10 เม.ย. 2561

สวนพญาแถน ตำนานบั้งไฟยโสธร จ.ยโสธร

   พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

              ---------
  โดย. ณ วงเดือน

 ตำนานท้าวพญาคันคาก ผู้ต่อสู้ชนะพญาแถนเพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ตั้งอยู่ที่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยโสธร

       สถานที่แห่งนี้ ถือว่าเป็นที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่หรือว่าแลนด์มาร์ค อีกแห่งของ จ.ยโสธร ก้ว่าได้ เพราะเป็นที่โดเด่นแปลกตา  สถานที่ตั้งอยู่ด้านหลังของเรือนจำ ของจังหวัดริมอ่างเก็บน้ำ ลำทวน  เมื่อขับรถเลยเข้ามาด้านหลังของเรือนจำ  จะเป็นที่ตั้งของอาคารต่าง ๆ ดังนี้ 

อาคารทรงพญานาค

ที่นี่สร้างเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ตำนานเรื่องราวนิทานปรัมปราของชาว อิสาน เรื่องของพยาคักคาก ที่ต่อสู้กับผู้เป็นใหญ่บนฟ้า ที่ชื่อพญาแถน หรือเทวดา ผู้บันดาลฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล  จนกลายเป็นที่มาของตำนานบุญประเพณีบั้งไฟ ยโสธรที่เลื่องชื่อไปทั่วโลกในเวลานี้
นอกนี้ด้านในยังมีปฎิมากรรมขบวนแห่บั้งไฟ อันอ่อนช้อยสวยงาม และบรรยากาศ สวยงามเย็นสบาย ลมพัดพาตลอดทั้งวัน ด้านหน้าทางเข้ามา จะยังมีพิพิธภัณฑ์อาคาร พญานาคขนาดใหญ่ 
ที่มีขนาดสูง 29 เมตร ยาว 111.5 เมตร กว้าง 5 เมตร ทอดลำตัวไปตามน้ำลำน้ำทวน และมีรูปนาคเศียรเดียวพ่นน้ำลงลำน้ำทวนมีทางเชื่อมต่อ เข้าไปสูภายในอาคารท้องของพญานาค ที่ด้านในก็มีเกร็ดความรู้ต่าง ๆโดยจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบภาพ 4 มิติ แบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่  โซนที่ 1 เล่าขานตำนาน ของพญาคันคาก และพญาแถน ความเชื่อของการกำเนิดเรื่องของพญานาค  มาที่ โซน ที่ 2 รากความเชื่อ กำเนิดความเชื่อเรื่องของพญานาคและงูใหญ่ ที่มีอยู่ทั่วโลก โซนที่ สถิตในศรัทธา เป็นเรื่องราวของพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพุทธศานานาคในคติพราหมณ์ฮินดู และพุทธ  โซนที่ 4 ปฐมกาลมหานที ตำนานการเกิดของแม่น้ำโขง โดยพญานาค 
            ความพิเศษ ของห้องโถงนี้ เป็นการจำลองบรรยากาศให้เหมือนถ้ำบาดาล นักท่องเที่ยวจะได้ยืนบนสะพานพญานาค และชมวีดีทัศน์ผ่านกำแพงถ้ำ 
โซนที่ 4.2 จารีตและวิถี แสดงความเชื่อตามจารีตประเพณีเกี่ยวกับพญานาค จักแสดงในกล่องทรงกลม วางตามมุมต่าง ๆ บนพื้นที่จัดแสดง ทุกเรื่องสามารถอ่านรายละเอียด ได้บนหน้าจอสัมผัส หรือ การฟิกบร์อด
   โซน ที่ พญานาคกับ ชีววิทยา ที่นี่ จะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของงูตามหลักเหตุผล นำเสนอวิวัฒนาการของงูผ่านกราฟิคบร์อด อนาโตมี่ของงูบนกราฟฟิกบร์อด ความหลากหลายทางชีววิทยาของงูผ่านการแสดง ฉากจำลอง 6 ฉาก มีการศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของงู  รวมถึงการป้องกันรักษาเมื่อถูกงูกัด  
อาคารเลยต่อกันมานั้น
    

ประมาณ 19 เมตร มีพื้นที่ภายในใช้สอย 835 ตรม.  ด้านในถือเป็นพิพิธภัณฑ์รูปร่างสุดแปลกในประเทศไทยที่สอดแทรกตำนานเกี่ยวกับพญาคางคกและบั้งไฟ

