26 พ.ย. 2562

ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม

ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม

โดย..ณ  วงเดือน



            ผมได่ไปเยือนดอนหอยหลอด มานานหลายปีแล้ว ด้วยความที่อยากรู้ว่า หอยหลอดมีที่มาอย่างไร จึงได้เดินทางไปเยือนเพื่อเที่ยวชมสักครั้งหนึ่งให้เห็นกับตา

                   ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กอง มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว กิโลเมตร ในพื้นที่  3  ตำบลคือ บางจะเกร็ง   แหลมใหญ่ บางแก้ว อ.เมืองสมุทรสงคราม   พื้นที่นี้เท่านั้นที่พบกับหอยหลอด ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ที่มีทรายลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นนั้นคือ ทรายขี้เป็ด ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของหอยหลอดชนิดนี้นั่นเอง

  เมื่อเดินทางเข้าไปยังดอนหอยหลอด ซึ่งทำให้เป็นสถานที่พักผ่อนของผู้คนทั่วไปที่แวะเวียนมาเที่ยว  เลี้ยวเข้าไป มีต้นสน ปกคลุมให้ร่มเงา ชาวบ้านนักท่องเที่ยวที่มาปู่เสื่อ พักผ่อนกับลูกหลาย ส่วนมอง ออกไปลิบ ๆ ในทะเล พบเรื่อหางยาว พานักท่องเที่ยวออกไปชมวิว โดยรอบ จึงได้เดินชมแวะรอบถ่ายรูปเป็นที่ระลึก 
   หอยหลอดยังสามารถไปชมได้อีกแห่งนั้นคือ          ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครงดอนหอยหลอด สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด” ดอนหอยหลอดมีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 แห่ง แห่งแรก ได้แก่ ดอนนอก อยู่บริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และอีกแห่งคือ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง
      แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวน มากที่สุด จึงเป็นจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในเลน การจับหอยหลอด จะจับในช่วงน้ำลง โดยใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด 
       ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา
บริเวณดอน หอยหลอดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีการแสดงดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 16.30 - 18.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและร้านขายสินค้าของที่ระลึกหลายร้านเรียงรายบริเวณ ดอนหอยหลอดขายสินค้าประเภทอาหารทะเลสด-แห้ง หอยหลอดสด-แห้ง น้ำปลา กะปิคลองโคน อาหารทะเลคุณภาพดีจากชาวบ้านนำมาวางขาย ให้ได้เลือซื้อหามากมาย หลายร้าน จึงขอนำเรื่องราว ที่ไปพบเจอมา บันทึกไว้ในความทรงจำดี ๆ ของผู้เขียนเพื่อเป็นความรู้ต่อไปในภาคหน้า ให้คงอยู่ตลอดไป..


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@



หาดบางแสน สถานท่องเที่ยวชายทะเลเรื่องชื่อ จ.ชลบุรี

ไปชมวิวเอาบรรยากาศ 

ที่ชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี

โดย.ณ วงเดือน
       ______
  แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่ขึ้นชื่อของภาคตะวันออก
     
