24 ต.ค. 2562

ครั้งหนึ่งในชีวิต ที่พระพุทธบาทเขาพลวง จ.จันทบุรี

ครั้งหนึ่งในชีวิต ไหว้รอยพระพุทธบาท ที่ยอดเขาคิชกูฏ 

โดย.ณ วงเดือน


            ถือเป็นความทรงจำดี ๆ และความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ได้มีโอกาศได้เดินทาง ไปสักการะนมัสการรอยพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า  ที่อยู่บนอุทยานแห่งชาติ ยอดเขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี  และถือว่าเป็นรอยพุทธบาท ที่อยู่สูงที่สุด ของไทยเราก็ว่าได้เพราะอยู่สูงถึง 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล 
         ด้วยความที่ อยากไปท่องเที่ยวและ ไปดูคลื่นมหาชนที่หลั่งไหลศรัทธา ไปกราบรอยพุทธบาท ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในงานเทศกาล บุญประเพณีขึ้นเขาคิชกูฎ โดยในปี พศ.2563  ทางเทศบาลตำบลพลวง ร่วมกับจังหวัดจันทบุรี จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เขาคิชกูฎขึ้น ระหว่างวันที่ 25 มกราคม ถึง  24 มีนาคม 2563 ณ เขาคิชกูฎ โดยกำหนดการดังนี้  วันที่ 23 มกราคม 2563  ทำพิธีบรวงสรวง ปิดป่า-เปิดงานประเพณี วันที่ 24 มีนาคม 2563  พิธีบวงสรวง เปิดป่า ปิดงานประเพณี โดยสามารถติดต่อสอบบถามข้อมูลได้ก่อนที่หมายเลข 083-782-1688  หรือเฟชบุค เขาพระบาทพลวงจันทบุรี
          ส่วน ทางผู้เขียนพร้อมด้วยเพื่อน สหธัมมิก ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา คือ ท่าน มหากมล มงคลเกตุ  ร่วมเดินทางไปแสวงบุญและท่องเที่ยวในครั้งนั้นกับเขาด้วย   เมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราวดี ๆ ความทรงจำ ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป เราได้ออกเดินทาง จาก กทม.ถึง บริเวณ ที่เขาวัดงานและได้ไปหาที่จอดรถที่ วัดกะทิง ซึ่งเป็นอีกวัดหนึ่งที่ร่วมในการจัดงานขึ้นเขาในครั้งนี้ด้วย โดยผู้เขียน ถึงที่วัดเกือบ 5 โมงเย็น  หลังจากหาที่จอดรถในลานวัดวัดเรียบร้อยแล้ว จึงได้เดินทางเพื่อ หาที่จะต่อรถขึ้นไปยังยอดเขาอีกทีหนึ่ง
  ก่อนอื่นขอบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของเขาคิชกูฎ แห่งนี้ว่า ใน ปี พศ.2397  กลุ่มนายพรานกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้ออกหาของป่าและล่าสัตว์ ไปตามเขาและยอดเขาต่าง ๆ มีพรานติ่ง พรานนำ พรานปลิ่ม ซึ่งการไปหาของป่าล่าสัตว์จะต้องใช้เวลากินนอน ในป่าเขาเป็นเวลานาน คราวละหลายสัปดาห์ เป็นเดือนก็มี  มีครั้งหนึ่งคณะของพรานติ่ง ได้หลงทาง ที่จะกลับลงมาข้างล่าง เดินวนเวียนไปมายังยอดเขาแห่งนั้น