ภายในของตัวอาคาร  มีการจัดแสดง เกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟ โดยจัดฉายเป็นภาพยนต์ มิติ และเรื่องราวเกี่ยวกับคางคก ชนิดต่าง ๆ  ที่หาพบได้ในเมืองไทย มีอยู่กว่า 20 ชนิด และมีการรวบรวมของดีด้านเกาตรกรรม ของจังหวัด ไว้เป็นเรื่องราว ต่าง ๆ ให้เป็นเกร็ดความรู้ต่าง ๆ ของจังหวัดแห่งนี้ ที่แต่ละชั้น จะมีเรื่องราววิถีชีวิตของพื้นถิ่นชาวบ้าน บอกเล่าเรื่องราว ความเป็นอยู่ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ที่มีประเพณี อย่างของชาว ยโสธร 

 ที่เป็นเรื่องเล่าที่เป็นตำนานพื้นเมืองของชาวอีสาน แถมยังสอดแทรกเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในมีนิทรรศการบอกเรื่องเกี่ยวกับที่มาของบั้งไฟโดยมีการจัดฉายเป็นภาพยนตร์ 4 มิติ และนิทรรศการเกี่ยวกับคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ในเมืองไทย ที่มีอยู่กว่า 20 ชนิด ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ อพวช. ร่วมศึกษากับมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งมีการเพิ่มการจัดแสดงคางคกชนิดต่าง ๆ ที่พบได้ทั่วโลก ซึ่งมีกว่า 500 ชนิดร่วมด้วย

                                                                          ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑











พิพิธภัณฑ์สงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์เขมรแดง ที่เสียมเรียบ กัมพูชา


พิพิธภัณฑ์สงคราม

war Museaum Cambodia

   ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยุคเขมรแดง

           -------------------------
โดย.. ณ  วงเดือน
  


        เมื่อปลายปี  2559 เดือนพฤศจิกายน ได้มีโอกาศเดินทางไปเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์สงครามสมัยยุคเขมรแดงเรื่องอำนาจ ยังหลงเหลือร่องรอย อาวุธสงครามที่ใช้ฆ่าล้มล้างกันเอง พิพิธภัณฑ์สงคราม หรือว่า war museaum cambodia   ที่นี่เป็นที่รวบรวมเอาซากอาวุธที่ใช้เข่นฆ่ากันในยุคเขมรแดงตอนนั้นมาจัดแสดงรวบรวมเอาไว้ยังที่นี่   มีค่าเข้าชมคนละ 5 ดอลล่า
                     เมื่อเราเดินเข้าไปยังด้านในของพิพิธภัณฑ์ จะพบการจัดแสดงของ
ซาก รถถัง จรวดต่อสู้อากาศยาน  ปืนใหญ่  กับระเบิด ลูกระเบิดชนิดต่าง ๆ มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญมากมาย รวมทั้ง อาวุธปืนต่าง ๆ มาจัดแสดง  และภาพถ่ายของประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการถูกกับระเบิด หรือว่าเดินไปเยียบกับพวกระเบิดที่ถูกฝังดินเอาไว้ในยุคนั้น
      

พิพิธภัณฑ์สงครามนี้มีการจัดแสดงประวัติศาสตร์ของสงครามกลางเมืองระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาและทหารของฝ่ายเขมรแดง โดยจะมีซากรถถัง ยุทโธปกรณ์ต่างๆที่ไปกู้ซากมาจากเขตการสู้รบในจังหวัดต่างๆ เช่น อัลลองเวง เสียมเรียบ และอื่นๆ เพื่อนำมาจัดแสดงไว้ที่นี้ มีอาวุธสงครามแบบต่างๆให้หยิบมาถ่ายภาพได้่  เราเดินเที่ยวชมภายใน ประมาณ 30 นาที โดยรอบ ซึ่งก็มีซากรถถังมากมายที่ถูกทำลาย นำมาเก็บไว้เพื่อจัดแสดงถึงความเป็นมาในอดีตให้ได้รับรู้ถึงความโหดร้ายของสงคราม ที่ให้ได้มาเป็นข้อคิดเตือนสติ ของคนในสมัยปัจจุบันนี้ ได้ผ่านมุมมองของความคิดที่แตกแยก ในอดีตที่ทำให้ถึงขนาดเกือบสิ้นชาติ แผ่นดินกันเลยทีเดียว
  เราเดินดูด้วยความสลดหดหู่ใจอยู่สักพัก จึงได้พากันออกมา ซึ่งในการเดินทางไปครั้งนั้น กับท่านมหาเปรียญ 4 ประโยค ท่าน กมล  มงคลเกตุ   เป็นที่ปรึกษาด้านวรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คอยพาตะลอนดูในความเป็นไปของมนุษยชาติ ที่ว่า คนพูดจาภาษาเดียวกันแท้ ๆ ทำใมถึงได้มีจิตใจโหดร้ายฆ่ากันเองได้แบบไม่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้เพราะ แค่มีมุมมองความคิดที่แตกต่าง ๆ ในแนวการปกครองเพียงเท่านี้เอง
    เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น พรรคคอมมูนิสกัมพูชา         สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญ  และเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตร และใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมา
                        เพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชา  ต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วง คริศตวรรษที่ 20    หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน พ.ศ. 2522