      เป็นความทรงจำเมื่อหลายปีก่อน ที่ได้ไปเที่ยวหาดบางแสน  ในช่วงหลัง ๆ ไม่มีโอกาศได้ไปเยือนอีกเลย  จึงขอเขียนบันทึกไว้เป็นความทรงจำอีกแห่งหนึ่ง..
   เกือบจะค่ำมืดแล้วในวันที่เดินทางไปถึงชายหาดบางแสน
    ที่ครั้งหนึ่งในอดีตในนั้นเป็นชายทะเลรกร้างและได้พัฒนา มาเป็นแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกในราวปี 2486 จนมาถึงทุกวันนี้
            ในทุกวันนี้ชายหาดบางแสน   ถือเป็นอีกชายทะเล อีกแห่งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ใช้เวลาเดินทางแค่ครึ่ง ชม.ก็มาถึงแล้ว  เพราะไม่ไกลเกินไปการเดินทางสดวก  จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยเอง และต่างชาติ   มักแวะเวียนมาเล่นน้ำและพักผ่อนอยู่เนือง ๆ  โดยเฉพาะในวันหยุดต่าง และโดยเฉพาะ เสาร์ อาทิตย์ มีผู้คนพาบุตรหลานมาเที่ยวกันมาก
   เพราะตลอดชายหาดของบางแสน มีความยาวกว่า 5 กม.
"โดยชายหาดบางแสนจะมีความยาวต่อเนื่องไปจนถึงแหล่มแท่น "    ซึ่งที่นี่ ก็เป็นอีกแห่งที่ผู้คนมักเดินมากินลมชมวิวกันในช่วงยามเย็น ๆ และมี ร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว ตลอดแนวความยาวของชายหาด  และมีที่พักไว้ให้กับนักท่องเที่ยวได้ใช้เป็นที่พักผ่อนพาครอบครัวมาเที่ยวอีกด้วย
นอกจากราคาที่พักหลักร้อยแล้ว  ยังมีที่พักเป็นโรงแรมหรู ไปถึงหลักหลายพันบาทก็มี     และมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกมากมายหลายจุดกระจายเลาะเรียบชายหาดตลอดแนว                   ผมมาเที่ยวชมในครั้งนี้ก็นับรอบที่เท่าไร จำไม่ได้ แต่เพื่อกันลืมจึงขอเขียนไว้เพื่อกันลืม  เพราะถือว่า "หาดบางแสน" เป็นสถานที่แห่งแรกเลย ที่ได้มีโอกาศมาเยือนเล่นน้ำทะเล เป็นครั้งแรกในสมัยวัยเด็กจวบจน เลยวัยทำงานแล้ว มีโอกาศก็ยังจะมาเยือนท่องเที่ยวอีกให้ได้ระลึกถึงความหลัง ที่ได้มาเที่ยวเป็นแห่งแรกของการมาเห็นทะเล เป็นครั้งแรกของชีวิตก็คือ ที่ชายหาดทะเลบางแสน นี่เอง
    จึงขอบันทึกไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในความประทับใจ ของอีกหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้        เป็นหนึ่งในสถานที่สุดคลาสิคน่ามาพักผ่อนแบบชิว ๆ  
ในวันหยุดต่าง ๆ ได้




     เป็นอย่างดี   บางแสน  จึงถูกขอนำมาบันทึกไว้  แหล่งท่องเที่ยวในความทรงจำตลอดไป
   หากเราเดินเลาะเรียบอีกสักระยะหนึ่งแบบ เหงือเริ่มจะซึมก็จะมาถึง ยังบริเวณแหล่มแท่น ซึ่งถือว่าเป็นจุดชมวิว ติดกะชายหาดบางแสน เลยมาทางทิศเหนือนั่นเอง
โดยบริเวณแหลมแท่นจะเป็นเกาะขนาดเล็ก ๆ ยื่นออกไปในทะเล และมีโขดหินใหญ่น้อย อยู่หลายก่อน โดยเฉพาะมีอีกก้อนที่ใหญ่

กว่าก้อนอื่น ๆ ถือเป็นจุดถ่ายภาพวิว ที่สวยงามอีกด้วย และที่แหลมแท่นนี้ ทางเทศบาลยังได้จัดสร้างเป็นรูปปั้นปฎิมากรรมรูปปลาโลมา กับเกลียวคลื่นทะเล ดูสวยงามมากเลยทีเดียว ทางผู้เขียนไม่พลาดที่จะเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก และใกล้ศาลาทรงไทยลานชมวิวแหล่มแท่น ทางผู้เขียนเห็นเรือหาปลา ขนาดเล็กลอยลำ รอเวลาออกหากินของชาวประมงทะเลแห่งนี้ วิถีชีวิตความงดงาม ความเป็นอยู่ของผู้คนก็ยังมีชีวิตสีสัน ตั้งแต่อดีตจนสู่ปัจจุบันนี้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ใครอยากไปเที่ยวผ่อนคลายในชีวิตที่แสนยุ่งยากในเมืองหลวง ลองออกมาเปิดหูตาพักผ่อนดูบ้างอาจจะสบายใจเหมือนผู้เขียน จึงได้ขอบันทึกไว้..

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ตำนานเสาชิงช้า หน้าวัดชนะสงคราม ที่ศาลาว่าการ กทม.

