10 เม.ย. 2561

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ย่าโม อ.เมืองนครราชสีมา

  อนุสาวรีท้าวสุรนารี

ตั้งอยู่ในตัวเมืองโคราช

                  -----------
โดย..ณ  วงเดือน

     ผ่านจังหวัดนคราชสีมามาหลายครั้ง แต่ยังไม่เคยมีโอกาศแวะเข้าไปกราบท้าวย่าโม สักที จนมาปีที่แล้วตั้งใจเลยที่จะเข้าไปกราบท่านสักครั้งในชีวิต เพราะมีแค่ผ่านจังหวัดของท่านแต่ไม่เคยเข้าไปกราบสักการะเลยสักครา

            มาครั้งนี้ของปีที่แล้วได้มีความตั้งใจว่าต้องเข้าไปกราบท่านสักครั้งในชีวิต บ่ายห้าโมงเย็นในช่วงฤดูกาลก่อนวันเข้าพรรษา มีความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่ได้มากราบไหว้ท่านในครั้งนี้

ไปดูประวัติความเป็นมาของท่านคร่าว ๆ ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า "โม" (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือท้าวมะโหโรงเป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก (ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองพนมซร็อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร็อกมาอยู่ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมืองพนมซร็อกมาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นบ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจนทุกวันนี้) 
เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 25 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อมานายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระภักดีสุริยเดช" ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา "พระภักดีสุริยเดช" ได้เลื่อนเป็น "พระยาสุริยเดช" ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า "แม่" มีผู้มาฝากตัวเป็นลูกหลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลังและอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการใด ๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ
ท้าวสุรนารีเป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลานไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2395 (เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 81 ปี


                      ในทุกปี ในช่วงระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของ ท้าวสุรนารีขึ้นเพื่อรำลึกถึง ความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น โดยมีการบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง ซึ่งมีการเริ่มต้นครั้งแรกในปพ.ศ.2477 นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการและเอกชน รวมทั้งกิจกรรมบันเทิง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน
นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อมาโคราช คือต้องลอดซุ้มประตูชุมพลที่อยู่หลังอนุสาวรีย์ เชื่อกันว่าหาลอดประตูนี้ 1 ครั้ง จะได้กลับ มาโคราชอีกในไม่ช้า ถ้าลอด 2 ครั้งจะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แต่ถ้าลอดถึง 3 ครั้งก็จะได้คู่ครองเป็นคนโคราช  ประตูชุมพล ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพง มีการสร้าง ประตูเมือง 4 ประตู โดยปัจจุบันคงเหลือแต่ประตูชุมพลทางทิศตะวันตกของเมืองเท่านั้นที่เป็นประตูเดิม ส่วนอีกสามประตูคือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูพลแสนหรือประตูน้ำด้านทิศเหนือ และประตูชัยณรงค์หรือประตูผีด้านทิศใต้ ได้มีการสร้างขึ้น ใหม่แทนประตูเดิมความพิเศษของประตูชุมพล คือ ตรงเหนือช่องประตูจะมีเรือนไม้หลังเล็ก ๆ เป็นเรือนแบบไทยมีหลังคามุง กระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เรียกว่า “หอรบ” เอาไว้สำหรับบัญชาการรบ ส่วนของกำแพงที่ต่อไปทั้งสองข้างส่วนบน ทำเป็น รูปใบเสมา ใต้ใบเสมาเจาะช่องเป็นรูปกากบาท เพื่อใช้ลอบดูข้าศึกด้านนอก และมีบันไดขึ้นหอรบ กำแพงเมืองนี้แต่เดิมได้สร้าง ล้อมรอบเมืองโคราชโดย มีคูน้ำคู่ขนานกันไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นปราการอันแข็งแกร่ง เพื่อปกป้องเมืองโคราชจากข้าศึก ศัตรูมาหลายยุคหลายสมัย
    จึงขอบันทึกคัดลอกข้อความบางตอน อันมีประโยชน์ในการ รับรู้เรื่องราวนี้ ในอนุทินเรื่องนี้ด้วย ใน บันทึก         ออนทัวร์ทราเวล  ในครั้งนี้ด้วย..
                                                         ณ  วงเดือน..







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น