            อำนาจการปกครองของเขมรแดงก็สิ้นสุดลง เนื่องจากการบุกยึดกัมพูชาของกองกำลังจากเวียดนาม  แต่อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเคลื่อนไหวแบบต่อต้านของเขมรแดง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันตกของกัมพูชา ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ที่ไทย  ก็ยังคงดำเนินต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 90 จนกระทั่ง ปี 2539  นายพล พต หัวหน้าขบวนการในขณะนั้น ก็ยุติการทำงานของเขมรแดงลงอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพ  พล พต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่   15 เมษายน  2541  โดยที่ยังไม่ได้รับการพิจารณาคดีสังหารหมู่ประชาชนในช่วงที่เขมรแดงยังมีอำนาจอยู่แต่อย่างใด  เช่นเดียวกันกับนายพล ตามํอก อดีตผู้บัญชาการเขมรแดง ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  21  กค. 2549   ระหว่างการควบคุมตัวจากรัฐบาล  กัมพูชาเพื่อรอพิจารณาคดี   ปัจจุบัน มีเพียง
คังเอ็กเคียว   (หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ดุช”)    อดีตหัวหน้าค่ายกักกันตวลสะเลง และนวนเจีย อดีตสมาชิกระดับผู้นำ เท่านั้นที่ถูกนำตัวมาพิจารณาโทษจากศาลพิเศษซึ่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีของอดีตกลุ่มผู้นำเขมรแดงโดยเฉพาะ โดยได้เริ่มการพิจารณาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550  เป็นต้นมา       
                      บันทึกการท่องเที่ยว จึงขอรวบรวมบทความต่าง ๆ มาบันทึกไว้เป็นความรู้ยังที่แห่งนี้ด้วยที่ครั้งหนึ่งได้ไปเยือนมาแล้ว..



                                                ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

วัดใหญ่ ในเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

วัดหลวงในเมือง

เสียมราฐ กัมพูชา

โดย.. ณ  วงเดือน

  ครั้งหนึ่งเมื่อผมได้เดินทางไปยังเขมร ที่เคยเป็นเมืองเก่าแก่มาแต่สมัยขอมเรืองอำนาจเมื่อหลายพันปีก่อน  ที่วัดหลวงแห่งนี้ ตั้งอยู่ในตัวเมืองเสียมเรียบ เขมร 



  ผมเดินทางไปยังเสียมเรียม เมืองใหญ่อีกเมือง ของประเทศกัมพูชา  ที่นี่ เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลายที่ ไม่ว่า จะเป็น นครวัด นครทม ปราสาทบายน เป็นวัดใหญ่ที่มีผู้คนไปเที่ยวกันมาก ทั้งในนักท่องเที่ยวชาวเขมรและ ชาวต่างชาติ  มักมาเยี่ยมชมที่แห่งนี้เป็นจำนวนมาก ในแต่ละวัน  

  เรามายังวัดใหญ่ ที่ผู้คนมักนิยมมาเที่ยวกันทั้งต่างชาติก็นิยมมาเที่ยวที่วัดแห่งนี้ด้วย ซึ่งวัดใหญ่นี้นั้นมีชื่อว่า วัดโปมร๊อต  (Pomrot)      เป็นชื่อของดอกไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายดอกบัวเป็นวัดหลวงในพระพุทธศาสนา มีพื้นที่ภายในสวยงาม สะอาดเงียบสงบและผู้คนแม้มาท่องเที่ยวชม ก็อยู่ในอาการสำรวมกันดี 
  ด้วยเป็นวัดใหญ่ที่มีความสวยงามและเป็นจุดเด่นของที่นี่ จึงทำให้นักท่องเที่ยวชอบมาเยือนและท่องเที่ยวกัน  ในวัดนี้ ด้านหน้าประตูทางเข้า จะมี รูปเรือสุพรรณหงษ์ และป้ายขนาดใหญ่ของวัด ที่สร้างขึ้นได้อย่างสวยงามมากเลยทีเดียว  เพราะมีรูปของนักบวช และ รูปของนิทานปรัมปรา พื้นบ้านที่เป็นตำนานของกษัตริย์โบราณของขอมในอดีต  จึงได้มีการสร้างเป็นหุ่นปั้นบอกเรื่องราว ความเป็นมา ของวัดแห่งนี้  ได้รับรู้ความเป็นมาของตำนาน ที่นี่ได้เป็นอย่างดี                                                                 


