13 มิ.ย. 2562

มากราบเจดีย์ชะเวดากอง กรุงย่างกุ้ง

เจดีย์ชะเวดากองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนพม่านับถือกันเท่าชีวิต

โดย..ณ  วงเดือน



    

            ครั้งหนึ่งเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาศได้เดินทางไปยัง  กรุงย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงเก่าของเมียนมาร์ ในปัจจุบันนี้  ด้วยความตั้งใจที่จะไปกราบสักการะเจดีย์ชะเวดากอง   ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั่วโลก ที่หากมีโอกาศ ก็จะมาเยือนกราบไหว้ ดูชมความงามและเสริมชะตาบารมี ชีวิตของตัวเอง 

  
 เจดีย์ชะเวดากอง  ตั้งอยู่ที่  บริเวณที่  เรียกกันว่า เนินเขาเชียงกุตระ  โดยคำว่า ชะเว หมายถึง ทอง ดากอง คือชื่อเมืองเก่าของย่างกุ้ง  เจดีย์แห่งนี้ เชื่อกันว่าเป็นที่ บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคดมพุทธเจ้า จำนวน 8  เส้น  โดยไว้บนส่วนยอดสุด ของเจดีย์ ฐานของเจดีย์ทำจากอิฐปกคลุมด้วยแผ่นทอง ด้านบนเป็นฐานเจดีย์ลาดแบบขั้นบันไดมีเพียงพระภิกษุและผู้ชายเท่านั้นที่สามารถขึ้นได้ ถัดไปด้านบนเป็นส่วนองค์ระฆังรัดอกคาดองค์ระฆังบาตรคว่ำบัวคอเสื้อลวดลายดอกไม้ห้อยปล้องไฉนกลีบบัวคว่ำแถบกลมกลีบบัวหงายปลียอดฉัตรธงใบพัด และลูกแก้วโดยรอบ ๆ ลูกแก้วที่บรรจุเกศาธาตุนั้น ประดับด้วยเพชรพลอยอัญมณี หรือเพชรหยาดน้ำค้าง ประกอบด้วยเพชร 5,448เม็ดและทับทิมจำนวน   2,317 เม็ด 
โดยในส่วนที่ปลายบนสุดนั้น  เป็นเพชรปลายแหลมหนัก 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกของพระอาทิตย์ และแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ตกซึ่งผู้จะเข้าไปกราบยังพระเจดีย์นี้ จะต้องถอดรองเท้าเข้าไป  แผ่นทองที่ใช้ปิดโครงสร้างอิฐถูกยึดด้วยหมุดแบบดั้งเดิม ประชาชนทั่วประเทศได้บริจาคเงินทองเพื่อบูรณะเจดีย์ การปฏิบัติยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้หลังจากพระนางเซงสอบู ได้บริจาคทองคำเท่าน้ำหนักของพระองค์ในการบูรณะเจดีย์    


โดยเรามาถึงช่วงเย็นของวันแรกของการเดินทางที่มาถึงที่นี่ และเดินรอบชมบริเวณโดยรอบ ของด้านหน้าด้านข้าง ของเจดีย์ เกือบ 18.00น.เราจึงได้พากัน ขึ้นมาสู่ด้านบน ของเจดีย์ ซึ่ง ที่นี่จะมีการตรวจความเรียบร้อยของผู้คนที่จะเข้ามายังด้านบนของ องค์เจดีย์ ผ่านจุดตรวจ x-ray  เรียบร้อย ถึงจะขึ้นไปสู่ด้านบนอีกชั้น ซึ่งที่นี่ จะต้องเสียบัตร เข้าชม คนละ 10,000 จ้าต หลังเราชำระ บัตรเป็นที่เรียบร้อยถึงจะเข้าไปด้านในรอบ ๆ บริเวณเจดีย์ได้ คนที่สวมใส่ขาสั้นต้อง ใส่ผ้าถุงที่เจ้าหน้าที่มีไว้แล้ว โดยจะต้องเสียค่าเช่าชุด ผ้านุ่งโสร่งอีกที จึงจะอนุญาติให้เข้าไป เรา เดินเจ้าไปกราบพระด้านหน้าเสร็จ แล้วจึง เดินหามุมถ่ายรูป ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนทั้ง ชาวพม่า ไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวนมากที่ขึ้นมาชมความงาม
  เจดีย์ชะเวดากองตามตำนานกล่าวว่า  สร้างขึ้นมากว่า 2,500 กว่าปีมาแล้ว นักโบราณคดีเชื่อกันว่า สร้างมาแต่ คริสต์ศตวรรษที่  6-10  โดยชาวมอญ 2 พี่น้อง ชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ  ซึ่งได้สร้างขึ้นที่เนินเขาเชียงกุตระ  ซึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงได้ประทาน พระเกศา คือเส้นผมของพระพุทธองค์ ให้พ่อค้าทั้ง 2 มาจำนวน 8 เส้น เมื่อได้เดินทางกลับมาถึงยังที่ดังกล่าว ได้รับความช่วยเหลือ จากพระราชา ชื่อ โอกะละปา ในการสร้างพระเจดีย์ ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระเกศาธาตุ บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ แห่งนี้นั้นเอง

