5 เม.ย. 2561

หลวงพ่อเฒ่า ปั้น วัดคังคาวธรรมิกาวาส อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท


เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย

วัดคังคาวธรรมิกาวาส อ.สรรคบุรี  จ.ชัยนาท   

โดย.. ณ  วงเดือน              

  ตำนานเทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยที่ผู้คนเคารพนับถือมายาวนานนับศตวรรษ มาจนถึงทุกวันนี้

             วัดธรรมิกาวาส  หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดคังคาว เป็นวัดตั้งอยู่ที่หัวคุ้งแม่น้ำน้อย  ต.โพงาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ความเป็นมาของวัดนี้ที่เป็นที่รู้จักของผู้คนไปทั่วเพราะยังอยู่ด้วยเพราะบารมีของหลวงพ่อเฒ่าปั้น พระภิกษุชรา ที่มีความเป็นมาอันแสนลึกลับ  ซึ่งทางผู้เขียนได้มีโอกาศได้ไปกราบและแวะเยี่ยมเยียนอยู่หลายครั้ง ทุกครั้งที่ผ่าไปทาง จ.ชัยนาท ก็ไม่เคยที่จะแวะมากราบไหว้ขอพรหลวงพ่อเฒ่าปั้น เลยสักครั้ง
               บันทึกการท่องเที่ยว จึงขอนำเรื่องราวดี ๆ ของหลวงปู่องค์หนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาและเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนแถบนั้น ทั้งจังหวัดตลอดจน หลาย ๆ จังหวัดแถบนั้นที่ให้ความเคารพนับถือมาอย่างยาวนาน ไม่ว่า จะเป็น จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง จ.สุพรรณบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา  ซึ่งในสมัยนั้น แถบจังหวัดที่ว่ามาการไปมาหาสู่กันก็ ยากยิ่งแสนเข็ญมีเพียงการเดินทาง ด้วยเท้า ม้า และเกวียน ส่วนทางน้ำก็ด้วยเรือ เท่านั้น ซึ่งการไปใหนมาทีก็ลำบากพอสมควร
    เรามาดูประวัติต่าง ๆ ที่เล่าขานถึงอภินิหารและความเป็นมาของหลวงพ่อเฒ่าปั้น แห่งวัดคังคาวกันครับว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ซึ่งเล่าความเป็นมาหลายที่มาดังต่อไปนี้
 บ้างก็ว่าคนเก่าๆเล่าสืบทอดกันมาว่าท่านเป็นชาวบางปลาสร้อย จ.ชลบุรี เกิดในสมัยอยุธยา เคยเป็นทหารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายหลังสงครามได้บวชเรียนที่จ.อยุธยาแล้วเดินรุกขมูลไปเรื่อยๆกับสหธรรมิก อีกหนึ่งรูปชื่อหลวงพ่อแป้นรูปร่างขาวสูง ส่วนตัวหลวงพ่อปั้นนั้นรูปร่างล่ำแบบมะขามข้อเดียวผิวคล้ำ โดยร่วมกันบูรณะวัดวาอารามไปทั่ว และเมื่อตอนที่ท่านมาถึงบริเวนแม่น้ำน้อยที่สร้างวัด ก็ได้อธิษฐานด้วยการโยนผ้าอาบไปกระทั่งผ้าอาบปลิวตามลมมาตกในบริเวนดังกล่าว ซึ่งเป็นวัดร้างมาก่อน จึงได้อยู่พัฒนาเป็นวัดเจริญขึ้นมาตามลำดับ