    เข้าไปด้านในวิหารของวัดนี้ ยังมีพนะพุทธรูปปางปรินิพพาน  เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีที่ให้ผู้คนได้เข้าไปเยี่ยมชมกราบไหว้ และชมความงดงามของ องค์พระ ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวเขมร ที่นับถือพระพุทธศาสนา                                                  
           ความสวยงามมีมนต์ และความสงบในองค์พระยังความมี สว่างใสในแนวธรรม ที่ผู้คนได้
นับถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ได้เป็นที่พึ่ง แม้เมื่อตอนเราจากโลกนีเไปแล้ว ได้จรรโลงจิตใจ
ได้คงความ ศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนามาอย่างเหนียวแน่น มาแต่อดีตกาลสมัยโบราณไดเป็น
อย่างดีเลยที้เดียว   เมื่อเดินดูรอบ ๆ บริเวณโดยทั่วแล้วเราจึงออกเดินทางต่อไปยังที่หมายใหม่นั้นคือจะมุ่งหน้าไปชม พิพิธภัณฑ์สงครามของเขมรแดงต่อไป  วัดนี้ เราก็มีข้อมูลและได้บันทึกไว้แต่คร่าว ๆ พอเท่านี้ เพื่อบันทึกไว้ว่า ครั้งหนึ่งเราเคยได้มาเยือนเที่ยวชมวัดใหญ่แห่งนี้แล้วที่มีชื่อว่า วัด  โปมร๊อต เป็นวัดหลวงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในตัวเมืองเสียมเรียบแห่งนี้..



เจ้าแม่กวนอิมพันมือ ตำหนักเจ้าแม่กวนอิมโชคชัย4 ลาดพร้าว กทม.


ตำหนักเจ้าแม่กวนอิมพันมือ

ซ.โชคชัย 4 แยก 39 เขตลาดพร้าว กทม.

           --------------
  โดย .. ณ  วงเดือน



        เมื่อปีที่แล้วไม่รู้นึกในใจยังไงไม่รู้ มีความรู้สึกอยากไปกราบไหว้และเที่ยวชม องค์เจ้าแม่กวนอิมพันมือใน ซ.โชคชัย 4 เขตลาดพร้าว  

    จึงได้ชวนเพื่อนมหาเปรียญ 4 ท่าน กมล มงคลเกตุ ไปเที่ยวชมและกราบไหว้ขอพรและชมความงดงามมหัศจรรย์ขององค์เจ้าแม่กวนอิม ที่เคยได้ยินทางสื่อมานานแล้วหลายปี ถือเป็นโอกาศที่ดี ได้ไปเที่ยวและชมความงดงาม ดังที่ว่ามา





เราใช้การเดินทางเข้าไปยังจุดหมายดังกล่าวไม่ยาก เมื่อเข้าไปใน ซ.โชคชัย 4 ไล่ซอยไปเรื่อย ๆ จนถึงปากซอยแยก  39  เลี้ยวซ้ายมือเข้าไปไม่ไกลมากนักจากปากซอยดังกล่าว ที่ตั้งของตำหนักเจ้าแม่กวนอิมนี้ ตั้งเด่นตระหง่าน เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่  แหงนมองสูงตาตั้งเลยทีเดียว  ซึ่งความสูงตามที่ได้รู้รายละเอียดในภายหลังว่า สูงถึง 21 ชั้น   ตำหหนักเจ้าแม่กวนอิมนี้ เรียกว่าพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหมื่นพระองค์   เมื่อเดินเข้าไปยังภายในอาคารจะพบกับ รูปแกะสลักของเจ้าแม่กวนอิมพันมือ พันตา ที่มีความสูง 8.30 เมตร  โดยแกะสลักมาจากไม้จันทร์หอม นำมาจากประเทศจีน ปิดด้วยทองคำแท้

