2 มิ.ย. 2562

หลวงปู่สรวง วัดไพรพํฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีษะเกษ

 


หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน

วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีษะเกษ

             --------------
โดย..ณ  วงเดือน

หลวงปู่ผู้เป็นที่พึ่งทางใจของสองแผ่นดิน ทั้งไทยและเขมรหลวงปูสรวงเทวดาเล่นดินที่หลายคนรู้จักวันนี้ตั้งใจจะเขียนเรื่องของหลวงปู่สรวง  เทวดาเล่นดินมานานแล้ว เพราะได้มีโอกาศเดินทางมากราบสักการะสังขารของหลวงปู่ ถึงสองครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงขอนำความเป็นมาของวัดนี้ดังต่อไปตามข้อมูลของทางวัดว่า

           วัดไพรพัฒนา เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีประชาชนได้อพยพถิ่นฐาน มาจากอำเภอไพรบึง มาอยู่รวมกัน และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ไพรบึงน้อย” ซึ่งในขณะนั้นได้เกิดความไม่สงบโดยมีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ก่อความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้ราษฎรในหมู่บ้านได้แยกย้ายกันไปอยู่ต่างถิ่น แต่ยังคงเหลือราษฎรในหมู่บ้านไพรบึงน้อย ต่อมารัฐบาลได้มีนโยบายให้ประชาชนย้ายเข้ามาอยู่ตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันการรุกรานและก่อความไม่สงบของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ จึงได้มีการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรอยู่


