26 ต.ค. 2562

พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลอิสาน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

ตามร่องรอยความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา ที่พระธาตุนาดูน

โดย.ณ วงเดือน

                    ได้มีโอกาศได้เดินทางผ่านไป ที่ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ตามทางหลวงหมายเลข 2040 ผ่าน อ.แกดำ  อ.วาปีปทุม  แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 เข้าอำเภอนาดูน 
ด้วยความตั้งใจ ที่จะมายังที่นี่โดยเฉพาะ  คือได้พบและได้สักการะ พระธาตุนาดูนสักครั้งในชีวิต
       ที่ตั้งพระธาตุนาดูน เคยเจริญรุ่งเรืองมากในครั้งอดีต ที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ของภาคอิสานอีกแห่ง เรียกว่า เป็น พุทธมณฑลอีสาน ก็ว่าได้ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 902 ไร่เลยทีเดียวโดยรอบของพื้นที่ มีพิพิธภัณฑ์ ทางศาสนาและ วัฒนธรรม ตลอด จนสวนสมุนไพรและ สวนรุกขชาติ ที่ร่มรื่น เย็นสบายเงียบสงบพอสมควร
  ทางผู้เขียนจึงขอสืบนำความเป็นมา ของพระธาตุนาดูน ถึงความเป็นมา อย่างไรได้เป็นข่อมูลความรู้ไว้ ว่าครั้งหนึ่งเคยได้มายังที่แห่งนี้
   ตามที่ได้มีการบันทึกไว้ทางหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีต  ว่าที่นี่ เคยเป็นที่ตั้งของ นครจำปาศรี มาก่อน โดยขุดพบวัตถุโบราณต่าง ๆ ที่สำคัญ คือพบสถูปบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ในตลับทองคำ เงิน และสำริด  มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15  สมัยทวาราวดี โดยพระธาตุนาดูน เคยมีความเจริญรุ่งเรือง มา 2 ยุค  คือ  1.ยุคทวาราวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200 2.ยุค ลพบุรี ระหว่าง พศ.1600-1800
  เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522  ที่นาของนายทองดี  ราษฎรบ้านนาดูน  ได้ทำการขุดดินเพื่อทำเกษตรกรรม ได้ขุดค้นพบวัตถุโบราณหลายอย่าง และได้ตรวจพิสูจน์วัตถุโบราณที่ค้นพบมี

สถูปพระบรมสารีริกธาตุ ทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน ตัวสถูป แบ่งออกเป็นอีกสองส่วน คือตัวสถูป บรรจุ ขี้เถ้า เทียนดอกไม้ ในส่วนของคอสถูป บรรจุ เป็น 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน และผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบสำริด อีกชั้น ทุกผอบมีฝาปิดอย่างมิดมิด และในผอบทองคำ มีพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุ 1 องค์ เป็นเกล็ดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหัก  หล่อเลี้ยงด้วยน้ำมันจันทร์หอม
     ในส่วนของพระธาตุนาดูน นั้นได้จำลองแบบมาจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์  มีความกว้าง 35.70 x  35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด  50.50 เมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังรอบนอกพระธาตุส่วนใหญ่ ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 ฉาบปูนเรียบสีขาว ลวดลายบัว เสาบัวต่าง ๆ และจำลองพระเครื่องพิมพ์ ต่าง ๆ ที่ขุดพบได้นั้น มาตกแต่งตามฐานพระธาตุ จำนวน 32 องค์  และแกะสลักรูปมารแบกปูนปั้น ที่ฐานล่างอีก 40 ตัว องค์พระธาตุ แบ่งเป็นชั้น ๆ 16 ชั้น  คือ ชั้นที่ 1 เป็นฐานมีลักษณะกลม มีทางเดินโดยรอบ  ส่วนชั้นที่ 16  ถึงยอดปลี ชั้นลูกแก้ว  และชั้นฉัตร ส่วนยอดฉัตร บุด้วยโมเสกแก้วสีทอง
    ในทุกปี จะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุนาดูนขึ้น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา มีจัดกิจกรรม เวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ก็ถือเป็นความภูมิใจที่ ในชีวิตครั้งหนึ่งนี้ได้มาเยือนแหล่งอารยธรรมพุทธศาสนา ที่มีอายุหลายพันปี ที่พระธาตุนาดูนแห่งนี้  จึงขอนำข้อมูล ที่รับรู้มา ลงบันทึกไว้เป็นความรู้ของผู้เขียนในที่นี้สืบไป.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น