           จนมาถึงลานหิน และได้พากันนั่งพักเหนื่อย และพูดคุยกันเรื่องต่าง ๆ ยังลานหินแห่งนั้น ซึ่งเป็นแอ่งกะทะขนาดหย่อม ๆ มีหญ้าขึ้นปกคลุม ไปทั่ว ขณะนั่งพัก พรานคนหนึ่ง เอามือเท้าไปข้างหลังพักเหนื่อย ปรากฎว่า มือไปโดนสะดุดอะไรเข้าสักอย่าง จึงได้ ตรวจดู ปรากฏว่า เป็นแหวนนาค และเอามาให้กับคณะที่ล้อมวงคุยกันนั้น ทางหัวหน้าพรานคือ พรานติ่ง จึงก็เอ้ะใจว่า บนยอดเขานี้ มีใคร เอาของมีค่าขึ้นมาซ่อนไว้  จึงได้ช่วยกัน รื้อถอนหญ้า ออกยังบริเวณที่พากันนั่ง เพื่อค้าหาสมบัติอื่น ที่คาดว่าอาจจะมีหลงเหลืออยู่  แต่ก็ไม่พบ  และกลับพบว่า สถานที่พากันนั่งนั้น หลังจากถอนหญ้า ออกหมดเพื่อหาของมีค่า กลับพบรอยเท้าประหลาดขนาดใหญ่ แทนด้วยความกลัว จึงพากันก้มกราบ ด้วยเชื่อกันว่าคงเป็นรอยเท้าของผู้มีฤทธิ์เดช  จึงขอขมากัน แล้วก็พากันกลับลงที่พักได้อย่างน่าอัศจรรย์
                  ต่อมาหลายปี คณะของพรานติ่งได้บวชลูกหลาน ได้พากันไปฝากที่วัดพลับ  ซึ่งอยู่ในตัวเมือง  ซึ่งต้องเดินทาง ไปยังวัดใช้เวลานาน ถึง 2-3 วันกว่าจะถึง ซึ่งที่วัดมีงานประจำปี พอดีมีการจัดฉลองและ ปิดรอยเท้าพุทธบาทจำลอง  ซึ่ง พรานติ่งเมื่อเห็นรอยพระบาทจำลอง  จึงได้เล่าให้คนที่อยู่ดูแล รอยพระบาทจำลองนั้นว่า รอยเท้าแบบนี้ ตนเองเคยเห็นบนยอดเขาสูง  จากนั้น ทางวัดได้นำ พรานติ่งมาพบกับ หลวงพ่อเจ้าอาวาส คือหลวงพ่อเพชร เพื่อเล่ารายละเอียดถึงริยเท้าที่พบมา จนกระทั่งหลวงพ่อเพชร และคณะพรานติ่ง ได้พากันไปพิสูจน์ รอยเท้าว่าเป็นจริงอย่าง ที่ว่ามาหรือไม่  เมื่อพากันไปถึงยังจุดที่คณะพรานติ่ง พบรอยเท้านั้น
              หลวงพ่อเพชร ถึงกับอุทานว่า  เป็นบุญลาภของชาวจันทร์ ที่ได้มีสิ่งอันล้ำค่าอย่างนี้ จากนั้นพากันกราบไหว้ บูชาสวดมนต์และพักกันยังที่นั้น จนได้ลงมาเพื่อปรึกษาว่า จะมีการทำพิธีสักการะรอยพระบาท ให้เป็นประเพณีสืบไป จากนั้นหลวงพ่อเพชร จึงเป็นผู้นำประเพณีไหว้รอยพระพุทธบาทเกิดขึ้น โดยจะนำพาคณะลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ขึ้นมากราบสักการะนมัสการ ทุกปีๆ ละครั้ง
               มาถึง ปี พศ.2510 ทางคณะสงฆ์มอบหมายให้ พระครูพุทธบทบริบาล หรือหลวงพ่อนัง อดีตเจ้าอาวาสวัดพลวง ขณะนั้น เป็นผู้ดูแล ประเพณีขึ้นเขาสักการะรอยพุทธบาท  ซึ่งการเดินทางขึ้นงลง เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะการเดินทางไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันนี้ โดยมีการ เปิดงานนมัสการรอยพุทธบาท เพียงแค่ 7 วัน 7 คืนเท่านั้น และท่านก็ได้มอบหมายให้หลวงพ่อหลายองค์ ช่วยกันจัดงานประเพณี ขึ้นเขาสักการะรอยพุทธบาท 