อาศัย และตั้งชื่อบ้านว่า “ไพรพัฒนา” โดยมีนายพิน บุญเยี่ยม ผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้น ได้ปรึกษาพระสงฆ์และคณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ไพรพัฒนาขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ หลวงพ่อพุฒ วายาโมได้มาจำพรรษาอยู่จึงดำเนินการขอจัดตั้งวัด จนกระทั่ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ดำเนินการจัดตั้งวัดเสร็จเรียบร้อย พร้อมทั้งได้มีการแต่งตั้งหลวงพ่อพุฒ วายาโม เป็นเจ้าอาวาสวัด และได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนาม “พระครูโกศลสิกขกิจ” และได้มีการพัฒนาวัดหลายอย่าง อาทิเช่น ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาทม กุฏิหลวงปู่สรวง ประตูและป้ายชื่อวัดกุฏิเรือนรับรอง มณฑปปราสาทหลวงปู่สรวง และศาลาการเปรียญ 
วัดไพรพัฒนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๕๘หมู่ที่ ๓ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มีพระครูโกศลสิกขกิจ หรือหลวงพ่อพุฒ วายาโม เป็นเจ้าอาวาสวัด มีพระสงฆ์สามเณรในสังกัด ๒๐ รูป และวัดไพรพัฒนายังขอประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานบรรจุไว้ ณ มณฑปปราสาทหลวงปู่สรวงวัดไพรพัฒนา และเป็นสถานที่ตั้งสรีระสังขารของหลวงปู่สรวง ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ และประชาชนทั่วไป ได้มาเคารพกราบไหว้ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั่วไป..
ส่วนประวัติของหลวงปู่นั้น ดังนี้
หลวงปู่สรวงที่เรารู้จักกันในนามนี้ในปัจจุบันนั้น เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านในท้องถิ่นอำเภอ ขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ที่มีภูมิลำเนาอยู่แถบชายแดน ตามเชิงเขาพนมดงรัก(พนมดองแร็ก) ซึ่งเป็นแนวเขตแดนระหว่าง กัมพูชากับประเทศไทย มักจะเห็นท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรม พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้าน โคกและเวียน ไปที่นั่นที่นี่บ้างนานๆ จะกลับมาเห็นในที่เดิมอีก ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านในฐานะผู้มีคุณวิเศษ เหนือคนทั่วไปและเรียกขานว่า “ลูกเอ็าวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบส ที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำเขาลำเนาไพร) ในสมัยนั้นยังมีป่าพรรณไม้อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาพันธุ์ ได้มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย และตลอดจนถึงประเทศเขมร แต่ก็อยู่กับหลวงปู่ได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหวหลวงปู่จึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ตามลำพังเป็นส่วนมาก  ไม่มีใครทราบถิ่นกำเนิดและอายุของหลวงปู่ที่แท้จริง ได้รู้แต่ว่าหลวงปู่เป็นชาวเขมรต่ำ ได้เข้ามาในประเทศไทยนานแล้วคนแก่คนเฒ่า ผู้สูงอายุที่เคยเห็นท่านเล่าบอกว่า ตั้งแต่เป็นเด็กๆเกิดมาก็เห็นท่านในสภาพลักษณะเหมือนที่เห็นในปัจจุบันถ้าผิดจากเดิมไปบ้างก็เล็กน้อยเท่านั้น ประกอบด้วยหลวงปู่เป็นคนพูดน้อยและไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครที่จะสามารถรู้อายุและประวัติที่แท้จริงของท่านได้
ชาวบ้านแถบนี้พบเห็นหลวงปู่บ่อยๆ ที่ชายป่าบ้านตะเคียนราม วัดตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ , บ้านลุมพุก บ้านโคกโพน ต.กันทรารมย์อ.ขุขันธ์ ” และหมู่บ้านอื่นๆเกือบทุกหมู่บ้านในบริเวณตลอดแนวชายแดน ท่านจะเดินทางไปมาอยู่ในบริเวณแถบนี้โดยตลอด แต่ก็จะไม่อยู่เป็นประจำในที่แห่งเดียวเป็นเวลานานๆ บางทีหลวงปู่จะหายไปนานถึงสองสามปีถึงจะกลับมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าหลวงปู่ไปอยู่ไหนมา ในช่วงหลังมานี้พบหลวงปู่จำอยู่ในกระท่อมในนาบริเวณต้นโพธิ์บ้านขยอง , วัดโคกแก้ว , บ้านโคกเจริญ , กระท่อมกลางนาระหว่างบ้านละลมกับบ้านจะบก , กระท่อมบ้านรุน (อำเภอบัวเชด) และบ้านอื่นๆอีกในท้องถิ่นเดียวกันนี้ในระยะหลังนี้ได้มีผู้ปวารณาเป็นลูกศิษย์อาสาขับรถให้หลวงปู่ ได้เดินทางไปในที่ต่างๆ ทำให้มีผู้รู้จักหลวงปู่มากขึ้น ไปเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย ในแต่ละวันจะมีผู้เดิน
เมื่อเสร็จแล้วก็ให้ลูกศิษย์หามท่านออกมาจากกระท่อม และวางลงพื้นดินด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างกระท่อมกับต้นมะขาม โดยหลวงปู่หันหน้าเข้ากระท่อมขณะนั้นมีผู้นำน้ำดื่มบรรจุขวดมาถวาย 2 ขวด หลวงปู่ได้เทน้ำรดตนเองจากศรีษะลงมาจนเปียกโชกไปทั้งตัวคล้ายกับเป็นการสรงน้ำครั้งสุดท้าย นายสัญชัยผู้ขับรถให้หลวงปู่นั่งเป็นประจำได้นำรถมาจอดใกล้ๆ และช่วยกันหามหลวงปู่ขึ้นรถและขับตรงไปที่กระท่อมบ้านรุน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสุข หรือนายดุง(คนบ้านเจ็ก อำเภอขุขันธ์) ขับรถติดตามไปเพียงคนเดียว ก่อนจะถึงกระท่อมนายสัญชัยได้หยุดรถที่หน้าบ้านนายน้อยเพื่อจะบอกให้นายน้อยตามไป แต่หลวงปู่ได้บอกให้นายสัญชัยขับรถไปที่กระท่อมโดยเร็ว โดยบอกว่า “เต็อวกะตวม เต็อวกะตวม กะตวม” พอถึงกระท่อมได้อุ้มหลวงปู่ไปที่แคร่ ในกระท่อมและช่วยกันก่อกองไฟ เพื่อให้เกิดความอบอุ่น และนายสุขได้อาสาขอออกไปข้างนอกเพื่อจัดหาอาหารมาถวายหลวงปู่ และรับประทานกัน นายสุขได้ไปที่บ้านโคกชาด ตำบลไพรพัฒนา 