   เจดีย์ได้ทรุดโทรดถูกทิ้งร้าง จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระยาอู่ ได้ทรงบูรณะเจดีย์ ขึ้นอีก มีความสูง 18 เมตร  และต่อมาอีก พระนางเชงสอบู ได้มีความศรัทธาเลื่อมใส ได้บูรณะเสริมเจดีย์ ให้มีความสูงขึ้นไปอีก ถึง 40 เมตร และทำการปรับเนินที่ตั้งของเจดีย์ ให้เป็นฐานลาด เป็นชั้น ๆ  แบบขั้นบรรได 
มีบันไดทางขึ้นไปยังลานเนินเขาสิงคุตระ ทั้งสี่ทิศทาง ในแต่ละทางขึ้นมีรูปปั้นคล้ายสิงโตมีชื่อเรียกว่าชินเต ประดับไว้เป็นคู่หน้าทางขึ้นเพื่อปกปักรักษาองค์เจดีย์ตามความเชื่อ ทางทิศตะวันออกและทางใต้มีร้านขายธูปเทียน ทองคำเปลว หนังสือ และวัตถุมงคลต่าง ๆ     
          โดยทางผู้เขียน   วงเดือน   และผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชม  เมื่อขึ้นไปยังด้านบนสุดแล้ว มักนิยมเดินตามเข็มนาฬิกาวนรอบเจดีย์ เริ่มต้นที่ศาลทางทิศตะวันออกซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูป กกุกสันโท พระพุทธเจ้าพระองค์แรกในภัทรกัปนี้  ถัดไปเป็นศาลทางทิศใต้ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปโกนาคมโน  พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง  ในภัทรกัปนี้ ถัดไปศาลทางทิศตะวันตกเป็นศาลของ พระกัสสป พระพุทธเจ้าองค์ที่สามในภัทรกัปนี้ สุดท้ายศาลทางทิศเหนือเป็นศาลของพระโคตม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ทางผู้เขียนได้เข้ากราบองค์พระเจดีย์ ด้วยความสุขปลื้มปิติแห่งใจเป็นที่สุด ที่ได้มีโอกาศได้เข้ามาเที่ยวชมและกราบไหว้ถึงถิ่น ที่เป็นที่ตั้งประดิษฐานของพระเกศา ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ครั้งยังพระชนชีพอยู่ ที่ได้มอบให้กับพ่อค้า 2 พี่น้องชาวพม่า ที่เดินทางไปค้าขายยังชมภูทวีป ในครั้งที่  พระองค์ตรัสรู้ใหม่ และดำรงอยู่มาถึงทุกวันนี้    


  ส่วนใครที่อยากเดินทางไปยังกรุงย่างกุ้ง พม่า สามารถเดินทางไปได้แบบ เช้าไป เย็นกลับได้ ซึ่งทุกวันนี้ มีหลายสายการบินที่มุ่งหน้าสู่กรุงย่างกุ้ง ในราคาไม่แพง  เหมาะกับนักท่องเที่ยวและนักแสวงบุญทุกท่านที่อยากไปสร้างเสริมสะนสมบุญบารมีลองไปกันดูสักครั้งหนึ่งในชีวิต ที่เรานั้นจะหาโอกาศไปได้ยาก ยกเว้นผู้มีบารมีแรงกล้าและตั้งใจมั่นจริง ๆ ที่จะไปลองดูกันครับ..


@@@@@@@@@@

พระธาตุอินแขวน หรือไจ้ก์ทิโย หมายถึง หินรูปหัวฤๅษี

 

มหัศจรรย์ก้อนหินศูนย์รวมจิตใจของคนทั่วไป

                 ------------
          โดย..ณ  วงเดือน


         ผมได้มีโอกาศมาเยือนที่พระธาตุอินแขวนถือว่าเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของชีวิตที่ได้มาเยือนสถานที่แห่งนี้ เพราะหากไม่มีวาสนาความตั้งใจจริง ๆ แล้วไม่มีทางได้มาถึงแน
   จากเมืองย่างกุ้ง มาที่แห่งนี้รวมระยะทางกว่า 200  กม.ใช้เวลาเดินทาง 3-4 ชม. เลยทีเดียว   พระธาตุอินทร์แขวนตั้งอยู่ที่เมืองไจ๊โถ่   (Kyaikto)   อ. สะเทิม  เขตของ รัฐมอญ และ อ.ชะเวจีน จ.พะโคะ  ของประเทศพม่า   เราใช้การเดินทางมาด้วยรถตู้ ซึ่งใช้เวลาพอสมควร  เพื่อมายัง  คีนพันแบสแคม  (  KinpunBaseCamp )  ซึ่งเป็นจุดที่ทุกที่ต้องมารวมจุดนี้ เพื่อต่อรถขึ้นไปยังพระธาตุอินแขวนอีกที เราพร้อมคณะกว่า 11 ชีวิตในสภาพสบักสบอมกับการเดินทาง เมื่อลงรถแล้ว ต้องมารอ ต่อคิวเพื่อขึ้นรถโดยสาร ของทางเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปล่อยรถขึ้นลงแต่ละเที่ยวจนกว่าจะเต็มถึงจะออกรถได้  โดยมีแถวม้านั่งยาวเป็นท่อนเดียวกัน มาตรฐานคือ ช่วงละ 6 คนหรืออาจจะเลยก็ได้แต่จะแน่นไปนิด ค่ารถโดยสารเก็บต่อคน ต่อเที่ยวไปกลับในราคา ครั้งละ 2,000 จ๊าต เมื่อรถเต็ม ถึงจะพายังไปจุดหมายด้านบนดอยต่อไป เรามาดูตำนานกันคร่าว ๆ 
   ความเป็นมาของหินก้อนนี้ ตามตำนานกล่าวไว้ดังนี้ หินก้อนนี้ ได้ชื่อว่าพระธาตุอินแขวน  หรือว่า พระธาตุไจที่โย่  เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า ตั้งอยู่บริเวณหน้าผาสูงชันบนยอดเขาไจที่โย่อย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมา ตามตำนานระบุว่า 