         บ้างก็ว่า ประวัติหลวงพ่อเฒ่า  เก่าจนเกินกว่าจะสืบค้น รูปถ่ายท่านก็ถ่ายมาจากรูปปั้นที่ปั้นจากคำบอกเล่าของคนที่อาวุโสที่สุดใน ย่านวัดที่ก็ยังไม่เคยเห็นหน้าท่านในยุคหลวงพ่อสอนเป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี ๒๔๗ กว่าๆ ท่านน่าจะมีชีวิตอยู่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินท์ หรือปลายกรุงศรีอยุทธยา เคยมีคนกล่าวถึงหลวงปู่ศุข วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่าได้มาเรียนและต่อวิชาจากหลวงพ่อเฒ่าและมีการคาด คะเนกันต่างๆนาๆซึ่งขัดแย้งในบางกรณี จนผมมีโอกาสได้สืบค้นประวัติในสายหลวงปู่ศุขจากตำราที่บันทึกโดย พระอาจารย์ บุญยัง ศิษย์เอกหลวงปู่ศุขคู่กับสมุห์กลับ กล่าวไว้ว่า หลวงปู่ศุขได้ต่อวิชาสร้างตะกรุดใต้น้ำ และวิชาบางอย่าง จากหลวงพ่อเฒ่า ซึ่งคำว่าเฒ่าในภาษาคนชัยนาทและละแวกใกล้เคียงจะหมายถึงพระแก่ พระที่อาวุโสมากๆ และในความหมายที่ อ.ยัง บันทึกนั้นหมายถึงหลวงพ่อเฒ่า วัดจำรัง ท่านนี้คือหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งว่าวัดคงสวัสดิ์ ซึ่งหาได้เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อเฒ่า(ปั้น)ไม่ และชื่อปั้นนั้นหมายถึงนามท่าน หรือ รูปปั้นอาจเป็นได้ มีคนเคยตั้งข้อสังเกตุว่าหลังจากที่ค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านหายไปไหน อาจมรณะภาพในสงคราม หรือ ไปจำวัดที่ไหนหลังสงครามสงบ เป็นไปได้หรือไม่ถ้าท่านจะเป็นหลวงพ่อเฒ่า เป็นข้อสันณิษฐานเท่านั้น นี่ก็เป็นอีกบันทึกหนึ่งที่ได้กล่าวถึงไว้

      เรื่องวิชาคาถาอาคม ในสายวิชาหลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาวถือเป็นตักศิลาในลุ่มแม่น้ำน้อย มีตำราคัมภีร์ที่พระเกจิในย่านนี้เรียนต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย เป็นเอก หนึ่งเดียว เอกลักษณ์โดดเด่นไม่ซ้ำกับสายอื่นคือ หัวใจพระกรณีย์ อะปะจะคะ แค่อักขระ ๔ ตัว สำเร็จสามารถกระทำสิ่งใดได้ต่างๆนานา ทั้งผ้ายันต์ ปลุกเสก ลงวัตถุมงคล สารพัด
วัตถุมงคลในรูปหลวงพ่อเฒ่าสร้างครั้งแรกสมัยหลวงพ่อสอน ต่อมาก็สมัยหลวงพ่อสวัสดิ์ หลวงตาวิเชียร จนสมภารรูปปัจจุบัน การออกวัตถุมงคลของวักคังคาวแทบทุกครั้งจะต้องนิมนต์เกจิที่สืบสายวิชามา ร่วมนั่งปรกด้วยทั้งนั้น เช่น หลวงพ่อกวย หลวงพ่อเจ้ย และหลายท่านในลุ่มน้ำน้อย มีทั้งเหรียญ พระสมเด็จ พระดิน ชิน ผง ผ้ายันต์ 

มีดหมอ และวัตถุมงคลที่เก่าแก่ที่สุดก็คือพระโคนสมอขนาดเล็กมีทั้งชินและดินเผา บรรจุอยู่ในกรุของวัดคังคาว สันณิษฐานว่าหลวงพ่อเฒ่าท่านสร้างและบรรจุกรุไว้ถือเอาวัตถุมงคลชุดนี้เป็น พระที่ทันหลวงพ่อเฒ่าครับ
     ครับนี่ก็คือบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของหลวงพ่อเฒ่าปั้น เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย ที่ผู้คนเคารพนับถือไปทั่ว บันทึกการท่องเที่ยว จึงขอนำข้อความเล่านั้นมาลง บันทึกในการนี้ด้วยเพื่อให้คงเป็นความรู้อยู่ให้ผู้คนได้รับรู้เรื่องราวดี ๆ ของหลวงพ่อเฒ่าปั้น  เพื่อยังศรัทธาประสาทะให้เกิดยิ่ง ๆ ขึ้นไปในพุทธศาสนานี้ จึงขอขอบคุณแหล่งที่มาในหลาย ๆ ที่ด้วยครับนำมาลงเป็นความรู้ให้ผู้คนที่เคารพศรัทธา ได้ตั้งมั้นในวัตรปฎิบัติของหลวงพ่อ ยังความเลื่อใสให้บังเกิดแก่ผู้ที่นับถือพุทธศาสนาตลอดไป..



                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น