13 ต.ค. 2562

พระมงคลมิ่งเมือง จ.อำนาจเจริญ

พระใหญ่มงคลมิ่งเมือง พระคู่เมืองอำนาจเจริญ

โดย.ณ  วงเดือน

                    เมื่อกลางเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาศผ่านมา  ทางจังหวัดอำนาจเจริญ   อีกครั้งหนึ่ง จึงขอบันทึกจังหวัดนี้ไว้ในอนุทินบันทึกท่องเที่ยวของผู้เขียนไว้สืบไป จังหวัดอำนาจ ฯ  ตั้งอยู่ทางภาคอิสานตอนล่าง ของตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย     ซึ่งเมื่อก่อนขึ้นตรงกับจังหวัดอุบลราชธานี      มาแยกเป็นจังหวัด เมื่อวันที่  1 ธันวาคม  2536   พร้อมกันกับอีกหลายจังหวัดตั้งใหม่  เช่น  จ. หนองบัวลำภู  และ   จ.สระแก้ว                     จังหวัดอำนาจฯ มีพื้นที่ 3,161.248  ตร.กม. มีคำขวัญของจังหวัดว่า  " พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม "
                จังหวัดนี้เป็นอีกแห่งที่ทางผู้เขียนต้องเดินทางผ่าน ทุกครั้ง และไม่พลาดที่จะแวะ เข้ากราบสักการะ " พระมงคลมิ่งเมือง" พระคู่เมืองของจังหวัด ภายในพุทธอุทยาน เนื้อที่กว่า 100 ไร่  มีป่าไม้ร่มรื่นสวยขจี  เย็นเงียบสงบในวันธรรมดา ที่คนไม่พลุกพล่าน อีกทั้งสถานที่นี่ยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมทั้งเป็นที่พักผ่อนจิตใจ และเดินออกกำลังกายของชาวบ้านแถบนั้น
                         ก่อนเดินทาง เพื่อความสวัสดีมีชัยในการเดินทางแทบทุกครั้ง ที่ผ่านเส้นทางนี้ จึงขอบันทึกไว้เพื่อเป็นข้อมูลความรู้ ถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ประวัติการสร้างพระมงคลมิ่งเมือง เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 14 พย.  2506 แล้วเสร็จ เมื่อ 31 มีค. พ.ศ.พ.ศ.2508 และมีการนำพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย มาบรรจุไว้ภายในองค์ จัดทำพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่ 13 พค. 2508 ปีเดียวกัน  ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า หากมากราบไหว้ขอพรกันที่นี่เสมือนไปกราบไหว้ที่ ประเทศอินเดียเช่นกัน และมีความเชื่อว่า มาขอพรกราบไหว้จะทำให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า มีอำนาจวาสนาสูง  เพราะถือเป็นพระมงคลหลักชัยประจำจังหวัด
      พระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ก่อสร้างด้วยค    อนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดหน้าตักกว้าง 11 เมตร ประดับด้วยกระเบื้องโมเสกสีทองทั้งองค์  สูง 20 เมตร  ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการบริจาคสมทบทุนสร้าง ในครั้งนี้ โดยในทุก ๆ ปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันมาฆบูชา จะถือว่าเป็นบุญประเพณี นมัสการองค์พระก็ว่าได้

 นอกจากนี้ด้านหลังขององค์ใหญ่  ยังมีใบเสมาโบราณ  ครกหิน ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบรวมทั้ง พระพุทธรูปหินทรายแดง 2 องค์ ที่ขุดพบในคราวเดียวกัน  ศิลปะทวารวดี ซึ่งชาวบ้าน เรียกว่าพระขี้ฮ่าย  เรียกตามลักษณะขององค์พระที่เห็น เชื่อกันว่าทางหนองน้ำ ด้านทิศใต้ของพุทธอุทยานแห่งนี้ มีเทวดา ได้เฝ้ารักษาหนองแห่งนี้มานานนับพันปี เลยทีเดียว ซึ่งใครมาไหว้พระใหญ่ แล้วมักจะกล่าวคำขอพร ต่อเทวดานั้นด้วย  ซึ่งทางผู้เขียนมาทุกครั้งมัก ไม่พลาดที่จะแวะขอพร และเสี่ยงดวงจากแม่ค้าขายลอตเตอรี่ข้าง ๆ องค์พระใหญ่นั้น  เพื่อหายจนกับเขาสักที คาดว่าคงจะสำฤทธิ์ผล ในเร็ววันนี้ จึงนำข้อมูลของความเป็นมาของพระใหญ่ เพื่อบันทึกไว้เป็นความรู้ในบันทึกท่องเที่ยวของทางผู้เขียนไว้เป็นความรู้สืบต่อไป.....

@@@@@@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น