24 ต.ค. 2562

วัดพระเหลาเทพนิมิต อ.พนา จ.อุบลฯ

พระพุทธรูปงดงามดั่งเทพนิมิตไว้ พระคู่เมืองพนา จ.อำนาจเจริญ

โดย.ณ  วงเดือน


          ที่วัดศรีโพธิชยารามคามวดี คือวัดที่ตั้งอยู่ในอำเภอพนา เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นวัดพัฒนามีความสวยงามมาก ตลอดทั้งวัดนี้ ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ชื่อว่า "พระเหลาเทพนิมิต "  ด้วยความบังเอิญและมีวาสนา ที่ได้มีโอกาศได้เข้าไปกราบไหว้ขอพร และชมบารมีความงดงาม ทั้งอุโบสถและ องค์พระพุทธรูป ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่ได้ไปเยือนและ ชมความงดงามของวัดแห่งนี้
   ทางผู้เขียนเคยเดินทางและผ่านยังอำเภอพนา นี้มาเมื่อกว่าจะ 20 ปีมาแล้ว แต่ไม่เคยมีโอกาศ ได้เข้าชมและกราบไหว้เลยสักครั้ง คงด้วยบุญบารมียังไม่ถึง จึงได้แค่ผ่านแล้วก็เลยไป จนกว่า 20 ปีคืนหลัง ถึงได้มีวาสนาได้เข้าไปกราบไหว้ ชมความงามและกราบไหว้เสริมบารมี เสริมโชคลาภชะตาให้สูงขึ้น และได้มีโอกาศ เขียนบันทึกเรื่องราวไว้เป็นความรู้และได้อยู่ในความทรงจำต่อไปตราบเท่านาน   วัดพระเหลา ที่ด้านหน้าของอุโบสถ มีป้ายหินอ่อนสลักความเป็นมา ของวัดนี้คร่าว ๆ ดังนี้

      พระครูธิ ภิกษุแก้ว ภิกษุอิน สร้างวัดขึ้นใน พศ.2254 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เดิมชื่อวัด" ศรีโพธิ์ชยารามคามวดี" ริมบึงใหญ่กุดพระเหลา เป็นแดนอภัยสัตว์ เพาะพันธุ์ปลาธรรมชาติ ออกแพร่พันธุ์ ทั่วท้องเมืองพนา และบ้านใกล้เคียง ได้สร้างโบสถ์และพระประธานใน ปี พศ.2263 ฐานและผนังก่อด้วยอิฐถือปูน เสาไม้เนื้อแข็ง กลม หลังคามุงด้วยกระดานไม้
              ปัจจุบันก่อด้วยอิฐถือปูน หน้าบันลายเถา ตรงกลางราหูอมจันทร์ หนุมาน ประตู 3 ช่อง เป็นซุ้มคล้ายปราสาท ได้ซุ้มมีรูปพญานาค ขนาด 9.80 x 15.5 เมตร พระครูธิเจ้าอาวาสให้ภิกษุแก้ว ภิกษุอิน สร้างพระประธาน พระซาพรหม เป็นผู้ขัดเกลาหล่อเหลาให้งดงามยิ่ง ชาวบ้านตั้งชื่อว่า "พระเหลา " ราว พศ.2441  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์  (  สิริจนฺโทจันทร์   ) จึงเสริมนามวัด และพระเหลาต่อท้ายว่า วัดพระเหลาเทพนิมิต และพระเหลาเทพนิมิต พระพุทธรูปปางมารวิชัย  ขนาดหน้าตักกว้าง 2.80 เมตร สูง 2.70 เมตร กรอด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ตรงกลางแท่นรูปนางธรณีรีดมวยผม  พุทธลักษณะตามแบบศิลปะลาว  สกุลช่างเวียงจันทร์  ใช้เวลาก่อสร้างโบสถ์และพระประธาน 13 ปี 7 เดือน 3 วัน สิ้นเงิน 5 ชั่ง 5 ตำลึง 2 ลาด
                      พระเหลาเทพนิมิต เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์  สวยงามคู่บ้านคู่เมืองพนา ลือเลื่องทั่วฟ้าปฐพี  อยู่ในใจของชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ประสบโชคเมื่อมาขอพร เป็นพระอยู่ในเส้นทางแสวงบุญ ท่องเที่ยวไทยเป็นประจำ มิได้ขาด งานประจำปีนมัสการพระเหลาเทพนิมิต  วันเพ็ญเดือนสาม พุทธศาสนิกชนทุกสารทิศ จะมาขอพรด้วยการบนบานสารกล่าว และแก้บนนมัสการองค์พระเหลาเทพนิมิต บำเพ็ญบุญเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตตลอดไป "    นี่เป็นคำจารึกบนแผ่นหินอ่อนสีดำ ไว้ด้านหน้า อุโบสถ เล่าถึงความเป็นมาของการก่อสร้างวัดแห่งนี้

