23 ก.ค. 2563

พระธาตุโพน วัดเจติยาราม เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว.

โดย.ณ วงเดือน




  หลายปีก่อน ได้มีโอกาศเดินทางมายังพระธาตุโพน วัดเจติยาราม บ้านโนนทาด เมืองไชพูทอง สปป.ลาว 
บันทึกท่องเที่ยว ในความทรงจำ จึงขอบันทึกเรื่องราว ความเป็นมาของสถานที่นี้ ไว้เป็นความรู้และความทรงจำดี ๆ ตลอดไป

พระธาตุโพน ตั้งอยู่กลางทุ่งนา บ้านโนนทาด เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ลาว พระธาตุแห่งนี้เป็นอีกแห่ง ที่ชาวลาวเคารพศรัทธาเลื่อมใสมากอีกแห่งหนึ่ง

การเดินทางมาในครั้ง ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ขับข้ามมาจากฝั่งไทย โดยใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร  หลังทำพิธีการตรวจคนเข้าเมืองมาแล้ว ก็วิ่งข้ามสู่ฝั่งลาว ตรวจพาสปอต ทั้งรถ ทั้งคนเรียบร้อย ก็ขับสู่เมืองไกสอนพรมวิหานทันที 
.
เลี้ยวขวา ที่แยกวงเวียนไดโนเสาร์ เราใช้เส้นเลี่ยงตัวเมืองไกสอน ตามทางหลวงสาย 9B จนมาถึงหลักบ้านหลัก 35 ระยะทางกว่า 35 กม.แล้วเลี้ยวขวามาเมืองไชพูทอง อีกระยะทางกว่า 20 กม.ผ่านท้องนาไร่ ของชาวบ้านมาพอสมควร จะถึงตัวเมืองไชพูทอง แล้วเลี้ยวขวามา ตามถนนลูกรัง ผ่านนาชาวบ้านและสะพานไม้ผสมเหล็ก ที่พุพัง มาอีก เกือบ 5 กม.มองเห็นวัดได้แต่ไกล

พื้นที่บริเวณโดยรอบของวัดเจติยาราม โพนทาดนี้ มีพื้นที่อาเขตหลายร้อยไร่พอสมควร ซึ่งได้ลองขับรถวน รอบวัดมาแล้ว
เราเดินเที่ยวชม รอบบริเวณวัดจนทั่วแล้ว จึงได้ไปบูชา ขันหมากเบง ที่ทำเป็นพานดอกไม้ ทำด้วยใบกล้วยจับเป็นพลูชั้น ๆ ขึ้นเป็นรูปเจดีย์ขนาดเล็ก ๆ ประดับด้วยดอกไม้ เพื่อนำไปบูชาองค์เจดีย์ทาดตามลำดับ และมาดูประวัติของพะทาดแห่งนี้ที่ชาวลาวบันทึกไว้ดังนี้
ตามตำนานแต่โบราณกาลชาวลาวเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่นี่ หลังจากที่พระองค์ทรงฉันภัตาหารที่ทำด้วยเนื้อหมู  ที่ต้นรัง ซึ่งปัจจุบัน คือที่ตั้งะะทาดอิงฮัง นั่นเอง แล้วได้มายังที่บริเวณที่เป็นพะทาดโผ่นแห่งนี้ เกิดท้องเสียอย่างแรง พญานาคได้เนรมิต ส้วมสำหรับเป็นที่ถ่ายหนักเบา ให้พระองค์ ชาวบ้านเลยเรียกพะทาดโพน หรือพะทาดขี้โผ่น ก็เรียก เช่นกัน
บันทึกของชาวลาวกล่าวว่าพะทาดโผ่นหลือเจ้าแท่นคำเหลือง เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ตั้งอยู่ห่างจากเทสะบานเมืองไชพูทอง 22 กิโลแมดตามเส้นทางเลขที่ 13 ใต้มุ่งหน้าสู่แขวงจำปาสัก 
ตามตำนานได่ก่าวไว่ว่า : พะทาด องนี้ส้างขึ้นในตอนค่ำของวันพุด เดือน 12  พส.236 ส้างด้วยหินเข้าจี่ หลือเอิ้นว่า (หินหนามหน่อ) ก่อเป็นทาดอุโมง ฮูปโอขว่ำ  กว้างด้านละ 12 วา ส้างมื้อนึ่งกับคืนนึ่งก็สำเล็ดมาเถิงปะจุบันนี้มีอายุ 2,500 ปี
สะนั้นสะถานที่แห่งนี้จึงถือว่าเปนมอระดกตกทอด เป็นสมบัติมิ่งเมืองที่มีค่าสูง  โดดเด่นทางด้านวัดทะนะทำอันบ่ำค่าและเป็นปะหวัดสาด ซึ่งติดพันกับแบบแผนดำลงชีวิตของปะชาชนลาว บันดาเผ่ามาแต่ดึกดำบัน และยังเป็นสะถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัดทะนะทำที่สำคัน และมีชื่อเสียงอีกหนึ่งของแขวงสะหวันนะเขต
ก็เป็นความเชื่อและบันทึกเรื่องราว ความเป็นมาของพระธาตุโพ่น แห่งเมืองไชพูทอง มาจากหลายแห่งหน ที่ได้บันทึกเป็นความเชื่อต่อ ๆ กันมา ว่าใครมาบนบาน ขอพรมักสมปรารถนากันทุกคน เมื่อสมหวังแล้ว ก็กลับมาแก้บน ตามที่บนบานไว้ 

บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ จึงขอบันทึกเรื่องราว ความทรงจำดี ๆ ที่ได้ไปเยือนพะทาดโผ่น แห่งนี้ ให้อยู่ในบันทึกเที่ยว แห่งนี้ตลอดไป.
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


16 ก.ค. 2563

ข้ามโขงไปกราบพระธาตุอิงฮัง สะหวันนะเขต สปป.ลาว

โดย.ณ วงเดือน

     เมื่อปีที่แล้ว บันทึกเที่ยวในความทรงจำ ได้มีโอกาศเดินทางข้ามไปยัง เมืองไกสอนพรหมวิหาน สะหวันเขต สปป.ลาว เพื่อไปเที่ยวชม วัดวาอารามและไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่่ชาวลาวนับถือกันมากอีกแห่งหนึ่งนั้นก็คือ พระธาตุอิงฮัง ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุในการก่อสร้างไล่เลี่ยกันกับพระธาตุพนม ของไทย
สถานที่นี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธ ทั้งลาว และไทยตลอดจนนักท่องเที่ยวทั่วไปที่นับถือพุทธศาสนา ต่างก็มักมาแสวงบุญและท่องเที่ยวกันที่นี่ เราใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว มุกดาหาร หลังทำพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อย เราขับรถเข้าสู่เมืองลาวทันที
ในครั้งนี้เรามุ่งหน้าตั้งใจ มาที่พระธาตุอิงฮัง เป็นการเฉพาะ  เมื่อเราขับรถเข้ามาถึงฝั่งลาวประมาณ เกือบหนึ่งกิโลเมตรจะพบกับ วงเวียนไดโนเสาร์ แล้วเลี้ยวซ้ายมือ ไปตามทางหลวงหมายเลข 13 ขึ้นมา ทางเมืองเซโน บ้านโพนสิม ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เจอป้ายบอกทางเข้าพระทาดอิงฮัง แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีก ประมาณเกือบ 2 กม.

ทางเข้าไปสู่พระทาดอิงฮัง ขณะกำลังพัฒนาในช่วงที่เข้าไปในตอนนั้น ยังเป็นทางลูกรังอยู่ ซึ่งก็ถือว่าสะดวกพอสมควร ใช้เวลาขับรถเข้ามาไม่ถึง 5 นาที ก็มาถึงลานจอกรถด้านหน้า องค์พระทาด เสียค่าจอดอีก ประมาณ 2,000 กีบ และเมื่อจะเข้าไปด้านในองค์พระทาดอิงฮัง ก็เสียค่าเข้าไปอีก ชาวลาว 2,000 กีบ ต่างชาติ 5,000 กีบ ซึ้งโดยรอบองค์พระธาตุจะสร้างเป็นกำแพงโดยรอบ มีประตูทางเข้าหลายด้าน