เมื่อฤๅษีติสสะได้รับพระเกศาจากพระพุทธเจ้า และมัดซ่อนไว้ในจุกผมเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางกลับเพื่อถวายกษัตริย์ ด้วยความปรารถนาที่จะประดิษฐานพระเกศาไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างเหมือนศีรษะของฤๅษี กษัตริย์มีพระมารดาเป็นธิดาของพญานาค พบหินที่ด้านล่างของทะเล และได้รับความช่วยเหลือจากพระอินทร์ในการหาสถานที่วางหินเพื่อสร้างพระเจดีย์ เรือที่ใช้ในการขนส่งก้อนหินกลายเป็นหิน และเป็นที่เคารพบูชาโดยผู้จาริกแสวงบุญ โดยอยู่ห่างจากพระธาตุไจที่โย่ประมาณ 300 เมตร (980 ฟุต) รู้จักกันในชื่อ พระเจดีย์เจาะตานบาน (Kyaukthanban  )
     พระธาตุไจที่โย่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเทศกาลจาริกแสวงบุญช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม บรรยากาศของความศรัทธาจะเห็นได้ทั่วบริเวณพระธาตุ ขณะที่พระธาตุส่องประกายระยิบระยับในเฉดสีที่แตกต่างจากรุ่งอรุณถึงค่ำ  การสวดมนต์ของผู้แสวงบุญจะดังขึ้นในบริเวณพระวิหาร แสงเทียนและการทำสมาธิถวายเป็นพุทธบูชามีต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ผู้ชายสามารถที่จะเดินเข้าไป
เพื่อปิดทองบนองค์พระธาตุได้ อย่างไรก็ตามผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไป  ส่วนในวันธรรมดานั้น ประตูจะปิด  ไม่ให้เข้าไปยังก้อนหินเพื่อปิดทองแต่อย่างใด  ผู้จะปิดทองได้แค่จุดธูปบูชา ยังบริเวณรอบนอกเท่านั้น  
       ในวันที่ผู้เขียนเดินทางเพื่อไปสักการะพระธาตุอินแขวนนั้นสายฝนก็โปรยปราย ตกตลอดทางตั้งแต่ จุดพักเพื่อเปลี่ยนรถ ขึ้นไปยังด้านบน เมื่อผู้โดยสารรวมผู้เขียนขึ้นรถไปแล้วยังรถบรรทุกขนาดกลางที่ดัดแปลงเป็นรถโดยสาร   ก็ได้พาปีนป่าย ขึ้นสู่ยอดเขา   เป็นที่หวาดเสียวพอสมควร เพราะตลอดสองข้างทางนั้นเป็นหุบเหวลึก ในใจลึก ๆ ก็กลัวว่า รถจะลื่นไถล เพราะฝนตกตลอด อาจจะทำให้รถลื่นหรือเบลกไม่อยู่ ตกลงไปในหุบเหวลึกได้ แต่คนขับ ก็มีสามารถมาก นำพารถโดยสารบรรทุกผู้คนเต็มคันรถ ขึ้นมายังจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย  เมื่อเราขึ้นมาถึงยังจุดหมายด้านบน เราจะต้องผ่านจุดซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปด้านในอีกคนละ 10,000 จ๊าต หรือคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 200 บาท หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้บัตรสายห้อยคอ  ติดตัวขึ้นไป ส่วนใครที่ ใส่กางเกงขาสั้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว จะต้องผ่านจุดตรวจอีกรอบ เพื่อให้ใส่ผ้าโสร่ง เพื่อความเป็นระเบียบและให้การเคารพต่อสถานที่นั้น จ่ายค่าผ้านุ่งอีก 1000 จ๊าต  
   สายฝนก็ยังโปรยปรายลงมาไม่หยุดตั้งแต่นั่งรถจนขึ้นมาสู่ด้านบน หมอกสีขาวทอดยาว มองแทบไม่เห็น เราพากันเดินแบบสบาย ๆ ท่ามกลางสายฝนลงมาบาง ๆ นึกในใจว่า ไม่รู้เราจะสามารถถ่ายรูปขององค์พนะเจดีย์ได้หรือไม่เพราะทั้งสายฝนและ หมอกสลัวขาวโพลนไปทั่วทั้งยอดดอย  เราเดินผ่านลานกว้าง เพื่อมุ่งหน้ามาสู่ยังบริเวณที่ตั้งของพระธาตุอินแขวน เป็นที่น่าอัศจรรย์ ที่สายฝนและสายหมอกพลันอันตธานหายไปหมดสิ้นทันที  เราก็นึก " งง ๆ  "  ว่าแปลกดีที่เห็นแบบนี้ สักพักแสงแดดสาดส่องไสวทั่วบริเวณ ที่ตั้งของพระธาตุอินแขวนกระทบกับก้อนหิน ที่ห้อยอยู่บนหน้าผา แสงแวววาวส่องแสงสีทองสว่างไสว สวยงามเป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่ง 
     เราลงไปยังบริเวณด่านล่างของ ชะง้อนหิน ซึ่งทำเป็นลานกว้างพอสมควร เป็นที่สักการะบูชา เมื่อกราบไหว้เสร็จเรียบร้อย เราเดินถ่ายรูปรอบ ๆ บริเวณ ทั้งภาพนิ่งและวิดิโอ ใช้เวลาอยู่เกือบ 20 นาที ที่แสงแดด ส่องสว่างให้เราได้กราบไหว้ขอพร และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันแล้ว พลันแสงแดดที่เจิดจ้า ก็หายไปทันที ไม่นานสายลมก็พัดมาพร้อมกับละอองฝน โปรยปรายพอเป็นน้ำพุทธมนต์ คงเป็นเสมือนว่า เรามาไกลเพื่อตั้งใจมากราบไหว้โดยเฉพาะนั้นเอง จึงได้เห็นปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้นให้เราได้เจอ 
  เมื่อเราออกมาพ้นเขตลานบริเวณของที่ตั้ง พระธาตุอินแขวนแล้วนั้น สายฝนก็กระหน่ำลงมาอย่างหนักเปียกปอนไปตาม ๆ กัน ถือเป็นความประทับใจที่ครั้งหนึ่งได้มาเยือนกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่น้อยคนนัก ที่จะมาถึงได้หากไม่มีความตั้งใจจริง ๆ ที่จะมาเพราะการเดินทางขึ้นมาก็แสนลำบากพอสมควร กับการขึ้นมายังสู่ยอดดอยแห่งนี้  จึงขอบันทึกไว้เป็นความทรงจำดี ๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวในครั้งนี้..
 


