27 ต.ค. 2562

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อ.เมืองนครปฐม




ตามรอยกงล้อธรรมพระตถาคต ที่วัดปฐมเจดีย์

โดย..ณ  วงเดือน


             วันนี้ ทางผู้เขียน บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ขอนำเรื่ององค์พระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม ซึ่งทางผู้เขียนได้มีโอกาศ ได้ไปกราบสักการะอยู่เนือง ๆ จึงได้หาข้อมูลความรู้ จากแหล่งต่้าง ๆ เพื่อมาบันทึกไว้เป็นความรู้ในบันทึกท่องเที่ยวของทางผู้เขียนเอง เพื่อไว้ประดับความรู้และรู้แหล่งที่มาความเป็นไปของสถานที่นั้น ๆ ของผู้เขียนเองที่ได้ไปมา
     
        พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์  ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร    มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครปฐม   มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ด้วย
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช  ได้เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี  ที่รัฐมัธยมประเทศ อินเดีย
  แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2   ( ศิลาจารึกวัดศรีชุม )  ของพระมหาเถรศรีสรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด  
            พระปฐมเจดีย์ มีลักษณะเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำ (ปากผาย) โครงสร้างทำจากไม้ซุง รัดด้วยโซ่ขนาดใหญ่ ก่ออิฐ ฉาบปูน และปูประดับด้วยกระเบื้องสีเหลือง-แสด ชั้นล่างประกอบด้วยวิหารสี่ทิศ พร้อมด้วยกำแพงแก้วสองชั้น
                นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธานพระพุทธรูปศิลาขาว  ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทวารวดี    นอกจากนี้ยังมีพระร่วงโรจนฤทธิ์ มีชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย อีกทั้งบริเวณใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ยังบรรจุพระราชสรีรางคารในรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. 2396 ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร
    กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ แต่งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต
ใครที่มีโอกาศได้มา  ควรมากราบนมัสการ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน รวมถึง ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง และ พระศิลาขาว ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เมื่อมาพระปฐมเจดีย์ นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้นนอก หรือชั้นในก็ได้ให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนาดั่งสิ่งที่หวังไว้ ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาศมากราบไหว้หลายครั้งถือเป็นบุญบารมี
           องค์พระปฐมเจดีย์นี้   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ สร้างใหม่เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่

ซึ่งภายในองค์พระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ในทุกปี ทางวัดพระปฐมเจดีย์  จะมีการกำหนดจัดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ขึ้นในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี  ซึ่งใครมีโอกาศแวะเที่ยวชมสักกราะกราบไหว้กันได้ครับ เพื่อความเป็นสิริมงคลแต่ตัวเองและครอบครัว  บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ  จึงขอนำ เรียบเรียงบทความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์  เพื่อได้เป็นความรู้และทรงไว้ให้คงอยู่ต่อไป ของบันทึกผู้เขียนเองด้วย...



                           @@@@@@@@@@@


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น