เสาชิงช้า หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

                              -----------
                          โดย..ณ  วงเดือน
     เสาชิงช้า ได้ขับรถผ่านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครบ่อยครั้ง และผ่านเสาชิงช้าที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลางระหว่างจุดบรรจบถนนบำรุงเมือง ถนนตีทอง และถนนดินสอ  และอีกด้านเป็นจุดตัดระหว่างถนนบำรุงเมือง และถนนอุณากรรณ และถนนศิริพงษ์
          
    และเคยมีความสงสัย มานานแล้วถึงความเป็นมาของเสาชิงช้าต้นนี้  จึงได้หาข้อมูลมาเขียนไว้เป็นความรู้ เพื่อได้เป็นความรู้ตนเองและความทรงจำดี ๆ ได้อยู่ตลอดไป

   จากข้อมูล การสร้างและประเพณีมาแต่ครั้งโบราณนั้นได้ความว่า เมื่อสร้างบ้านแปงเมือง สร้างพระนครแห่งใหม่ขึ้น ได้สำเร็จลุล่วงแล้ว  จะมีการทำพิธีทางพราหมณ์  ที่สำคัญยิ่งอีกพิธีหนึ่ง นั้นคือ พิธียืนชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย เพื่อทดสอบความมั่นคงของราชธานี
      เป็นกุศโลบายที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เพื่อให้พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศาณุวงศ์ ขุนนาง คหบดี สมณชีพราหมณ์ และอาณาประชาราษฏร์น้อมระลึกถึงความไม่ประมาท
    หลังการสถาปนาราชธานีไม่นาน ได้มีการสร้างศาสนสถานที่สำคัญ   อันประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร พระพิฆเนศ และพระนารายณ์ รวมเรียกว่า “เทวสถาน” หรือเรียกสามัญว่า “โบสถ์พราหมณ์” ในพุทธศักราช ๒๓๒๗ 
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเสาชิงช้านั้นเอง  
   มีพราหมณ์ชาวสุโขทัยชื่อพระครูสิทธิชัย (กระต่าย) ตำแหน่งพราหมณ์พฤฒิบาศ หรือที่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียกว่า “หลวงสิทธิไชยพระหมอเฒ่า” ซึ่งเป็นที่เคารพของพราหมณ์แต่ครั้งกรุงเก่า ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
      ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเสาชิงช้าขึ้นตรงบริเวณที่ถือเป็นใจกลางพระนคร เพื่อประกอบพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย  ตามธรรมเนียมการสร้าพระนคร
          มาแต่โบราณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้สร้างเสาชิงช้าพร้อมกับสถาปนาเทวสถาน 
      สำหรับพระนครขึ้น  เมื่อวันพุธเดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ
 ปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๗    ในครั้งนั้นเสาชิงช้ามีขนาดย่อมกว่าในปัจจุบัน มีเพียงเสาหลัก ๒ ต้น ไม่มีเสาตะเกียบ ส่วนเครื่องยอดของเสาชิงช้าน่าจะมีรูปแบบ   
        เช่นเดียวกับที่ ปรากฏในปัจจุบัน มีฐานปัทม์เป็นสี่เหลี่ยมดังภาพลายเส้นที่วาดโดยชาวต่างชาติที่เข้ามาในกรุงเทพฯ สมัยช่วงรัชกาลที่ ๓ และภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

           เมื่อสร้างเสาชิงช้าและเทวสถานแล้วเสร็จ 
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีต้อนรับพระอิศวรและพระนารายณ์ที่จะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ในเดือนยี่ของทุกปี 
     อันถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของศาสนาพราหมณ์ ในระหว่าง
ที่เสด็จอยู่ในโลกนี้ 