        มี 20 พระพักตร์ประดิษฐานโดยรอบทั้ง 4 ทิศ  ของตำหนักเจ้าแม่แห่งนี้  ไปดูประวัติการก่อสร้างความเป็นมาคร่าว ๆ ของการสร้างตำหนักเจ้าแม่กวนอิมแห่งนี้  ใน ปี พ.ศ. 2526  ท่านพระอาจารย์ใหญ่ กวงเซง ศาสนสถานฝ่ายมหายาน หลังจากที่ท่านได้เดินทางไปปฎิบัติธรรมยังประเทศต่าง ๆ เมื่อท่านกลับมาเมืองไทย ท่านมีความตั้งใจที่จะสร้างสถานที่ปฎิบัติธรรมขึ้น เพื่อเป็นการเผยแผร่พระธรรมคำสอนในพุทธศาสนาและสร้างสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.2543   ถือเป็นการสร้างปฎิบัติบูชาถวายแด่เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร และเจ้าชายอั้งไฮ้ยี่ แบ่งการก่อสร้างออกเป็นสองฝั่ง คือ ฝั่งพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ ภายในจะมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ มากมาย ปางต่าง ๆ กัน



ที่ตั้งเรียงรายรอบเจดีย์ เรียกว่าพระพุทธเจ้าหมื่นพระองค์และ
นอกจากนี้ยังมีเทพและเซียนต่าง ๆ ทำมาจากหินอ่อน  ตั้งอยู่รายรอบ และอีกฝั่งเป็นด้านตำหนักเจ้าแม่กวนอิมสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน มีอาคารสุขาวดี เก๋งเทพเจ้าฟ้าดิน และเสามังกร   ที่เก๋งใหญ่เป็นที่ประดิษฐานองค์พระแม่กวนอิมมหาโพธิ์สัตว์ประทับ
บนเสียมชู้ และยังมีรูปปั้นเจ้าชายอั้งไฮ้ยี่โพธิสัตว์ และพระพุทธรูปต่าง ๆ จำนวนมากที่สถานแห่งนี้ ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น รูปเทพเจ้าต่าง ๆ ที่เรารู้จักและไม่รู้จัก มีมากมาย ตลอด เจ้าปู่มังกรเขียว  ( แชเล้งเอี่ยกง ) โดยมีความเชื่อว่า ที่ตั้งแห่งนี้คือส่วนหัวของพญามังกร (เล่งเถ๊า )เมื่อผู้ใดหรือใครมาขอพร ยังที่แห่งนี้ ผู้นั้นมักสมปรารถนา  ซึ่งสถานที่แห่งนี้ เปิดให้ผู้คนเข้าไปกราบขอพรและท่องเที่ยวชมเป็นบุญตาและเสริมบารมี

วันอาทิตย์ ถึง ศุกร์ สถานที่จะเปิดเวลา 07.00-19.00 น.  ส่วนวันเสาร์ จะเปิดเวลา 07.00-20.00 น. การขึ้นไปยังชั้นบนของตัวมหาเจดีย์  จะขึ้นได้เฉพาะ วันเสาร์ -อาทิตย์เท่านั้น ในช่วงเวลา 09.00-16.00 น.  ทางผู้เขียนนำข้อมูลมาบันทึกไว้เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำ ให้คงอยู่และระลึกถึงได้ตลอดเวลาเมื่อเข้ามาอ่านและเก็บบันทึกไว้อีก เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจของผู้เขียนเอง...




           @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@









หลวงตารวย พระเกจิดัง วัดป่าสัก จ.สระบุรี


บรมครูพ่อปู่เพชรฉลู


หลวงพ่อพยุงค์ ธมฺมทินโน วัดป่าสัก จ.สระบุรี 

    ------

โดย. ณ วงเดือน


       

        หลวงพ่อพยุงค์ ธมฺมทินโน วัดป่าสัก ผู้สืบทอดพุทธาคม หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ และ หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยาหลังจากนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดพุขามหวาน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ได้สร้างเสนาสนะภายในวัดจนแล้วเสร็จ 

              หลวงพ่อพยุงค์ ธมฺมทินโน เกิดในตระกูล “นามลึก” บิดาชื่อ นายทอง นางสังวาลย์ นามลึก พื้นเพเป็นคนอยุธยา  เกิดวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๓ ต.บ่อโพง อ.นครหลวง จ.อยุธยา
 อุปสมบทโดยมี...(พระอุปัชฌาย์) พระครูสุวรรณธีรคุณ (พระกรรมวาจาจารย์) พระอาจารย์เหลือ (พระอนุสาวนาจารย์) พระอธิการสมคิด สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) มีศักดิ์เป็น “หลวงอาแท้ๆ” สอนวิชากรรมฐาน ป.ธ.๙ ประโยค  หลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้  อ.บางปะหัน จ.อยุธยา  นี่เก่งเรื่องเหนียวมากๆ คงกระพันชาตรี” สมัยก่อนโจรปล้น 3 คน ขึ้นกุฏิ จะมาเอาผ้า