2 มิ.ย. 2562

หลวงปู่สรวง วัดไพรพํฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีษะเกษ

 


หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน

วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีษะเกษ

             --------------
โดย..ณ  วงเดือน

หลวงปู่ผู้เป็นที่พึ่งทางใจของสองแผ่นดิน ทั้งไทยและเขมรหลวงปูสรวงเทวดาเล่นดินที่หลายคนรู้จักวันนี้ตั้งใจจะเขียนเรื่องของหลวงปู่สรวง  เทวดาเล่นดินมานานแล้ว เพราะได้มีโอกาศเดินทางมากราบสักการะสังขารของหลวงปู่ ถึงสองครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงขอนำความเป็นมาของวัดนี้ดังต่อไปตามข้อมูลของทางวัดว่า

           วัดไพรพัฒนา เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีประชาชนได้อพยพถิ่นฐาน มาจากอำเภอไพรบึง มาอยู่รวมกัน และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ไพรบึงน้อย” ซึ่งในขณะนั้นได้เกิดความไม่สงบโดยมีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก่อความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้ราษฎรในหมู่บ้านได้แยกย้ายกันไปอยู่ต่างถิ่น แต่ยังคงเหลือราษฎรในหมู่บ้านไพรบึงน้อย ต่อมารัฐบาลได้มีนโยบายให้ประชาชนย้ายเข้ามาอยู่ตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการรุกรานและก่อความไม่สงบของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ จึงได้มีการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรอยู่


อาศัย และตั้งชื่อบ้านว่า “ไพรพัฒนา” โดยมีนายพิน บุญเยี่ยม ผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้น ได้ปรึกษาพระสงฆ์และคณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ไพรพัฒนาขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ หลวงพ่อพุฒ วายาโมได้มาจำพรรษาอยู่จึงดำเนินการขอจัดตั้งวัด จนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการจัดตั้งวัดเสร็จเรียบร้อย พร้อมทั้งได้มีการแต่งตั้งหลวงพ่อพุฒ วายาโม เป็นเจ้าอาวาสวัด และได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนาม “พระครูโกศลสิกขกิจ” และได้มีการพัฒนาวัดหลายอย่าง อาทิเช่น ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาทม กุฏิหลวงปู่สรวง ประตูและป้ายชื่อวัดกุฏิเรือนรับรอง มณฑปปราสาทหลวงปู่สรวง และศาลาการเปรียญ 
วัดไพรพัฒนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๘หมู่ที่ ๓ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพระครูโกศลสิกขกิจ หรือหลวงพ่อพุฒ วายาโม เป็นเจ้าอาวาสวัด มีพระสงฆ์สามเณรในสังกัด ๒๐ รูป และวัดไพรพัฒนายังขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานบรรจุไว้ ณ มณฑปปราสาทหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา และเป็นสถานที่ตั้งสรีระสังขารของหลวงปู่สรวง ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ และประชาชนทั่วไป ได้มาเคารพกราบไหว้ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั่วไป..
ส่วนประวัติของหลวงปู่นั้น ดังนี้
หลวงปู่สรวงที่เรารู้จักกันในนามนี้ในปัจจุบันนั้น เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านในท้องถิ่นอำเภอ ขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ที่มีภูมิลำเนาอยู่แถบชายแดน ตามเชิงเขาพนมดงรัก(พนมดองแร็ก) ซึ่งเป็นแนวเขตแดนระหว่าง กัมพูชากับประเทศไทย มักจะเห็นท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรม พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้าน โคกและเวียน ไปที่นั่นที่นี่บ้างนานๆ จะกลับมาเห็นในที่เดิมอีก ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านในฐานะผู้มีคุณวิเศษ เหนือคนทั่วไปและเรียกขานว่า “ลูกเอ็าวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบส ที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำเขาลำเนาไพร) ในสมัยนั้นยังมีป่าพรรณไม้อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาพันธุ์ ได้มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย และตลอดจนถึงประเทศเขมร แต่ก็อยู่กับหลวงปู่ได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหวหลวงปู่จึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ตามลำพังเป็นส่วนมาก  ไม่มีใครทราบถิ่นกำเนิดและอายุของหลวงปู่ที่แท้จริง ได้รู้แต่ว่าหลวงปู่เป็นชาวเขมรต่ำ ได้เข้ามาในประเทศไทยนานแล้วคนแก่คนเฒ่า ผู้สูงอายุที่เคยเห็นท่านเล่าบอกว่า ตั้งแต่เป็นเด็กๆเกิดมาก็เห็นท่านในสภาพลักษณะเหมือนที่เห็นในปัจจุบันถ้าผิดจากเดิมไปบ้างก็เล็กน้อยเท่านั้น ประกอบด้วยหลวงปู่เป็นคนพูดน้อยและไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครที่จะสามารถรู้อายุและประวัติที่แท้จริงของท่านได้
ชาวบ้านแถบนี้พบเห็นหลวงปู่บ่อยๆ ที่ชายป่าบ้านตะเคียนราม วัดตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ , บ้านลุมพุก บ้านโคกโพน ต.กันทรารมย์อ.ขุขันธ์ ” และหมู่บ้านอื่นๆเกือบทุกหมู่บ้านในบริเวณตลอดแนวชายแดน ท่านจะเดินทางไปมาอยู่ในบริเวณแถบนี้โดยตลอด แต่ก็จะไม่อยู่เป็นประจำในที่แห่งเดียวเป็นเวลานานๆ บางทีหลวงปู่จะหายไปนานถึงสองสามปีถึงจะกลับมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าหลวงปู่ไปอยู่ไหนมา ในช่วงหลังมานี้พบหลวงปู่จำอยู่ในกระท่อมในนาบริเวณต้นโพธิ์บ้านขยอง , วัดโคกแก้ว , บ้านโคกเจริญ , กระท่อมกลางนาระหว่างบ้านละลมกับบ้านจะบก , กระท่อมบ้านรุน (อำเภอบัวเชด) และบ้านอื่นๆอีกในท้องถิ่นเดียวกันนี้ในระยะหลังนี้ได้มีผู้ปวารณาเป็นลูกศิษย์อาสาขับรถให้หลวงปู่ ได้เดินทางไปในที่ต่างๆ ทำให้มีผู้รู้จักหลวงปู่มากขึ้น ไปเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย ในแต่ละวันจะมีผู้เดิน
เมื่อเสร็จแล้วก็ให้ลูกศิษย์หามท่านออกมาจากกระท่อม และวางลงพื้นดินด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างกระท่อมกับต้นมะขาม โดยหลวงปู่หันหน้าเข้ากระท่อมขณะนั้นมีผู้นำน้ำดื่มบรรจุขวดมาถวาย 2 ขวด หลวงปู่ได้เทน้ำรดตนเองจากศรีษะลงมาจนเปียกโชกไปทั้งตัวคล้ายกับเป็นการสรงน้ำครั้งสุดท้าย นายสัญชัยผู้ขับรถให้หลวงปู่นั่งเป็นประจำได้นำรถมาจอดใกล้ๆ และช่วยกันหามหลวงปู่ขึ้นรถและขับตรงไปที่กระท่อมบ้านรุน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสุข หรือนายดุง(คนบ้านเจ็ก อำเภอขุขันธ์) ขับรถติดตามไปเพียงคนเดียว ก่อนจะถึงกระท่อมนายสัญชัยได้หยุดรถที่หน้าบ้านนายน้อยเพื่อจะบอกให้นายน้อยตามไป แต่หลวงปู่ได้บอกให้นายสัญชัยขับรถไปที่กระท่อมโดยเร็ว โดยบอกว่า “เต็อวกะตวม เต็อวกะตวม กะตวม” พอถึงกระท่อมได้อุ้มหลวงปู่ไปที่แคร่ ในกระท่อมและช่วยกันก่อกองไฟ เพื่อให้เกิดความอบอุ่น และนายสุขได้อาสาขอออกไปข้างนอกเพื่อจัดหาอาหารมาถวายหลวงปู่ และรับประทานกัน นายสุขได้ไปที่บ้านโคกชาด ตำบลไพรพัฒนา 