         พราหมณ์จึงทำพิธีต้อนรับที่เรียกว่าพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย   มีการจัดงานรับรองพระผู้เป็นเจ้าอย่างสนุกสนาน                ในสมัยโบราณการพระราชพิธีตรียัมปวายจะมีขั้นตอนสำคัญที่เรียกว่า พิธียืนชิงช้า” ปัจจุบันได้ยกเลิกเปลี่ยนเป็นพิธีเจิมเสาชิงช้าแทน เป็นการแสดงตำนานเรื่อง พระเจ้าสร้างโลก” 
          ซึ่งมีอยู่ว่า เมื่อพระพรหมธาดาได้สร้างโลกสำเร็จลุล่วง ทรงขอให้พระอิศวรไปรักษา แต่พระอิศวรทรงห่วงใยว่าโลกนี้ดูไม่น่าจะแข็งแรง เพื่อความไม่ประมาทจึงเสด็จลงมายังโลกเพียงพระบาทข้างเดียว เพราะเกรงว่าถ้าลงมาทั้งสองข้างโลกจะแตก   จึงทรงให้พญานาคอันทรงฤทธิ์มาโล้ยื้อยุดระหว่างขุนเขาสองฝั่งมหาสมุทร ปรากฏว่า  แผ่นดินของโลกยังแข็งแรงดีอยู่ 
         พญานาคทั้งหลายก็โสมนัสเป็นยิ่งนัก ลงสู่สาครเล่นน้ำและเฉลิมฉลอง เสาชิงช้า ทั้งคู่เปรียบได้กับขุนเขาทั้งสองฝั่งมหาสมุทร ส่วนขันสาครเปรียบได้กับมหานทีอันกว้างใหญ่ ซึ่งพญานาคพากันเล่นน้ำ รำเขนงสาดน้ำกันในตอนท้าย ผู้ที่ขึ้นโล้ชิงช้านี้เรียกว่า นาลิวัน 
         หมายถึง พญานาค และอีกนัยหนึ่ง มีความหมายเป็นกุศโลบายที่จะทรงสื่อสารกับชาวพระนครว่ากรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงสถาปนาขึ้นนี้มีความแข็งแกร่ง มั่นคง ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพระนครแห่งนี้จะมีชีวิตที่เป็นสุขร่มเย็นสืบไปนานเท่านาน
         เสาชิงช้า  แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด 

       ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติดสายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดินกรมศิลปากร  ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน  สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22  พย. พศ.  2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี    พศ.  2327
    จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี  พศ.2549  โดย เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี

       บันทึกท่องเที่ยวจึงขอนำบทความ การสร้างและความเป็นมาของการสร้างเสาชิงช้า ที่เคยสงสัยมานานแล้ว ขอบคุณหลายข้อมูลที่ได้นำมารวมไว้เป็นความรู้ ได้ประดับเป็นความรู้และได้บันทึกไว้ตลอดไป..
                                          @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

2 พ.ย. 2562

หลวงพ่อทันใจ วัดนาคูโมทนามัย ต.บางกะไห อ.เมืองฉะเชิงเทรา

หลวงพ่อทันใจ วัดนาคู อ.เมืองฉะเชิงเทรา

โดย.ณ วงเดือน



        เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดวาอาราม  เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ผม นิยมอันดับต้น ๆ ที่จะแวะเข้าเที่ยวชมเป็นอันดับแรก  มาครั้งนี้ได้มีโอกาศผ่าน ถนนสายทางหลวงชนบท  ฉช.3020  จากปากทางถนนใหญ่สาย บางปะกง-ฉะเชิงเทรา ก่อนจะเข้า ตัวเมืองฉะเชิงเทรา  เลี้ยวซ้ายไปยังวัดนาคู 
         วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม ตั้งอยู่หมู่ 2 ต.บางกะไห อ.เมืองฉะเชิงเทรา เป็นวัดราษฎร์   สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ หมู่ 2 ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน เดิมตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 ซึ่งเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2482   ด้วยที่วัดนี้ ไม่ได้อยู่ในเส้นทางสายหลัก ที่ผู้คนสัญจรมากนัก วัดจึงไม่เป็นที่รู้จักของผู้ตนมากนัก และแต่เดิมนั้นความเป็นมาต่าง ๆ  ก่อนที่จะเป็น
วัดนาคูโมทนามัยปุญยธาราม เดิมชื่อว่า "วัดโมทนามันปุญญาราม" ในปัจจุบันนี้  สมัยนั้น   ได้มีการขุดคลองคูลัด  ข้างวัดไปคลองบางกะไห เพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา ซึ่งการเดินทางสัญจร สมัยก่อนนิยมเดินทางด้วยเรือ  ชางบ้านจึงเรียกชื่อว่า "วัดนาคู" ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเพื่อความเหมาะสม จึงได้ตั้งชื่อว่า "วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม"  ใน ปี พ.ศ 2430  ได้รับเขตวิสุงคามสีมา  กว้าง  40 เมตร ยาว 80 เมตร  และในสมัยก่อนนั้นวัดแห่งนี้  เป็นที่นิยมมางานทำบุญงานบวช อย่างล้นหลาม ในสมัยหลวงพ่อพระครูธรรมกิจนิเทศน์  หลวงพ่อบุญชู ธัมมโชโต
 ในอดีตวัดนาคู มีท่านเจ้าอาวาส เรียงตามลำดับดังนี้  1. พระอธิการชื้น  ปี พศ.2435-2439  2.พระอธการโพ้ง  พศ.2440-2467  3.พระอธิการบัว พ.ศ.2468-2472 และ3.พระครูเฟื่อง  พศ.2473-2484  4. พระครูธรรมกิจนิเทศ ( บุญชู  ธัมมโชโต ) พ.ศ.2485-2530  5.พระครูสมุห์ สมพิศ ธัมธโร  พศ.2531-2535 6.พระครูประโชติวุฒิคุณ ( ประสาน   ท้วมพงษ์   )  พศ.2537-ปัจจุบัน
    ปัจจุบัน มีหลวงพ่อพระครูประโชติวุฒิคุณ  ( ประสาน ชุติวัณโณ ) เป็นเจ้าอาวส   มาตั้งแต่ ปี พศ.2537 จนถึงปัจจุบัน ได้ก่อสร้างเสนาสนะ พัฒนาวัดให้มีความเจริญขึ้นตามลำดับ และได้จัดสร้างองค์ หลวงพ่อทันใจ เพื่อให้คนได้มากราบไหว้ บูชา ขอโชคลาภและเป็นที่พึ่งทางใจ โดยสร้าง หลวงพ่อทันใจ โชคลาภมาไว สมปรารถนา  เมื่อ เดือนตุลาคม 2555 นอกจากนี้ ยังมีพระสังกัจจายณ์ ให้ลาภและหลวงปู่ทวด เยียบน้ำทะเลจืด มาให้ขอโชคพร เพื่อความเป็นสิริมงคล  ถือเป็นวัดที่สะอาดเงียบสงบ และน่าแวะมาไหว้พระ เพื่อความสงบจิตใจเป็นอย่างยิ่ง
   ทางผู้เขียนได้แวะเข้าชมและกราบไหว้มาแล้วจึง ของบันทึกเรื่องราวดีๆ ไว้เพื่อความทรงจำต่อไป..

