขตพื้นที่ของ อ.ทุ่งช้าง แห่งนี้ มีการสู้รบของ ขบวนการคอมมิวนิสต์  ซึ่งเริ่มมีการปฎิบัติการมาตั้งแต่ ปี พศ.2506 ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี พศ.2518
โดยอำเภอทุ่งช้างแห่งนี้ ประกอบด้วย 4 ตำบล 40 หมู่บ้าน มีชาวไทยหลายเผ่า ทั้ง ขมุ  เหาะ , ม้ง , ถิ่น ,ลัวะ ,ไทลื้อ ,ไทเหนือ ซึ่งเป็นชาวไทยภูเขา มีพื้นที่ทั้งหมด  504,206.875 ไร่ อยู่ห่างตัวจังหวัดมา 90 กม.  และมีพื้นที่ชายแดนติดกับ สปป.ลาว ทางด้านทิศตะวันตก                             
อำเภอทุ่งช้างแห่งนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งนอกจากอนุสาวรีย์วีรกรรม พตท.แห่งนี้ ทั้งจุดผ่านชายแดนไทย-ลาว บ้านห้วยสะแตง  ,ถ้าผาผึ้ง ,ถ้ำผาแดง,ถ้ำค้างคาว,น้ำตกผายักษ์ และยังมีอีกหลายสถานที่ 
จึงขอบันทึกไว้เป็นเรื่องราวดี ๆ ที่ได้มาเยือนเที่ยวชม อนุสาวรีย์วีรกรรมของเหล่าผู้กล้า ที่ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน แห่งนี้..