ยันต์,ตะกรุด หลวงพ่อหวานไม่ให้ พอเจอเท่านั้นละ กระหน่ำตีไม่ยั้ง!! จะเอาให้ได้ พอได้สมใจแล้ว เผ่นหนีกันคนละทิศละทาง พอทราบข่าว!!..ชาวบ้านแห่มาที่กุฏิ “ปาฏิหาริย์ หลวงพ่อหวาน ไม่เป็นอะไรเลย สุดยอดคงกระพันชาตรี” หลวงพ่อหวาน บอกว่าปล่อยให้เขาทำไปเถอะ “ประเดี๋ยวไม่ได้ตายดี” หลังจากนั้น มีชาวบ้านแจ้งว่า โจรทั้ง 3 คนนั้น ขับรถแหกโค้งตาย!หลวงพ่อพยุงค์ อยู่กับหลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ มานานหลายสิบปี ปรนนิบัติรับใช้ท่านมาโดยตลอด สืบสายวิชาอาคมได้มาจนหมดสิ้น หลวงพ่อหวานนี่มอบหัวใจให้ หลวงพ่อพยุงค์มาด้วย “ลงยันต์ให้บนตะกรุด ดอกครู”
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ศิษย์ผู้สืบทอดวิชาอาคมมาจาก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และได้พบกับ “กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ศึกษาวิชากับท่านบ้าง แต่ส่วนมากจะได้วิชาจาก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลากหลายแขนง
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ได้ฝึกฝนทบทวนสรรพวิชาอาคมต่างๆ อย่างเข้มขลัง “ถือว่าเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ศุข อย่างแท้จริง” หลวงพ่อพยุงค์ ก็ได้สืบสายร่ำเรียนพุทธาอาคมมาจากหลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง “ชนิดเรียกว่าพุทธาคม สิงห์เหนือ เสือใต้” ครบถ้วน...หลังจากนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดพุขามหวาน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ได้สร้างเสนาสนะภายในวัดจนแล้วเสร็จ ปัจจุบันได้มาอยู่ที่วัดป่าสัก ญาติโยมศรัทธามาก ในองค์หลวงพ่อพยุงค์ ชาวบ้านถวายที่ดินให้อยู่หลายไร่ เพื่อสร้างอุโบสถ ปัจจุบันสร้างแล้วเสร็จ สวยงามสง่าใหญ่โตมาก ด้วยบารมีของท่านโดยแท้จริง...
หลวงพ่อพยุงค์ นี่มีญาณ “ครูใหญ่” องค์ครูพ่อปู่เพชรฉลูกัณฑ์...หนึ่งเดียวในประเทศ!!..ยันต์คงกระพันชาตรี “เหนียวยันกระดูก” ผูกสูตรโดยหลวงพ่อหวาน วัดดอกไม้ มอบให้ไว้ประจำกาย ให้เสก ให้เป่า ช่วยเหลือศิษย์ยามจำเป็น ประสบการณ์มากมาย…
อักขระเลขยันต์ผูกสูตร มีความหมายหมด ยันต์ดีมีชีวิต ๓ คัมภีร์ ๕ คัมภีร์ ๗ คัมภีร์ ๙ คัมภีร์ ๑ หัวใจยันต์ กับกำหัวใจยันต์ไว้ ปิดประตูยันต์ทั้ง ๔ ทิศ เหนือ ใต้ ออก ตก “ปิดมหาอุตม์ให้คงกระพันชาตรี” วัดป่าเงียบสงัด โจรบุก!! วัดกลางวันแสกๆ อ้างมาขอยาสมุนไพร จับหลวงพ่อพยุงค์ไว้บนกุฏิ ปืนจี้ไว้ มัดแขนไขว้หลัง ดิ้นไม่ได้ มาปล้นเอาเงินที่ญาติโยมมาทำบุญ “หลวงพ่อพยุงค์บอกว่า มึงทำแบบนี้ มึงยิงกูเลยซิ” โจรตอบทันควัน ผมไม่ยิงหลวงพ่อหรอก!! บอกว่าหลวงพ่อพยุงค์ เหนียวคงกระพันมากๆ (แค่จะมาปล้นเอาเงินเท่านั้น ปาฏิหาริย์ ตาย..!! แล้วฟื้น หลวงพ่อพยุงค์ องค์นี่ล่ะ ยมบาลมาส่งถึงวัดป่า บอกยังไม่ถึงอายุไข ให้กลับมาช่วยเหลือลูกศิษย์
ศิษย์พันโท” ขับรถใหญ่โต ไปงานเลี้ยงพกตะกรุดเสกหลวงพ่อพยุงค์ “แหกโค้งชนเสาไฟหัก” พันโทรอดปาฏิหาริย์ มานิมนต์หลวงพ่อพยุงค์ ไปดูซากรถพังยับเยิน “ยกมือท่วมหัว”หลวงพ่อพยุงค์ เล่าให้ฟังว่า โยมมาบอก เอาตะกรุดไปลอง!! ปืนยิงไม่ออก เลยบอกลูกศิษย์ไปว่า “ลูกเอ้ย ของเราดีอยู่แล้ว คงกระพันชาตรี” ไม่ต้องเอาไปลองหรอก
      ลูกศิษย์หลวงพ่อพยุงค์ ขับรถมอไซค์กลับบ้าน โดนจี้ 2 คน ลั่นไกไปที่ขา 3 นัด ไม่ออก ตกใจ!! เพ่นแน็บ..!!
ตะกรุดก้นบุหรี่” ใครมากราบหลวงพ่อพยุงค์ ต่อคิวรอยาวเยียด เพื่อรอบุหรี่หมดม้วน ให้เสก ขึ้นคอ ค้าขายดี บอกต่อลูกศิษย์มาแน่นอนวัด ปัจจุบัน (เลิกบุหรี่แล้ว)แม่ค้าขายของแถววัดป่าสัก มาทำบุญปลัดขิกไป ขายของดี น่าแปลกใจ!!..กลับมากราบหลวงพ่อพยุงค์ที่วัด ทำบุญสร้างโบสถ์อีก
 นี่เป็นเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาจึงได้นำมาบันทึกไว้ในอนุทิน บันทึก ออนทัวร์ ทราเวล ด้วย

