16 ก.ค. 2563

กราบพระธาตุโพน เมืองไชพูทอง สปป.ลาว

โดย.ณ  วงเดือน
เมื่อปีก่อน บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ  ได้มีโอกาศไปเที่ยวสะหวันนะเขต สปป.ลาว และได้ไปกราบพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ของเมืองลาวอีกแห่ง นั้นคือวัดเจติยาราม หรือพระธาตุโพน ตั้งอยู่เมืองไชพูทอง เป็นอีกพระธาตุที่ชาวลาว ให้ความเคารพนับถือกันมากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระธาตุอิงฮัง แต่อย่างใด
  ในการเดินทางมาในครั้งนี้ ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัวข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.มุกดาหาร ซึ่งเมื่อเราขับข้ามเข้ามาสู่ฝั่งลาวแล้ว จะเจอวงเวียนกะปอมยักย์ หรือไดโนเสาร์  ใช้ทางออกด้านขวามือ เพื่อมุ่งสู่พระธาตุโพน เราขับรถผ่านเลี่ยงตัวตลาดสะหวันนะเขตมา ใช้เส้นทาง สาย 9 B จากตัวเมืองมาถึงบ้านหลัก 35 ระยะทางกว่า 35 กม.
จากนั้นเลี้ยวขวามาตามทางอีกประมาณ 15 กม. ถนนตัดผ่านท้องนาไร่ขับมาเรื่อย ๆ ขนถึงเมืองไชพูทอง แล้วขับรถต่อมาอีกเกือบ  20  กม. ก็จะมองเห็นพระธาตุโพนอยู่กลางท้องนา สลับกับต้นตาลตะโนดสูงลิบลิ่ว  มองเห็นได้แต่ไกลเลยทีเดียว
พระธาตุโพน ตามที่มีการเขียน ก็มีหลายชื่อเช่น โพน ,โฟน,  โผ่น ทราบมาว่า พระธาตุแห่งนี้ เดิมเป็นปราสาท สร้างมาแต่สมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจ แผ่อาณาจักรมาถึงแถบนี้ด้วย

มีศิลาจารึกเป็นภาษาลาว ไว้ว่า  " พะทาดโผ่น หลือ เจ้าแท่นคำเหลือง เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ตั้งอยู่ห่างจากเทสะบานเมืองไชพูทอง 22 กิโลแม็ค ตามเส้นทางเลกที่ 13 ใต้ มุ่งหน้าสู่แขวงจำปาสัก ตามตำนานได้ก่าวไว่ว่า " พะทาด อง นี้ส้างขึ้นในตอนค่ำ ของวันพุด เดือน 12 พส.236 

ส้างด้วยหินเข่าจี่หลือ เอิ้นว่า หินหนามหน่อ ก่อเป็นทาดอุโมง (ฮูปโอขว้ำ ) กว้างด้านละ 12 วา สร้างมื้อหนึ่ง กับคืนหนึ่ง ก็สำเล็ดมาถึงปัจจุบันนี้ มีอายุ 2,500 ปี  สะนั้นสะถานที่นี่จึงถือเป็นมอละดกตกทอด เป็นสมบัติมิ่งเมืองที่มีค่าสูง โดดเด่นทางด้านวัดทะนะทำอันล่ำค่า และเป็นปะหวัดสาด  ซึ่งติดพันกับแบบแผนดำลงชีวิตของปะชาชนลาว บันดาเผ่ามาแต่ดึกดำบัน และยังเป็นสะถานที่ท่องเที่ยว ทางด้านวัดทะนะทำที่สำคัน และมีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของสะหวันนะเขต.
นั้นก็เป็นคำจากรึก ที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของพะทาดโพ่น แห่งนี้  ซึ่งเป็นที่ชาวบ้านทั้งชาวลาว จะนับถือกันมาก ตลอดจนชาวไทย ที่ได้เข้ามากราบไหว้ขอพร มักได้รับพรสมมุ่งมาดปรารถนาทุกคน
ในพื้นที่ของวัด ตลอดจนรอบบริเวณ โดยทั่วไป จะเห็นต้นตาลขนาดใหญ่ อยู่ทั่วไป และภายในบริเวณวัด ก็จะมีชาวบ้านนำ น้ำตาลก้อน ที่ทำจากตาลตะโนดมาเคี่ยวจนเป็นก้อน นำมาขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวกราบขอพรกันยัง บริเวณวัดนั้นเอง
ทางด้านขวามือ ของวัดพระทาดโพน ยังมีสระน้ำ ที่เชื่อว่าเป็นสระน้ำอะโนดาด ที่กว้างใหญ่ กินพื้นที่อาณาบริเวณของวัดหลายสิบกว่าไร่  มีต้นมะพร้าวปลูกไว้โดยรอบ และมีความสงบร่มเย็นพอสมควร
ที่พระธาตุโพน ในแต่ละวันจะมีชาวบ้าน ทั่วทุกแห่งหน ที่นับถือและมีความเชื่อมั่นในพุทธานุภาพของ องค์พระธาตุ โพ่น ว่าเมื่อมาบนบานศาลกล่าว ขอให้ทั้งงานการในหน้าที่สำเร็จ  ตลอดสิ่งติดขัดในชีวิตให้หมดไป ให้ชีวิตมีความสะดวก คล่องตัวทั้งในการงาน การเงิน เมื่อมาขอแล้วมักได้ดังที่ขอ และเมื่อสำเร็จจากพร ที่ขอแล้ว เมื่อมีเวลาและโอกาศ ก็จะพากันมาแก้บน กับพระธาตุโผ่น อีกทีหนึ่ง