เมื่อเข้ามาแล้วด้านในจะมี ขันหมากเบ็งขายให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเอาไปบูชา องค์พระทาดอิงฮังอีกด้วย ขายอยู่บริเวณทางเข้าองค์พระทาดนั้นเอง และรอบผนังกำแพงของพระะธาตุด้านใน ยังมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ เรียงรายโดยรอบ ทั่วกำแพงหลายร้อยองค์เลยทีเดียว

ในบันทึกเรื่องของการสร้างพระธาตุอิงฮังนี้ ที่เป็นข้อมูลของชาวลาว ได้บันทึกไว้เป็นภาษาลาวว่า " พะทาดอิงฮังเป็นเจดีที่บันจุกะดูกของสมเด้ดพะพุดทะเจ้า ส้างขึ้นเมื่อปี พ.ส. 500 เพื่อเป็นอะนุสอนไว้ว่าคั้งหนึ่งพะพุดทะเจ้า ได้มาโผดสัดในดินแดนสุวันนะพูมแห่งนี้ และได้นั่งสันเข้าอิงต้นฮังยู่ จึ่งใส่ชื่อว่า " ทาดอิงฮัง "

ซึ่งบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ในการได้มาเยือนกราบไหว้องค์พระธาตุอิงฮัง เมืองสะหวันนะเขต ในครั้งนี้นั้น จึงขอนำเรื่องราวการสร้างพระธาตุและความเป็นมาในที่ต่าง ๆ มาบันทึกไว้เป็นความรู้ของผู้เขียนอีกด้วย ซึ่งการบันทึกเรื่องราวก็มีความแตกต่างกันออกไป ต่างได้ความรู้ในมุมมองต่างกัน และดูอีกบันทึกหนึ่งขององค์พระธาตุอิงฮังนี้ว่า

ในประวติการสร้างพระธาดุอิงฮัง นี้สร้างขึ้นราว พ.ศ. 400 ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร มีความสูง 25 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนโบราณ ฐานรอบองค์พระธาตุกว้างแต่ละด้าน 9 เมตร มีประตูเข้าภายในองค์พระธาตุ ทั้ง 4 ด้าน และรอบด้านขององค์เจดีย์ มีภาพแกะสลักนูนต่ำ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้รับการบูรณะในสมัยอาณาจักรล้านช้าง และสมัยฝรั่งเศสปกครอง

องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาในหลายสมัย ในครั้งรัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้ม ช่วงปี พศ.1892 เมื่อพระองค์รวบรวมอาณาจักรลาว ให้เป็นปีกแผ่น พระองค์ก็ได้ทำนุบำรุงองค์พระธาตุให้มีความสวยงามเจริญขึ้นมากในยุคพระองค์
และในปี พศ.2492 ประชาชนชาวลาว ร่วมแรงร่วมใจสละเงินทุนทรัพย์ พัฒนาพระธาตุอิงฮัง ด้วยการขยายอาณาพื้นที่สร้างเป็นกำแพงโดยรอบและ สร้างประตูโขง สร้างศาลาโรงธรรม ให้กับผู้มากราบไหว้บูชาได้มีที่พักพิง ทำพิธีกรรมของทางวัด อีกด้วย



โดยรอบขององค์พระธาตุ มีการแกะสลักลายนูนต่ำอย่างสวยงาม และภายในองค์พระธาตุนี้ ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนกระดูกสันหลังของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ภายใน

ในทุกวันทางวัดพระธาตุอิงฮังจะเปิดให้กับผู้คนได้เข้าไปเที่ยว และกราบไหว้ขอพรกัน ตั้งแต่เวลา 08.00 จนถึงเวลา 16.30 น. และในทุกปีจะมีการจัดงานนมัสการองค์พระธาตุในช่วงเดือน ธันวาคม ในงานมีขบวนแห่เทียน การฟ้อนรำถวายองค์พระธาตุอย่างยิ่งใหญ่ ผู้คนนับหมื่นๆ ร่วมงานอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี




ในการได้มาเยือนองค์พระธาตุอิงฮังในครั้งนี้ จึงขอบันทึกทุกเรื่องราวความเป็นมา ไว้ในบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ของผู้เขียน ได้รับรู้ประเพณีอันดีงาม ศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ได้ไปเยือน มาบันทึกไว้เป็นความรู้ทรงจำดี ๆ ให้คงอยู่ตลอดไป..