ไปพบนายจุกและนางเล็กซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เช่นเดียวกันและได้บอกให้รีบไปหาหลวงปู่ที่บ้านรุน เพื่อดูอาการป่วยของหลวงปู่ซึ่งมีอาการหนักกว่าทุกคราว นางเล็กได้จัดหาอาหารให้กับนายสุขส่วนตัวเองกับสามีได้ขับรถตามไปทีหลัง พอมาถึงกระท่อมปรากฎว่านายสัญชัยขับรถออกไปข้างนอก พวกที่อยู่ก็รีบหุงหาอาหารเพื่อจัดถวายหลวงปู่ โดยหวังว่าหากหลวงปู่ได้ฉันอาหารอาการก็คงจะดีขึ้นบ้าง แต่หลังจากถวายอาหารแล้วหลวงปู่ไม่ยอมฉันอาหารเลย แม้จะอ้อนวอนอย่างไรหลวงปู่ก็นิ่งเฉย นายสัญชัยที่ออกไปทำธุระข้างนอกได้กลับมาโดยขับรถตามนายน้อยที่นำของมาถวายหลวงปู่เหมือนกัน เมื่อไม่สามารถที่จะทำให้หลวงปู่ฉันได้ ทุกคนก็พิจารณาหาวิธีว่าจะช่วยหลวงปู่ได้อย่างไร ในที่สุดก็เห็นพ้องกันว่าให้รีบช่วยกันแต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด มาขอขมาหลวงปู่โดยด่วน ตามที่เคยได้กระทำมาและก็ได้ผลมาหลายครั้งแล้วซึ่งจะทำให้หลวงปู่หายป่วยได้ทุกครั้ง และนายสัญชัยยืนยันว่า ถ้าได้แต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด ขอขมาและหาแม่ชีมาร่วมสวดมนต์ถวายด้วยแล้วก็จะหายเป็นปกติ ทุกคนเห็นชอบด้วยจึงให้นายสัญชัยรีบดำเนินการโดยด่วน นายสัญชัยได้ขับรถไปที่บ้านขยุงเพื่อหาคนที่เคยแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปด เมื่อนายสัญชัยออกไปแล้วลูกศิษย์ที่เหลืออยู่ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านรุนและลูกบ้านอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งนายมีเจ้าของกระท่อมก็ได้พากันแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดเฉพาะหน้าอย่างรีบด่วน เพื่อเป็นการบันเทาจนกว่านายสัญชัยจะได้พาคนที่แต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดมาทำพิธีอีกครั้งหนึ่ง โดยนายน้อยได้อาสาไปหาธูปเทียน ในหมู่บ้าน โดยขับ
รถออกมาห่างจากกระท่อมประมาณ 300 เมตร รถติดหล่มไม่สามารถขับรถออกไปได้ทั้งที่เคยเป็นทางที่ใช้เป็นประจำ ด้วยความร้อนใจนายน้อยได้จอดรถล็อคประตูและขวางถนนทำให้รถคันอื่นไม่สามารถเข้าออกได้ และได้อุ้มลูกเดินเข้าไปในหมู่บ้านในระหว่างนั้นเองนายสัญชัยได้ขับรถเข้ามาแต่ก็ไม่สามารถผ่านเข้าไปได้เนื่องจากมีรถนายน้อยติดหล่มขวางทางอยู่ จึงได้กลับเอารถมาจอดไว้ที่บ้านนายน้อย
ในระหว่างที่กำลังรอคอย นายน้อยออกไปซื้อธูปเทียนนั้น ชาวบ้านรวมทั้งผู้ใหญ่บ้านได้พากันทยอยกลับจนเกือบจะหมดแล้ว และได้มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่าพวกเราน่าจะพาหลวงปู่ไปส่งที่โรงยาบาลจะเป็นการดีที่สุด และแล้วพวกชาวบ้านพากันกลับไปจนหมด ซึ่งผิดจากทุกครั้งที่เขาเหล่านั้นจะอยู่กับหลวงปู่ตลอดเวลาจะกลับบ้านก็ต่อเมื่อหลวงปู่ได้เดินทางไปที่อื่นแล้ว สุดท้ายก็ยังมีลูกศิษย์กับหลวงปู่ในกระท่อมเพียงแปดคนรวมทั้งเด็กที่เป็นลูกของนายจุกนางเล็กด้วย ทุกคนต่างหาวิธีที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่หลวงปู่ ซึ่งขณะนั้นได้พากันจับดูตามร่างกายของหลวงปู่ จะเย็นจัดตลอด บางคนก็ได้เอาหมอนไปอังไฟให้ร้อนแล้วนำมาประคบตามร่างกายให้หลวงปู่บางคนก็ต้มน้ำร้อน หลวงปู่ได้สั่งให้ลูกศิษย์เอาผ้าชุปน้ำอุ่นมาเช็ดนิ้วมือนิ้วเท้าทำความสะอาดและเช็ดทั่วทั้งร่างกายโดยย้ำว่าให้ทำให้สะอาดที่สุด บางแห่งตามนิ้วเท้าที่ของหลวงปู่ที่ลูกศิษย์เช็ดให้ไม่สะอาดพอ หลวงปู่ก็ใช้นิ้วมือเกาถูอย่างแรงจนสะอาด เมื่อทำความสะอาดร่างกายพอสมควรแล้ว หลวงปู่ได้เอ่ยออกเสียงอย่างแผ่วเบาออกมาเป็นภาษาเขมรว่า 