ไปพบนายจุกและนางเล็กซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เช่นเดียวกันและได้บอกให้รีบไปหาหลวงปู่ที่บ้านรุน เพื่อดูอาการป่วยของหลวงปู่ซึ่งมีอาการหนักกว่าทุกคราว นางเล็กได้จัดหาอาหารให้กับนายสุขส่วนตัวเองกับสามีได้ขับรถตามไปทีหลัง พอมาถึงกระท่อมปรากฎว่านายสัญชัยขับรถออกไปข้างนอก พวกที่อยู่ก็รีบหุงหาอาหารเพื่อจัดถวายหลวงปู่ โดยหวังว่าหากหลวงปู่ได้ฉันอาหารอาการก็คงจะดีขึ้นบ้าง แต่หลังจากถวายอาหารแล้วหลวงปู่ไม่ยอมฉันอาหารเลย แม้จะอ้อนวอนอย่างไรหลวงปู่ก็นิ่งเฉย นายสัญชัยที่ออกไปทำธุระข้างนอกได้กลับมาโดยขับรถตามนายน้อยที่นำของมาถวายหลวงปู่เหมือนกัน เมื่อไม่สามารถที่จะทำให้หลวงปู่ฉันได้ ทุกคนก็พิจารณาหาวิธีว่าจะช่วยหลวงปู่ได้อย่างไร ในที่สุดก็เห็นพ้องกันว่าให้รีบช่วยกันแต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด มาขอขมาหลวงปู่โดยด่วน ตามที่เคยได้กระทำมาและก็ได้ผลมาหลายครั้งแล้วซึ่งจะทำให้หลวงปู่หายป่วยได้ทุกครั้ง และนายสัญชัยยืนยันว่า ถ้าได้แต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด ขอขมาและหาแม่ชีมาร่วมสวดมนต์ถวายด้วยแล้วก็จะหายเป็นปกติ ทุกคนเห็นชอบด้วยจึงให้นายสัญชัยรีบดำเนินการโดยด่วน นายสัญชัยได้ขับรถไปที่บ้านขยุงเพื่อหาคนที่เคยแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปด เมื่อนายสัญชัยออกไปแล้วลูกศิษย์ที่เหลืออยู่ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านรุนและลูกบ้านอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งนายมีเจ้าของกระท่อมก็ได้พากันแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดเฉพาะหน้าอย่างรีบด่วน เพื่อเป็นการบันเทาจนกว่านายสัญชัยจะได้พาคนที่แต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดมาทำพิธีอีกครั้งหนึ่ง โดยนายน้อยได้อาสาไปหาธูปเทียน ในหมู่บ้าน โดยขับ
รถออกมาห่างจากกระท่อมประมาณ 300 เมตร รถติดหล่มไม่สามารถขับรถออกไปได้ทั้งที่เคยเป็นทางที่ใช้เป็นประจำ ด้วยความร้อนใจนายน้อยได้จอดรถล็อคประตูและขวางถนนทำให้รถคันอื่นไม่สามารถเข้าออกได้ และได้อุ้มลูกเดินเข้าไปในหมู่บ้านในระหว่างนั้นเองนายสัญชัยได้ขับรถเข้ามาแต่ก็ไม่สามารถผ่านเข้าไปได้เนื่องจากมีรถนายน้อยติดหล่มขวางทางอยู่ จึงได้กลับเอารถมาจอดไว้ที่บ้านนายน้อย
ในระหว่างที่กำลังรอคอย นายน้อยออกไปซื้อธูปเทียนนั้น ชาวบ้านรวมทั้งผู้ใหญ่บ้านได้พากันทยอยกลับจนเกือบจะหมดแล้ว และได้มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่าพวกเราน่าจะพาหลวงปู่ไปส่งที่โรงยาบาลจะเป็นการดีที่สุด และแล้วพวกชาวบ้านพากันกลับไปจนหมด ซึ่งผิดจากทุกครั้งที่เขาเหล่านั้นจะอยู่กับหลวงปู่ตลอดเวลาจะกลับบ้านก็ต่อเมื่อหลวงปู่ได้เดินทางไปที่อื่นแล้ว สุดท้ายก็ยังมีลูกศิษย์กับหลวงปู่ในกระท่อมเพียงแปดคนรวมทั้งเด็กที่เป็นลูกของนายจุกนางเล็กด้วย ทุกคนต่างหาวิธีที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่หลวงปู่ ซึ่งขณะนั้นได้พากันจับดูตามร่างกายของหลวงปู่ จะเย็นจัดตลอด บางคนก็ได้เอาหมอนไปอังไฟให้ร้อนแล้วนำมาประคบตามร่างกายให้หลวงปู่บางคนก็ต้มน้ำร้อน หลวงปู่ได้สั่งให้ลูกศิษย์เอาผ้าชุปน้ำอุ่นมาเช็ดนิ้วมือนิ้วเท้าทำความสะอาดและเช็ดทั่วทั้งร่างกายโดยย้ำว่าให้ทำให้สะอาดที่สุด บางแห่งตามนิ้วเท้าที่ของหลวงปู่ที่ลูกศิษย์เช็ดให้ไม่สะอาดพอ หลวงปู่ก็ใช้นิ้วมือเกาถูอย่างแรงจนสะอาด เมื่อทำความสะอาดร่างกายพอสมควรแล้ว หลวงปู่ได้เอ่ยออกเสียงอย่างแผ่วเบาออกมาเป็นภาษาเขมรว่า 