               แต่ก็ หลายท่านทำไม่ไหว ทางหลวงพ่อนัง จึงได้ ร่วมกับพระเถระหลายวัด ให้ช่วยกันสืบสานรักษาประเพณีนี้ไว้  โดยให้ร่วมกันบริหารในรูปของคณะสงฆ์ โดยมีรายชื่อ สมัยแรกๆ ดำเนินการดังนี้  1.พระครูพุทธบทบริบาล ( ท่านพ่อนัง  ) เป็นประธานที่ปรึกษา
2.พระครูธรรมสรคุณ ( ท่านพ่อเขียน ) ประธานดำเนินงาน
3.พระครูโกศลธรรมรัตน์ ( ท่านพ่อแหย๋ม )  กรรมการ
4.พระครูเกษมธรรมาภิราม ( ท่านพ่อเนียน )  กรรมการ
5.พระครูประดิษฐ์ ศาสนการ (ท่านพ่อนง ) กรรมการ
              เมื่อทางคณะสงฆ์ได้มอบหมายให้ทำงานเป็นคณะเพื่อสืบสานดูแลประเพณี ขึ้นเขาสักการะลอยพุทธบาท จึงได้เริ่มมีผู้คนหลั่งไหลมากมายขึ้นอย่างเช่นทุกวันนี้ ก็ด้วยมุมานะ อดทนของหลวงพ่อเขียน ได้ทำให้เจริญขึ้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงได้ขอเอามากล่าวบันทึกไว้เป็นที่มาที่ไปด้วยในครั้งนี้
      เมื่อเราเดินทางขึ้นไปยังจุดบนสุดของยอดเขา ซึ่งจะมีจุดต่าง ๆให้เราได้กราบไหว้ขอพร ตามที่ผู้เขียนพบ คือ เมื่อเราขึ้นมายังด้านบน จุดรถที่เราต้องเปลี่ยนจุดแรก คือ จะมีที่ไหว้เจดีย์กลางแจ้ง และไหว้เจ้าแม่กวนอิม  พระพรหม พระพิฆเณศวร แม่โพสพ และ บาตรแห่งโชคลาภ
            ก่อนที่เราจะมาถึงจุดหมายที่ 2 บนสุดแล้ว เราจะต้องผ่านด่านจุดแรก ที่ต่าง ๆ ซึ่งมีจุดที่ให้เราได้ไหว้พระตามรายทางต่างๆ   ตลอดทางขึ้นมา  คือ มีจุดไหว้พระสิวลี พระแม่ธรณีบีบหมวยผม จุดที่ตั้งท้าวเวสสุวรรณ  ท้าวพิเภก  และก็จุดพักขึ้นประตูสวรรค์ มีจุดไหว้พระป่าเรไร ไหว้พระพหรม และเคาะระฆัง                       ด้านบนนี้ หลังต่อรอคิว เพื่อนมัสการรอยพระบาท ซึ่งลานลอยพุทธบาทนี้ด้านบนจะเป็นรอยพุทธบาทที่หมายที่หลายคน เฝ้าคอยมากราบไหว้ที่แห่งนี้ โดยเป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร  หากเรามองจากด้านนอกจะเห็นหินก้อนใหญ่ตั้งเด่นตระหง่าน ด้านหน้าก้อนหิน จะมีกรอบสี่เหลี่ยม นั้นคือรอยพระพุทธบาท เบื้องขวาของพระพุทธเจ้า
                 ปลายพระบาท อยู่ทางด้านลาดต่ำ  รอบสถานที่รอยพระบาทปรากฏ ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เราได้เข้าไปกราบเป็นที่เรียบร้อย  ซึ่งมีผู้คนหลั่งไหลแออัดยัดเยียดกันมาก ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอย กันเป็นแถว ๆ เพื่อให้ผู้มาแสวงบุญ ได้เข้าไปสักการะยังรอยพุทธบาทได้เท่าเทียมกันทุกคน   หลังจากที่เราได้คิวเข้าสักการะรอยพระพุทธบาท เสร็จแล้ว
จึงได้พากันออกมา เพื่อจะขึ้นไปต่อยังจุดผ้าแดง ที่นี่ จะให้เขียนชื่อสกุล แล้วอธิษฐานตามใจปรารถนา หนึ่งครั้ง ต่อหนึ่งปี ต่อหนึ่งพร ที่เขาบอกว่า ขอแล้วจะสมหวังดังใจต้องการ ก็รอไปพิสูจน์กันดูครับ
 



                                                 @@@@@@@@@@@@@@@@@@




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น