“เนียงนาลาน” (นางไหนละรถ) ซึ่งเสียงที่เปล่งออกมานั้นแผ่วเบามาก ทุกคนเข้าใจว่า “เนียง” นั้นหมายถึงนางเล็กจึงได้พากันอุ้มหลวงปู่ไปขึ้นรถของนายจุกนางเล็ก โดยผู้ที่อุ้มมีนายจุก และนายตี๋ โดยนายสุขเป็นผู้เปิดประตูรถให้ พอนำหลวงปู่ขึ้นนั่งบนรถโดยลูกศิษย์ได้ปรับเบาะเอนลงเพื่อให้หลวงปู่เอนกายได้สบายขึ้น ท่านได้พยายามยื่นมือมาดึงประตูรถปิดเอง ลูกศิษย์จึงช่วยปิดให้รถเลื่อนออกจากกระท่อมเพื่อไปโรงพยาบาลบัวเชด ซึ่งอยู่ไม่ไกลมากแต่รถออกไปได้ประมาณ 50 เมตร อาการป่วยของหลวงปู่ก็เริ่มหนักมากขึ้นทุกทีจนลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ด้วยด้านหลังตกใจ และร้องขึ้นว่า “หลวงปู่อาการหนักมากแล้ว” และได้จอดรถคนที่อยู่รถคันหลังก็วิ่งลงมาดู และก็บอกว่าอย่างไรก็จะต้องนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เมื่อรถวิ่งออกมาอีกก็มาติดรถของนายน้อยที่ติดหล่มขวางทางอยู่ไม่สามารถออกไปได้ นายจุก ได้ร้องตะโกนบอกให้นายจันวิ่งไปสำรวจดูเส้นทางอื่น ว่าจะมีทางใดที่สามารถจะนำรถออกไปได้และเมื่อสำรวจดูโดยทั่วแล้ว เห็นว่ามีทางออกเพียงทางเดียวก็คือต้องขับฝ่าทุ่งหญ้าออกไปหาถนน แต่ไม่น่าจะออกไปได้แต่ก็ตัดสินใจขับออกไป เหตุการณ์บนรถในขณะนั้น ในขณะที่กำลังเลี้ยวรถเพื่อขับผ่านทุ่งหญ้าออกไปนั้นได้มีอาการบางอย่างที่เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าหลวงปู่จะละสังขารอย่างแน่นอนให้คนที่อยู่บนรถเห็น ต่างคนก็ร่ำไห้มองดูด้วยความอาลัยและสิ้นหวัง หลวงปู่เริ่มหายใจแผ่วลงเรื่อยๆ ในที่สุดก็ได้ทอดมือทิ้งลงข้างกาย แล้วจากไปด้วยความสงบ อย่างไรก็ตามลูกศิษย์ก็ยังคงนำหลวงปู่ไปที่โรงพยาบาล เผื่อว่าหมอจะสามารถช่วยให้หลวงปู่ฟื้นขึ้นมาได้ ในระหว่างทางไปโรงพยาบาล นายสาด ชาวบ้านตาปิ่น อำเภอบัวเชด ก็ขี่รถจักรยายนต์สวนทางมา นายจุกชะลอรถและตะโกนบอกให้นายสาดตามไปที่โรงพยาบาลบัวเชด พอไปถึงโรงพยาบาล ทั้งนายแพทย์และพยาบาลได้รีบนำหลวงปู่เข้าห้องฉุกเฉินทำการตรวจโดยละเอียด และลงความเห็นว่าหลวงปู่ได้สิ้นลมไปแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ถึง 4 ชั่วโมง ซึ่งลูกศิษย์ต่างก็ยืนยันว่าสิ้นลมไม่น่าจะเกิน 10 นาทีแน่นอน เพราะระยะทางจากบ้านรุนไปโรงพยาบาลบัวเชดประมาณ 10 กิโลเมตร และก็ได้ขับรถด้วยความเร็วสูงด้วย ลูกศิษย์ไม่ให้ทางโรงพยาบาลฉีดยา หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับร่างของหลวงปู่ทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าไม่สามารถจะช่วยหลวงปู่ได้แน่แล้ว ก็ได้พากันนำร่างหลวงปู่กลับพอมาถึง บ้านตาปิ่น ก็ได้แวะเอาจีวรเก่าของหลวงปู่ที่เคยให้ไว้กับนายสาด เพื่อนำมาครองให้หลวงปู่ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และนายสาดก็ได้ขึ้นรถมาด้วยพอมาถึงบ้านรุนก็มีรถนายสัญชัยและนายน้อยจอดรออยู่ ก็ได้แจ้งว่าหลวงปู่ได้มรณภาพแล้ว และได้พากันขับรถมุ่งหน้าจะไปบ้านละลม พอถึงบ้านไพรพัฒนา นายจุกได้ขับรถแวะเข้าไปที่วัดบ้านไพรพัฒนา และได้บอกข่าวให้กับหลวงพ่อพุฒ วายาโม เจ้าอาวาสวัดไพรพัฒนาให้ทราบ ว่าหลวงปู่สรวงได้ละสังขารแล้ว..
 ขอบคุณข้อมูลจากมูลนิธีหลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา..

