26 พ.ย. 2562

ตำนานเสาชิงช้า หน้าวัดชนะสงคราม ที่ศาลาว่าการ กทม.

เสาชิงช้า หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

                              -----------
                          โดย..ณ  วงเดือน
     เสาชิงช้า ได้ขับรถผ่านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครบ่อยครั้ง และผ่านเสาชิงช้าที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลางระหว่างจุดบรรจบถนนบำรุงเมือง ถนนตีทอง และถนนดินสอ  และอีกด้านเป็นจุดตัดระหว่างถนนบำรุงเมือง และถนนอุณากรรณ และถนนศิริพงษ์
          
    และเคยมีความสงสัย มานานแล้วถึงความเป็นมาของเสาชิงช้าต้นนี้  จึงได้หาข้อมูลมาเขียนไว้เป็นความรู้ เพื่อได้เป็นความรู้ตนเองและความทรงจำดี ๆ ได้อยู่ตลอดไป

   จากข้อมูล การสร้างและประเพณีมาแต่ครั้งโบราณนั้นได้ความว่า เมื่อสร้างบ้านแปงเมือง สร้างพระนครแห่งใหม่ขึ้น ได้สำเร็จลุล่วงแล้ว  จะมีการทำพิธีทางพราหมณ์  ที่สำคัญยิ่งอีกพิธีหนึ่ง นั้นคือ พิธียืนชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย เพื่อทดสอบความมั่นคงของราชธานี
      เป็นกุศโลบายที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เพื่อให้พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศาณุวงศ์ ขุนนาง คหบดี สมณชีพราหมณ์ และอาณาประชาราษฏร์น้อมระลึกถึงความไม่ประมาท
    หลังการสถาปนาราชธานีไม่นาน ได้มีการสร้างศาสนสถานที่สำคัญ   อันประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร พระพิฆเนศ และพระนารายณ์ รวมเรียกว่า “เทวสถาน” หรือเรียกสามัญว่า “โบสถ์พราหมณ์” ในพุทธศักราช ๒๓๒๗ 
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเสาชิงช้านั้นเอง  
   มีพราหมณ์ชาวสุโขทัยชื่อพระครูสิทธิชัย (กระต่าย) ตำแหน่งพราหมณ์พฤฒิบาศ หรือที่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียกว่า “หลวงสิทธิไชยพระหมอเฒ่า” ซึ่งเป็นที่เคารพของพราหมณ์แต่ครั้งกรุงเก่า ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
      ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเสาชิงช้าขึ้นตรงบริเวณที่ถือเป็นใจกลางพระนคร เพื่อประกอบพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย  ตามธรรมเนียมการสร้าพระนคร
          มาแต่โบราณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้สร้างเสาชิงช้าพร้อมกับสถาปนาเทวสถาน 
      สำหรับพระนครขึ้น  เมื่อวันพุธเดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ
 ปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๗    ในครั้งนั้นเสาชิงช้ามีขนาดย่อมกว่าในปัจจุบัน มีเพียงเสาหลัก ๒ ต้น ไม่มีเสาตะเกียบ ส่วนเครื่องยอดของเสาชิงช้าน่าจะมีรูปแบบ   
        เช่นเดียวกับที่ ปรากฏในปัจจุบัน มีฐานปัทม์เป็นสี่เหลี่ยมดังภาพลายเส้นที่วาดโดยชาวต่างชาติที่เข้ามาในกรุงเทพฯ สมัยช่วงรัชกาลที่ ๓ และภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

           เมื่อสร้างเสาชิงช้าและเทวสถานแล้วเสร็จ 
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีต้อนรับพระอิศวรและพระนารายณ์ที่จะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ในเดือนยี่ของทุกปี 
     อันถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของศาสนาพราหมณ์ ในระหว่าง
ที่เสด็จอยู่ในโลกนี้ 

         พราหมณ์จึงทำพิธีต้อนรับที่เรียกว่าพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย   มีการจัดงานรับรองพระผู้เป็นเจ้าอย่างสนุกสนาน                ในสมัยโบราณการพระราชพิธีตรียัมปวายจะมีขั้นตอนสำคัญที่เรียกว่า พิธียืนชิงช้า” ปัจจุบันได้ยกเลิกเปลี่ยนเป็นพิธีเจิมเสาชิงช้าแทน เป็นการแสดงตำนานเรื่อง พระเจ้าสร้างโลก” 
          ซึ่งมีอยู่ว่า เมื่อพระพรหมธาดาได้สร้างโลกสำเร็จลุล่วง ทรงขอให้พระอิศวรไปรักษา แต่พระอิศวรทรงห่วงใยว่าโลกนี้ดูไม่น่าจะแข็งแรง เพื่อความไม่ประมาทจึงเสด็จลงมายังโลกเพียงพระบาทข้างเดียว เพราะเกรงว่าถ้าลงมาทั้งสองข้างโลกจะแตก   จึงทรงให้พญานาคอันทรงฤทธิ์มาโล้ยื้อยุดระหว่างขุนเขาสองฝั่งมหาสมุทร ปรากฏว่า  แผ่นดินของโลกยังแข็งแรงดีอยู่ 
         พญานาคทั้งหลายก็โสมนัสเป็นยิ่งนัก ลงสู่สาครเล่นน้ำและเฉลิมฉลอง เสาชิงช้า ทั้งคู่เปรียบได้กับขุนเขาทั้งสองฝั่งมหาสมุทร ส่วนขันสาครเปรียบได้กับมหานทีอันกว้างใหญ่ ซึ่งพญานาคพากันเล่นน้ำ รำเขนงสาดน้ำกันในตอนท้าย ผู้ที่ขึ้นโล้ชิงช้านี้เรียกว่า นาลิวัน 
         หมายถึง พญานาค และอีกนัยหนึ่ง มีความหมายเป็นกุศโลบายที่จะทรงสื่อสารกับชาวพระนครว่ากรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงสถาปนาขึ้นนี้มีความแข็งแกร่ง มั่นคง ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพระนครแห่งนี้จะมีชีวิตที่เป็นสุขร่มเย็นสืบไปนานเท่านาน
         เสาชิงช้า  แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด 

       ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติดสายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดินกรมศิลปากร  ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน  สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22  พย. พศ.  2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี    พศ.  2327
    จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี  พศ.2549  โดย เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี

       บันทึกท่องเที่ยวจึงขอนำบทความ การสร้างและความเป็นมาของการสร้างเสาชิงช้า ที่เคยสงสัยมานานแล้ว ขอบคุณหลายข้อมูลที่ได้นำมารวมไว้เป็นความรู้ ได้ประดับเป็นความรู้และได้บันทึกไว้ตลอดไป..
                                          @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น