                                                  @@@@@@@@@@@@@@@@@@

วัดเขาไม้แดง พระอาจารย์สมชาย อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

หลวงพ่อยงยุทธ ธัมมโกสโล  บูรพาจารย์ วัดเขาไม้แดง
โดย.ณ  วงเดือน


                    ด้วยความที่ผู้เขียน มีความตั้งใจมานานแล้ว ที่จะมากราบหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ต.บางพระ อ.ศรีราชา เป็นวัดที่หลวงพ่อได้มาอยู่ปฎิบัติธรรม จนตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นและกลายเป็นวัดเจริญขึ้นในเวลาต่อมา
      ได้ยินกิตติศัพย์บารมีหลวงพ่อมานาน ถึงความมีเมตาสูง  มีพลังจิตแก่กล้า และคาถาอาคมเข้มแข็ง ในสมัยที่ผู้เขียนยังอาศัย อยู่ที่ จ.ชลบุรี
       ในปี  พศ.2531 กว่า 30 ปีมาแล้วในสมัยนั้นการสัญจรไปมา ก็ยังลำบากเลยไม่มีโอกาศได้ไปกราบหลวงพ่อ จนล่วงเลยมานาน จึงได้มีโอกาศมากราบท่านเมื่อหลวงพ่อสิ้นไปแล้ว จึงขอตามรอยพระอริยะผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ แม้วาสนา จะได้มากราบไหว้ท่าน ในภายหลังก็ถือเป็นบุญวาสนา อย่างยิ่ง จุวขอนำเอาความเป็นมาประวัติคร่าว ๆ ของหลวงพ่อมาบันทึกไว้เป็นความรู้ ได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านให้คงอยู่ตลอดไป
   หลวงพ่อยงยุทธ  เกิดเมื่อ 17 กย. 2470  ในเรือนแพ ที่จอดอยู่ริมน้ำเจ้าพระยา เขต อ.ไชโย จ.อ่างทอง  มีชื่อเดิมว่า จำปี แก้วไพรำ ในช่วงเด็ก พ่อแม่ได้นำตัวไปฝากเป็นลูกศิษย์ก้นกุฎี กับท่านพระครูโกวิทนวการ หรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดวงษ์ภาศนาราม เพื่อให้ได้อยูาศึกษาเล่าเรียน จนจบประถมชั้นปีที่ 7 และได้มาศึกษาต่อที่ โรงเรียนปัทมโรจน์ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอ่างทอง  จบมัธยมปลายที่  ต่อมาท่านได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ยงยุทธ เมื่อครั้งมาศึกษาต่อ ชั้น ม.8 ที่ฝั่งธนบุรี กทม. แล้วจบการศึกได้เข้าทำงานที่วิทยุการบินแห่งประเทศไทย