“เนียงนาลาน” (นางไหนละรถ) ซึ่งเสียงที่เปล่งออกมานั้นแผ่วเบามาก ทุกคนเข้าใจว่า “เนียง” นั้นหมายถึงนางเล็กจึงได้พากันอุ้มหลวงปู่ไปขึ้นรถของนายจุกนางเล็ก โดยผู้ที่อุ้มมีนายจุก และนายตี๋ โดยนายสุขเป็นผู้เปิดประตูรถให้ พอนำหลวงปู่ขึ้นนั่งบนรถโดยลูกศิษย์ได้ปรับเบาะเอนลงเพื่อให้หลวงปู่เอนกายได้สบายขึ้น ท่านได้พยายามยื่นมือมาดึงประตูรถปิดเอง ลูกศิษย์จึงช่วยปิดให้รถเลื่อนออกจากกระท่อมเพื่อไปโรงพยาบาลบัวเชด ซึ่งอยู่ไม่ไกลมากแต่รถออกไปได้ประมาณ 50 เมตร อาการป่วยของหลวงปู่ก็เริ่มหนักมากขึ้นทุกทีจนลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ด้วยด้านหลังตกใจ และร้องขึ้นว่า “หลวงปู่อาการหนักมากแล้ว” และได้จอดรถคนที่อยู่รถคันหลังก็วิ่งลงมาดู และก็บอกว่าอย่างไรก็จะต้องนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เมื่อรถวิ่งออกมาอีกก็มาติดรถของนายน้อยที่ติดหล่มขวางทางอยู่ไม่สามารถออกไปได้ นายจุก ได้ร้องตะโกนบอกให้นายจันวิ่งไปสำรวจดูเส้นทางอื่น ว่าจะมีทางใดที่สามารถจะนำรถออกไปได้และเมื่อสำรวจดูโดยทั่วแล้ว เห็นว่ามีทางออกเพียงทางเดียวก็คือต้องขับฝ่าทุ่งหญ้าออกไปหาถนน แต่ไม่น่าจะออกไปได้แต่ก็ตัดสินใจขับออกไป เหตุการณ์บนรถในขณะนั้น ในขณะที่กำลังเลี้ยวรถเพื่อขับผ่านทุ่งหญ้าออกไปนั้นได้มีอาการบางอย่างที่เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าหลวงปู่จะละสังขารอย่างแน่นอนให้คนที่อยู่บนรถเห็น ต่างคนก็ร่ำไห้มองดูด้วยความอาลัยและสิ้นหวัง หลวงปู่เริ่มหายใจแผ่วลงเรื่อยๆ ในที่สุดก็ได้ทอดมือทิ้งลงข้างกาย แล้วจากไปด้วยความสงบ อย่างไรก็ตามลูกศิษย์ก็ยังคงนำหลวงปู่ไปที่โรงพยาบาล เผื่อว่าหมอจะสามารถช่วยให้หลวงปู่ฟื้นขึ้นมาได้ ในระหว่างทางไปโรงพยาบาล นายสาด ชาวบ้านตาปิ่น อำเภอบัวเชด ก็ขี่รถจักรยายนต์สวนทางมา นายจุกชะลอรถและตะโกนบอกให้นายสาดตามไปที่โรงพยาบาลบัวเชด พอไปถึงโรงพยาบาล ทั้งนายแพทย์และพยาบาลได้รีบนำหลวงปู่เข้าห้องฉุกเฉินทำการตรวจโดยละเอียด และลงความเห็นว่าหลวงปู่ได้สิ้นลมไปแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ถึง 4 ชั่วโมง ซึ่งลูกศิษย์ต่างก็ยืนยันว่าสิ้นลมไม่น่าจะเกิน 10 นาทีแน่นอน เพราะระยะทางจากบ้านรุนไปโรงพยาบาลบัวเชดประมาณ 10 กิโลเมตร และก็ได้ขับรถด้วยความเร็วสูงด้วย ลูกศิษย์ไม่ให้ทางโรงพยาบาลฉีดยา หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับร่างของหลวงปู่ทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าไม่สามารถจะช่วยหลวงปู่ได้แน่แล้ว ก็ได้พากันนำร่างหลวงปู่กลับพอมาถึง บ้านตาปิ่น ก็ได้แวะเอาจีวรเก่าของหลวงปู่ที่เคยให้ไว้กับนายสาด เพื่อนำมาครองให้หลวงปู่ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และนายสาดก็ได้ขึ้นรถมาด้วยพอมาถึงบ้านรุนก็มีรถนายสัญชัยและนายน้อยจอดรออยู่ ก็ได้แจ้งว่าหลวงปู่ได้มรณภาพแล้ว และได้พากันขับรถมุ่งหน้าจะไปบ้านละลม พอถึงบ้านไพรพัฒนา นายจุกได้ขับรถแวะเข้าไปที่วัดบ้านไพรพัฒนา และได้บอกข่าวให้กับหลวงพ่อพุฒ วายาโม เจ้าอาวาสวัดไพรพัฒนาให้ทราบ ว่าหลวงปู่สรวงได้ละสังขารแล้ว..
 ขอบคุณข้อมูลจากมูลนิธีหลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น