9 เม.ย. 2561

หลวงปู่อิ่ม สิรปุญโญ วัดหัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

หลวงปู่อิ่ม สิรปุญโญวัดหัวเขา อ.เดิมบางฯ จ.สุพรรณบุรี  
       -------- 
โดย..  ณ  วงเดือน

      
         ที่วัดหัวเขาเป็นวัดที่ครั้งหนึ่งได้เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยที่หลวงปู่อิ่มท่าน ท่านเป็นเจ้าอาวาส มีผู้คนลูกศิษย์ลูกหาทั่วทุกสาระทิศต่างมุ่งหน้ามาที่นี่เพื่ออาศัยบารมีความเมตตาของหลวงปู่ที่มีให้แก่ผู้ตกทุกข์
         หลวงพ่ออิ่ม ในอดีตมีชื่อเสียงมากในสุพรรณบุรี ว่าเป็นพระเกจิที่เก่งด้านคงกระพันชาตรี เป็นที่เลื่องลือไปทั่วในยุคนั้น หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา ประมาณว่าท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. 2406 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.2426 สันนิษฐานว่าคงเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางไปปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณวัดหัวเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ จากคำบอกเล่าของญาติโยม ที่เป็นคนเก่าแก่ ปลายสมัยของหลวงพ่ออิ่ม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงพ่ออิ่ม ในช่วงชีวิตสมัยที่ยังอยู่วัยหนุ่มนั้น เคยเป็นเสือปล้น ก่อนที่จะมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาจวบจนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2480 สำหรับลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ 
           
     หลวงพ่อมุ่ยท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ประวัติกล่าวว่าหลวงพ่อมุ่ยแวะเวียนไปมาหาสู่กับหลวงพ่ออิ่มเป็นประจำ อีกทั้งยังเคยไปจำพรรษาที่วัดหัวเขาเป็นเวลา ๑ พรรษา เพื่อเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากนั้นก็ยังไปมาหาสู่หลวงพ่ออิ่ม และหลวงพ่ออิ่มยังพาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย


          หลักฐานจากหนังสือพระราชทานเพลิงศพพระครูวรนาถรังษี หลวงพ่อปุย วัดเกาะ กล่าวด้วยว่า พ.ศ.๒๔๖๓ หลวงพ่อปุยก็เดินทางมาฝากตนเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม และอาจารย์มนัส โอภากุล เขียนไว้ในหนังสือลานโพธิ์กล่าวว่า หลวงพ่ออิ่มยกย่องหลวงพ่อปุยว่า เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว สอนอะไรก็เข้าใจง่าย ในการอุปสมบทครั้งแรกของ หลวงพ่อมุย วัดดอนไร่ นั้น หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระคู่สวดให้ และในการอุปสมบทครั้งที่สองของศึกษาได้รวดเร็ว ไม่ต้องจ้ำจี้จำไชเท่าไรนัก หลวงพ่อปุยเองก็เคยเล่าให้ศิษย์ฟังเสมอๆว่า หลวงพ่ออิ่มท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยมาก ญาณสมาบัติสูงมาก


   สมัยที่หลวงพ่ออิ่มท่านได้ปกครองวัดหัวเขา ท่านพัฒนาวัดหัวเขาจนเป็นวัดที่เจริญวัดหนึ่งในสมัยนั้น และมีพระภิกษุสงฆ์เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์มากมาย อาทิ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ , หลวงพ่อปุย วัดเกาะ , หลวงปู่แขก วัดหัวเขา และหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน เป็นต้น สมัยนั้นแถวบ้านป่าทางด้านนี้จะเต็มไปด้วยผู้มีอิธิพล โจรปล้นฆ่ากันมาก  และชาวบ้านที่ไม่มีที่พึ่ง ก็หันหน้ามาพึ่งวัดวา ได้อาศัยเครื่องรางของขลัง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจากโจรผู้ร้าย