   จนอายุ 23 ปี ได้ลางานเป็นเวลา 15 วัน เพื่ออุปสมบททดแทนคุณมารดาบิดา ที่วัดบ้านป่า อ.ไชโย เมื่อ ปี พศ.2493 โดยมีหลวงปู่โห้ ทีสมัยหลวงพ่อยงยุทธ เคยเป็นลูกศิษย์อาศัยอยู่สมัยเรียนชั้นประถม กับหลวงปู่โห้ ที่ จ.อ่างทอง โดยมีหลวงปู่เป็นพระอุปัชชาย์  และพระครูวิบูลย์สังฆกิจ จอ.ไชโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์  พระอธิการตี๋ เจ้าอาวาสวัดประสาทเป็นพระกรรมวาจาจารย์  ได้ฉายาว่า ธัมมโกสโล เมื่อบวชครบ 15 วัน ท่านซาบซึ้งใจในรสพระธรรม เลยตัดสินใจบวชต่อและได้ออกปฎิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฎฐานต่อ กลับหลวงปู่ลิ้ม วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์  และครูจาบ ชาวฆราวาสที่เก่งด้านปฎิบัติเพ่งกสิน

   ในปี พ.ศ.2502  ได้ออกเดินธุดงค์ปฎิบัติธรรมลงมาเรื่อย ๆ จนถึง จ.ชลบุรี และพบว่าที่บริเวณที่ตั้งบนเขาไม้แดง ในปัจจุบันนี้ มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การอยู่พักปฎิบัติธรรม ท่านจึงได้ อาศัยที่นั้นเป็นที่จำพรรษามาตลอดจน มีผู้คนที่เห็นวัตรปฎิบัติอันดีงามของหลวงพ่อ ต่างเริ่มทะยอยมาทำบุญมากขึ้นเรื่อย ๆ จนพัฒนาจาก เสนาสนะที่สร้างขึ้นง่าย ๆ จนทีผู้ศรัทธาสร้างเสนาสนะถวาย ให้ท่านอยู่ดีขึ้น  และได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพเรือภาคตะวันออกสมัย มาช่วยสร้างเสนาสนะอื่นๆ ให้มั่นคงแข็งแรง เป็นที่ทำบุญของสาธุชนทั่วไป  นอกจากท่านมักน้อยสันโดษแล้ว ท่านยังถือว่าเป็นผู้มีวิถีจิตกล้าแกร่ง วัตถุมงคลหลายรุ่นของท่าน จะได้รับความนิยมมาก
   ใน ปี พศ.2507  ได้สร้างบันไดรูปพญานาคขึ้นสู่ยอดเขา  เป็นจำนวน 142 ขั้น เสร็จสมบูรณ์ใน ปี พศ.2509 ในปี พศ.2521 ได้ก่อสร้างอุโบสถจตุรมุขขึ้น บนยอดเขา และสำเร็จใน ปี พศ.2524  และได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูในราชทินนามว่า พระครูธรรมกิจโกวิท  ในเรื่องของวัตถุมงคลของท่านนั้น ได้จัดสร้าง เอาไว้หลายรุ่น โดยรุ่นแรกท่านได้จัดสร้าง ในปี พศ.2516  เป็นเหรียญรูปไข่มีหู จัดสร้าง 4 สี คือ กะไหล่เงิน ทอง นาก  และรมดำ อย่างละ 2,000 เหรียญ เพื่อหาทุนสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ให้ญาติโยมได้เข้ามาทำบุญได้รับความสะดวกมากขึ้น จนเป็นเหรียญที่หายากแบะเป็นที่นิยมของผู้แสวงหามากเลยทีเดียว
ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบ ที่ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา  เมื่อวันที่ 17 พย. 2545  สิริอายุ 75 ปี 2 เดือน พรรษา ที่ 52  ทางผู่้เขียนได้มีโอกาศวาสนาได้ไปกราบท่านหลังล่วงเลยมาแล้วกว่าหลายสิบปี ก็ยังนับเป็นบุญวาสนาได้มากราบท่านและ นำคุณงามความดีของท่านมาบันทึกไว้ เพื่ออยู่ในความทรงจำและเป็นข้อมูลความเป็นมาของท่านไว้ ณ ที่นี้..

                                           @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@