25 พ.ค. 2562

หลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม

ไปกราบขอพรหลวงพ่อวัดไร่ขิง

        อ.สามพราน จ.นครปฐม

                ----------

             โดย.. ณ วงเดือน


          หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องที่เป็นที่รู้จักของผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศ นั้นคือ หลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา  หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม และหลวงพ่อวัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 


               ซึ่งความเป็นมาของหลวงพ่อวัดไร่ขิง ที่ทางผู้เขียนได้ไปกราบไหว้และนำมาบันทึกไว้เป็นเรื่องราวความทรงจำ และไว้เป็นข้อมูลในการให้ได้รับความรู้แก่ตนเองด้วย จึงได้ค้นประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ มาบันทึกไว้ที่ตรงนี้ด้วย  ซึ่งจะขอกล่าวเขียนถึงดังนี้


            
         วัดไร่ขิง พระอารามหลวง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพรานห่างจากกรุงเทพฯ 32 กม. มีทางเข้า 3 ทาง คือ ทางแยกหน้าสถานีตำรวจโพธิ์แก้ว ทางแยกหน้าสวนสามพราน และทางแยกพุทธมณฑลสาย 5 วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2334 โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เรียกชื่อวัดตามชื่อตำบล เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูนมาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย 

                             ปัจจุบันชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้วเศษ สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ พุทธลักษณะเป็นสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนา และล้านช้าง ตามตำนาน เล่าว่าลอยน้ำมา และอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดศาลาปูน วัดไร่ขิงนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระราชทานนามให้ว่า วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง) แต่ชาวบ้านเรียกกันเต็ม ๆ ว่าวัดมงคลจินดารามไร่ขิง จนกระทั่งเหลือแต่ชื่อวัดไร่ขิงไปในที่สุด
        ตามตำนานกล่าวถึงการได้มาซึ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิงว่าได้ถูกอัญเชิญมากจากกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา)
เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนนับถือมาก  ในวันที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากท่าน้ำที่หน้าวัดไร่ขิง
ตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕  เป็นวันสงกรานต์  มีประชาชนมาชุมนุมกันมาก  ในขณะที่อัญเชิญ
หลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ประรำพิธี  เกิดความมหัศจรรย์  แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป
ความร้อนระอุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ
บันดาลให้ฝนโปรยลงมา ยังความเย็นฉ่ำใจทั่วหน้าทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี  พากันอธิษฐานจิต
ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝน
ที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ  เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร
                               หลวงพ่อวัดไร่ขิง  เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” เรียกตามชื่อวัด ตามตำนาน
กล่าวว่าหลวงพ่อทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ประทับนั่งปางมารวิชัยหรือปางชำนะมารแบบประยุกต์
หลวงพ่อวัดไร่ขิงมีลักษณะผึ่งผายคล้ายเชียงแสน  พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย
แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตน์โกสินทร์


        บางตำนานเล่าว่า 
มีพระ 3 องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" พระพุทธรูป 3 องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน" ในเขต จ.ฉะเชิงเทรา  แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด" ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า 


     "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" ส่วนองค์ที่ 2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" และองค์ที่ 3 ลอยตามน้ำมาขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดเเสาทงทร แล้วเพี้ยนมาเป็นวัดเสาทอน และโสธรตามลำดับจึง เรียกว่า "หลวงพ่อโสธร"  มาแต่บัดนั้น
         หลวงพ่อพระเดชพระคุณ  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสไร่ขิง องค์ปัจจุบันได้นำอภินิหารและอิทธิฤทธิ์ บางส่วนจากผู้ศรัทธาหลวงพ่อ มาบันทึกไว้ในหนังสือ ประวัติวัดและหลวงพ่อวัดไร่ขิง เช่น

- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีอภินิหารปิดทองไม่ติด ทั้ง ๆในแต่ละปีมีประชาชนมาปิดทองหลวงพ่อเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีความศักดิ์สิทธิและอภินิหาร ในการป้องกันสิ่งต่างๆ ตามความรู้สึกของแต่ละคนที่ตั้งใจปรารถนา
- น้ำมันและน้ำมนต์ของหลวงพ่อ รักษาโรคภัยต่างๆ ได้สมใจปรารถนา
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ช่วยให้รอดพ้นจากความตาม เพียงแค่ตั้งจิตถึงหลวงพ่อ
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปิดตาขโมยได้ ป้องกันไฟไหม้
- หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นทุกอย่างได้ตามแรงอธิษฐานของคนอยากให้เป็น
  นี่คือส่วนหนึ่งที่ประวัติความเป็นมาตามตำนานคร่าว ๆ ที่ผู้คนที่ได้พบเห็นได้นำมาเล่าสู่กันฟัง จากปากสู่ปากรุ่นสู่รุ่น ว่ามีความเป็นมาเช่นไร  บ้าง 
                             ซึ่งทางผู้เขียนจึงได้รวบรวมในความเป็นมาของหลวงพ่อวัดไร่ขิง มาบันทึกไว้ยัง nawongduen travel note.com  ของผู้เขียนเพื่อได้รู้เป็นข้อมูล และยังให้จิตใจชื่นบาน รับรู้เรื่องความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงด้วย  จึงขอบันทึกเรื่องราวไว้ในความทรงจำตลอดไป..
                                                                                