   
    ที่มีมากในสมัยก่อน ได้อาศัยบุญบารมีของหลวงปู่หลวงตา ในวัดวา ในที่ต่าง ๆ ที่ ่ท่านมีบารมีคุ้มครองปกป้องรักษาชาวบ้าน   ที่ได้มีท่านผู้มีบารมีได้คุ้มครองรักษา ซึ่งขนาดเสื้อร้ายโจรปล้นบางคน ยังต้องยอมก้มตัวเป็นสิษย์และอีกหลายคน ก็เลิกราจากการเป็นโจรปล้นฆ่าไปเลยก็มาก             จากความมีเมตตาของหลวงปู่หลวงตานี่เอง ซึ่งปัดเป่าทุกข์ภัยให้ชาวบ้านได้ คลายบรรเทาไปได้นี่เอง จึงทำให้ในสมัยก่อนครูบาอาจารย์ ที่ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ท่านจะมีข้อวัตรปฎิบัติที่เคร่งเครัดมีศีลาจารที่งดงาม จึงทำให้บางองค์บางท่านนี้ มีผู้คนเคารพนับถือมาก  ดังเช่นหลวงปู่อิ่มแห่งวัดหัวเขา  อ.เดิมบางนางบวช แห่งนี้ก็เช่นกัน  ท่านเดินธุดงค์ควัตรเป็นหลักประจำ จนเมื่อแก่ตัวลงมาจึงได้มาอยู่จำวัดที่ วัดหัวเขาแห่งนี้ และได้ทำนุบำรุงและพัฒนาวัดวา จากสำนักสงฆ์อันเงียบสงบในหุบเขานี้ จนกลายมาเป็นวัดที่มีพร้อมทั้ง โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญให้สาธุชนได้มาร่วมทำบุญกันในวันพระวันศีลตามครรลองคลองธรรมที่มีมาแต่โบราณ
     วัตถุมงคลของท่านที่ขึ้นชื่อมีอยู่ไม่กี่อย่างที่หลวงพ่อปลุกเสก ไว้ เช่นพระหล่อโบราณ  
ได้แก่ เหรียญหล่อใบเสมา ที่คุ้นหูคุ้นตาอย่างน้อย ๓ แบบ
แตกต่างกันที่รายละเอียด นอกจากนี้ยังมีนางกวัก ๒ พิมพ์ หล่อแบบโบราณ
อีกพิมพ์หนึ่งเป็นพิมพ์พระพุทธรูปหล่อโบราณแบบลอยองค์ก็มี พระปิดตา แบบมหาอุด
หมายถึง ปิดตาและปิดทวาร พิมพ์นางกวัก มีสร้างไว้หลายแบบ พญาเต่าเรือน นอกจากนี้ก็ยังมี
แหวนพิรอด หัวพระปิดตา หัวพระพุทธ มี ๒ แบบ ทั้งหมดสร้างด้วยเนื้อโลหะแบบหล่อโบราณ
เกี่ยวกับเหรียญ และรูปหล่อโลหะ พอมีหลักฐานจากรูปทรงใบเสมาบ่ง
บอกว่าน่าจะสร้างในยุคเร็วที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงใดช่วงหนึ่ง
เพราะรูปทรงใบเสมานั้นตั้งต้นสร้างรุ่นแรกของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕
อาจจะเป็นตอนกลางหรือตอนปลายในสมัยของพระองค์ หรือไม่ก็อาจจะเป็นการสร้างในสมัยหลังจากนั้น
ช่วงใดช่วงหนึ่ง
                   หลวงพ่ออิ่มปกครอง พัฒนาคนพัฒนาวัดเรื่อยมา จวบจนได้รับแต่งตั้งสมณศักด์สุดท้ายที่ "พระครูปลัดอิ่ม สริปุญโญ" ก่อนที่ท่านจะมรณภาพลง ในอิริยาบทท่านั่งสมาธิ เมื่อประมาณต้น  ปีพ.ศ.๒๔๘๐ สิริอายุ ๗๔ปี..





                                              @@@@@@@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น