 (๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) หลวงพ่อพยุงค์ ธมฺมทินโน เกจิดังเมืองสระบุรี บรมครูพ่อปู่เพชรฉลูกัณฑ์ วัดป่าสัก ละสังขารอย่างสงบ เวลา ตี ๐๕.๐๐ น. สิริอายุ ๘๙ ปี  ที่วัดป่าสัก จ.สระบุรี..
 

ตำนานเสาร้องไห้ ที่วัดสูง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

       

ตำนานเสาร้องไห้ นางพรายที่อยู่กับเสาไม้ ที่วัดสูง 

        ---------
    โดย.. ณ วงเดือน

ตำนานเสาร้องไห้ เมื่อประมาณปี 2501 ในคืนแห่งความมืดวันหนึ่ง นางเฉลียว จันทร์ประสิทธิ์ชาวบ้านผู้ใจบุญ ได้ฝันว่ามีหญิงคนหนึ่ง รูปร่างเลือนรางบอกว่าเป็นนางไม้ประจำเสาที่จมน้ำอยู่ ให้บอกสามีเอาเสาขึ้นมาจากน้ำด้วย นายเผ่าผู้เป็นสามีก็ไม่เชื่อ มีคน เล่าต่อกันมาว่า นางไม้ของเสาต้นนี้ได้ไปเข้าทรงกับผู้อื่นอีกหลายครั้งจนในที่สุดชาวบ้านหลายคนก็ได้ไปร้องขอให้นายเผ่าเอาเสาต้นนี้ขึ้นมาให้ได้ ตามคำล่ำลือ จนนำมาสู่การนำเอาเสาขึ้นมาจากน้ำ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2501 และในวันนี้เอง ได้รับคำบอกเล่าจากนายจำลอง ขาววรรณะ ว่า

ในวันที่ 23 เมษายน 2501 แดดร้อนจัดมากขณะที่กำลัง นำเสาขึ้นจากน้ำ ฉับพลันท้องฟ้าก็มืดครื้มไปหมดทันที มีเสียงฟ้าผ่าดังมากเป็นประกายสีเขียวไปทั่ว เสียงฟ้าร้องคำรามทำท่าคล้ายฝนจะตก ทำให้ผู้คนที่มาเข้าร่วมพิธีกันเป็นจำนวนมากต่างตื่นตาตื่นใจและดีใจกันทั่วหน้าที่สามารถนำเสาศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาจากน้ำได้ในที่สุด