    @@@@@@@@@@@@

หลวงปู่คำคะนิง วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ

       ไปกราบสรีระสังขาร

 หลวงปู่คำคะนิง  จุลมณี

วัดถ้ำคูหาสวรรค์  อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ


โดย. ณ  วงเดือน


     นานหลายปีที่มีความตั้งใจที่จะไปกราบสรีระสังขาร ของปู่คำคะนิง ที่วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จนได้มีบุญได้มีโอกาศไปอย่างสมใจนึกเมือปีที่ผ่านมา
 

        พร้อมกันนี้จึงได้รวบรวมหาข้อมูลมาบันทึกไว้ยัง บันทึก ออนทัวร์ ทาเวล ในครั้งนี้ด้วยเพื่อบันทึกเรื่องราว  ของหลวงปู่และได้รู้เป็นข้อมูลและประวัติความเป็นมา ของวัดและประวัติของหลวงปู่่ เพื่อได้เป็นแหล่งความรู้ของผู้เขียนเอง

    ท่านเกิด ที่บ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ประเทศลาว เมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน พ.ศ ๒๔๓๗  ท่านบวชเป็นตาชีปะขาว ถึง 15 ปี เพื่อปฎิบัติธรรมแบบโยคี หรือว่า ฤาษี  เดินท่องเที่ยวไปในป่าเขาทั้งป่าในเมืองไทยและป่าเขาลำเนาไพร ที่เมืองลาวจนเป็นที่เลื่องลือไปทั้วทั้งสองแผ่นดินไทยลาว ในยุคสมัยนั้น จนต่อมาโยคีคำคะนิง ดั้นด้นไปยังภูอีด่าง ซึ่งสมเด็จลุนพระอริยเจ้าแห่งราชอาณาจักรลาวจำพรรษาอยู่ พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของตนให้ท่านทราบ 

             สมเด็จให้ความปราณีมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ให้โยคีคำคะนิงไปค้นคว้า ศึกษา ครั้นท่านโยคีคำคะนิงศึกษาธรรมจากพระคัมภีร์เรียบร้อยก็เอาเก็บไว้ที่เดิม มิได้นำมาเป็นสมบัติส่วนตัว โยคีคำคะนิงลงจากภูเขาได้พบชาวบ้าน และได้ทำการรักษาคนป่วยจนหายทุเลา ท่านเดินทางไปเรื่อย เจอใครก็รักษาโรคภัยให้หมด  ณ วัดหอเก่าแขวงนครจำปาศักดิ์ คือศาสนสถาานที่กำหนดให้เป็นวัดอุปสมบทของปะขาวคำคะนิง มีประกาศป่าวร้องให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงวันอุปสมบทปะขาวคำคะนิง โดยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ให้จัดขึ้น พอถึงวันอุปสมบท ประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ ตลอดจนข้าราชการทุกหมู่เหล่าต่างมาร่วมในงานพระราชพิธีแน่นขนัดเป็นประวัติการณ์ แต่ละคนเตรียมผ้าไหมแพรทองมาด้วยเพื่อจะมาปูรองรับเส้นเกศาของปะขาวคำคะนิง ตอนแรกจะมีการแจกเส้นเกศาให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันหมด

ครั้นถึงเวลปลงผมจริงๆ ประชาชนกลัวจะไม่ได้เส้นเกศาจึงแออัดยัดเยียดเข้ายื้อแย่งกันอลหม่าน เกินกำลังเจ้าหน้าที่รักษาการจะห้ามปรามสกัดกั้นได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงเมื่อเส้นเกศาถูกแย่งเอาไปจนหมด
จากนั้นพระราชพิธีอุปสมบทก็ดำเนินต่อไปโดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี ๒๘ รูป เมื่อพิธีการอปุสมบทเสร็จสิ้นปะขาคำคะนิงซึ่งครองเพศพรหมจรรย์ เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ได้รับฉายาว่า สนฺจิตฺโตภิกขุ” หรือพระคำคะนิง สนฺจิตฺโต” หลังจากเป็นพระภิกษุ พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็กลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูอีด่างเช่นเดิม ดำรงวัตรปฏิบัติตามแนวทางของพระป่าอย่างเคร่งครัด และนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุคำคะนิง สนฺจิตฺโต ประชาชนก็ยิ่งหลั่งไหลไต่ภูเขาขึ้นไปกราบนมัสการ และขอความช่วยเหลือจากท่านจนไม่มีเวลาปฏิบัติภาวนาบำเพ็ญธรรม  วันหนึ่ง..พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็หายไปจากภูอีด่าง และไม่กลับมาอีกเลย ประชาชนลาวรู้แต่ว่าท่านออกธุดงค์สาบสูญไปแล้ว ต่างพากันร่ำไห้โศกเศร้าอย่างน่าสงสาร
หลวงปู่ชอบจารึกธุดงค์ฝั่งลาวเพราะหมู่บ้านยังไม่เยอะเท่าฝั่งไทย ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ และในช่วงปลายชีวิตท่านก็ตัดสินใจจำพรรษา วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี เป็นที่สุดท้ายของท่าน
         หลวงปู่ป่วยเป็นโรคปอดบวม และได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เวลา ๑๑.๑๓ น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ ท่านได้อยู่ในเพศฤาษีได้ ๑๕ ปี และอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ ๓๒ พรรษา บันทึก ออนทัวร์ ทาวล จึงได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ในอนุทินบันทึกไว้ในความทรงจำของผู้เขียนต่อไป..