  และในปี พศ.2515 อุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรม จึงได้เปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องแทน  หน้าบันไดด้านตะวันออก ทำด้วยไม้สลักลวดลายต่าง ๆ  ห้องกลางมีลายเถาว์ไม้เต็มห้อง  ตรงกลางเป็นราหูกลืนจันทร์  กล่าวกันว่า พระเหลาเป็นพระพุทธรูป ที่งดงามที่สุดในภาคอิสาณ  เวลาเข้าไปกราบท่านจะคล้าย กับว่าท่านจ้องมองยิ้มแย้มต้อนรับ กับผู้มาเยี่ยมเยือนทุกคน  เหมือนกับว่า ท่านถูกหล่อหลอมเหลามาด้วยมือ จึงได้งดงามยิ่งนัก  นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าลือว่า ทุกวันพระ 7 ค่ำ 8 ค่ำ 14และ 15 ค่ำ  องค์พระเหลาเทพนิมิต  จะมีลำแสงสีเขียวแกมขาว ลอยล่อง ออกมาจากอุโบสถในเวลา ยามดึกสงัด  และเชื่อกันว่า ใครก็ตาม ที่มาขอพร มักประสบความสำเร็จดั่งที่ตั้งใจไว้
สำหรับผู้เขียน ก็นำข้อมูล ตามที่ได้รับรู้มาและของทางวัด ที่ให้รายละเอียดไว้มาเล่าที่ตรงนี้ ไว้เป็นความรู้
   ซึ่งความงดงาม ทั้งโบสถ์ที่ประดิษฐานองค์พระเหลา ก็มีความสวยงาม ดั่งเทพวิมานสวรรค์ และโดยรอบ โบสถ์ มีใบเสมา ล้อมรอบ 24 ใบ  มีความสวยงามมาก เช่นเดียวกับองค์พระเหลา ที่มีความงดงาม อยากจะหาที่เปรียบใดๆ ในภาคอิสาณ  นอกจากนี้ข้างๆ กัน ยังมี ศาลาการเปรียญ หรือที่ชาวบ้านภาคอิสาณ เรียกว่า หอแจก  ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อ  พศ.2463  ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้ามาทางทิศตะวันออก อาคารก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนหมัก ฐานขันปากพานโบกคว่ำ โบกหงาย หลังคาทรงปั้นหยา หน้าจั่วปีกนก และสองข้างบรรไเ ทางขึ้น ตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปพญานก คาบนาค นอกจากนี้ยังมีตัวมอมลูกอ่อน ภายในศาลาโล่ง ความมีเสน่ของการก่อสร้างแบบสมัยสกุลช่างลาวเวียงจันทร์ โบราณยังสามารถมาดูความงดงามที่ยังหลงเหลืออยู่ ในสมัยปัจจุบันนี้ได้
                          นอกจากนี้ยังมีพระอุปคุต อยู่ด้านหน้าอีกองค์ ให้ผู้คนได้กราบขอโชคลาภกันอีกด้วย
บันทึกท่องเที่ยวขอ บันทึกไว้ในความทรงจำอีกวัดหนึ่งในความทรงจำตลอดไป..


@@@@@@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น