คำบอกเล่าต่อกันมาว่าเสาตะเคียนต้นนี้ เป็นเสาที่จะนำไปเป็นเสาเอกในสมัยสร้างกรุงเทพเป็นราชธานี โดยถูกส่งลอยน้ำมาในแม่น้ำป่าสัก แต่การเดินทางช้าไป ทางกรุงเทพจึงได้เลือกเสาต้นอื่นเป็นเสาเอกแทน เสาต้นนี้จึงลอยทวนน้ำมาจมอยู่บริเวณคุ้งน้ำป่าสัก อ.เสาไห้ และในยามค่ำคืนมักมีชาวบ้านได้ยินเสียงร้องไห้ขึ้นมาจากท้องน้ำป่าสัก จึงกลายมาเป็นตำนานเสาร้องไห้ ซึ่งชาวบ้าน อ.เสาไห้เชื่อว่าเป็นเสียงร้องจากเจ้าแม่ตะเคียนทอง เป็นเรื่องเล่าและความเชื่อมาจนถึงทุกวันนี้ในวันที่ 23 เมษายน 2501 เป็นวันที่เชิญเสาไปประดิษฐานที่วัดสูง เวลา 9.00 น. เริ่มพิธีเคลื่อนเสาไปสู่วัดสูง โดยตั้งศาลสูงเพียงตา มีหัวหมูซ้ายขวา บายศรี 3 ชั้น ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกที่เสาแล้วใช้เชือกผูกแพที่รับเสา ให้ประชาชนดึง เมื่อได้ฤกษ์ พระสงฆ์ 9 รูปเจริญชัยมงคลคาถา ประชาชนที่อยู่บนฝั่งหน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ก็ดึงเชือกแพลูกบวบให้เคลื่อนไปทางทิศตะวันออก มีเรือแตรวงนำขบวน มีเรือต่างๆร่วมขบวนอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เคลื่อนแพเสามาถึงท่าถนนข้างโรงสีเสาไห้แล้ว ก็ใช้เกวียน 4 เล่ม ผูกเสาไว้ใต้เกวียน แล้วมัดยอดเสาให้พ้นดินเล็กน้อย ผูกด้วยเชือกโยงเรือขนาดใหญ่มัดจากเกวียนไปให้ถึงประชาชนเสาก็เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยดี


เมื่อขบวนมาถึงใกล้ศาลเจ้าพ่อซึ่งอยู่ทางแยกเข้าวัดสูงนั้น แม้จะดึงฉุดอย่างไรเกวียนก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ทั้งที่ถนนราบเรียบ จึงได้พยายามแก้ไขจนเสียเวลาไปถึง 2 ชั่วโมง นายเผ่า จันทร์ประสิทธิ์ ก็ระลึกได้ว่า เมื่อนางไม้เริ่มเข้าทรงครั้งแรกนั้นได้บอกเพียงว่าใช้สายสิญจน์ให้ประชาชนดึงแทนเชือก จึงได้เปลี่ยนมาใช้ด้ายสายสิญจน์แทนเชือกใหญ่ ขบวนเกวียนก็สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างง่ายดายเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก 10 นาทีก็ถึงวัดสูง เมื่อเวลา 14.30 น. บังเกิดความประหลาดใจโดยทั่วกัน จากนั้นก็นำเสาประดิษฐานไว้ที่ศาลชั่วคราว
ในวันนั้นที่นำเสาขึ้นจากน้ำมีประชาชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมากประมาณสามหมื่นคน นับเป็นวันประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของชาวอำเภอเสาไห้ที่ต้องจารึกไว้ ต่อมาจึงได้สร้างศาลถาวรขึ้นที่หน้าพระอุโบสถในวัดสูง เป็นศาลกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร มีมุขออกด้านตะวันออก พื้นคอนกรีต












 มีฐานก่ออิฐสูงรองรับเสาตะเคียน ต่อมาเมื่อวัดสูงได้สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น จึงได้ดัดแปลงศาลาการเปรียญหลังเดิมเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม และอัญเชิญเสาแม่นางตะเคียนมาประดิษฐานที่ศาลหลังใหม่
 เมื่อ พ.ศ. 2530 มาจนถึงทุกวันนี้แม่นางตะเคียน วัดสูง อำเภอเสาไห้ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอำเภอเสาไห้ และยังคงได้รับการสักการะจากผู้คนที่เชื่อถือ ศรัทธามาโดยตลอด เทศบาลตำบลเสาไห้ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมงานประเพณีอาบน้ำแม่นางตะเคียน เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ที่วัดสูงเป็นประจำทุกปี โดยงานจะจัด ขึ้นในวันที่ 23 เมษายน มีสามวันสามคืน ใครที่อยากไปร่วมงานได้ตามวันในช่วงดังกล่าว หรือไปกราบไหว้ขอพรได้ทุกวัน...