ซึ่งที่นี้ มักนิยมบูชาพระธาตุโพน ด้วยขันหมากเบง  ซึ่งทำมาจากใบตองกล้วย ทำเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ หลาย ๆ อันเสียบติดกันเป็นกรวยกลม แล้วแซมด้วยดอกไม้หลากสี  และธูปเทียนขันห้า ใส่มาในพานบ้าง หรือ ทำเป็นกรวยคู่ มีดอกไม้ธูปเทียนเสียบไว้โดยรอบ นำมาบูชา จะเป็นการบนบาน หรือ การแก้บนก็จะใช้ขันหมากเบ็ง ในการบูชา ที่พระธาตุโพนแห่งนี้ทุกครั้ง 
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุโพนนี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชาวลาวเอง หรือว่าชาวไทย ตลอดจน ชาวลาวผู้อพยพไปอยู่ต่างแดนทำมาหากิน เมื่อทำมาค้าขึ้นกิจการเจริญรุ่งเรือง ตามที่ได้เคยมาขอพร ก็จะไ้ด้เห็นผู้คน ที่พากันมาไหว้กราบขอพรแก้บน ในแต่ละวันอยู่เป็นอันมากแต่เช้าจรดเย็นทุกวัน


ความงดงาม ของวัดวา และความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรอบ และประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ยังสืบทอดรักษา มาได้อย่างโบร่ำโบราณ ในทุกวันนี้ ทางวัดของที่นี่ ก็ยังสืบสานอนุรักษ์ วัฒนธรรมอันดีงามของชาวลาวไว้ได้อย่างเหนียวแน่น การไหว้พระสวดมนต์ การทำพิธีกรรมของที่นี่ ก็ยังมีมนต์ขลัง อย่างในอดีต
บันทึกเที่ยวในความทรงจำ มีความประทับใจ ในการได้มาเที่ยวชม และดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทางฝั่งนี้  และกราบไหว้ ขอพรพระทาดโพน ในครั้งนี้ จึงขอบันทึกเรื่องราวและความเป็นมาต่าง ๆ ไว้ให้อยู่ในความทรงจำของผู้เขียน ตลอดไป ..

26 พ.ย. 2562

ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม

ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม

โดย..ณ  วงเดือน



            ผมได่ไปเยือนดอนหอยหลอด มานานหลายปีแล้ว ด้วยความที่อยากรู้ว่า หอยหลอดมีที่มาอย่างไร จึงได้เดินทางไปเยือนเพื่อเที่ยวชมสักครั้งหนึ่งให้เห็นกับตา

                   ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กอง มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว กิโลเมตร ในพื้นที่  3  ตำบลคือ บางจะเกร็ง   แหลมใหญ่ บางแก้ว อ.เมืองสมุทรสงคราม   พื้นที่นี้เท่านั้นที่พบกับหอยหลอด ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก ที่มีทรายลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นนั้นคือ ทรายขี้เป็ด ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของหอยหลอดชนิดนี้นั่นเอง

  เมื่อเดินทางเข้าไปยังดอนหอยหลอด ซึ่งทำให้เป็นสถานที่พักผ่อนของผู้คนทั่วไปที่แวะเวียนมาเที่ยว  เลี้ยวเข้าไป มีต้นสน ปกคลุมให้ร่มเงา ชาวบ้านนักท่องเที่ยวที่มาปู่เสื่อ พักผ่อนกับลูกหลาย ส่วนมอง ออกไปลิบ ๆ ในทะเล พบเรื่อหางยาว พานักท่องเที่ยวออกไปชมวิว โดยรอบ จึงได้เดินชมแวะรอบถ่ายรูปเป็นที่ระลึก 
   หอยหลอดยังสามารถไปชมได้อีกแห่งนั้นคือ          ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครงดอนหอยหลอด สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด” ดอนหอยหลอดมีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 แห่ง แห่งแรก ได้แก่ ดอนนอก อยู่บริเวณปากอ่าวแม่กลอง เดินทางไปได้โดยทางเรือ ดอนใน อยู่ที่ชายหาดหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง และอีกแห่งคือ ชายหาดหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว สามารถเดินทางไปได้โดยทางรถยนต์ บริเวณสันดอนมีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง
      แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวน มากที่สุด จึงเป็นจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้หอยหลอดเป็นหอยชนิด 2 ฝา ตัวสีขาวขุ่น มีเปลือกคล้ายหลอดกาแฟ ฝังตัวอยู่ในเลน การจับหอยหลอด จะจับในช่วงน้ำลง โดยใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดก้านธูป จุ่มปูนขาว แล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด หอยจะเมาปูนแล้วโผล่ขึ้นมาให้จับ ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด 
       ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา
บริเวณดอน หอยหลอดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีการแสดงดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 16.30 - 18.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและร้านขายสินค้าของที่ระลึกหลายร้านเรียงรายบริเวณ ดอนหอยหลอดขายสินค้าประเภทอาหารทะเลสด-แห้ง หอยหลอดสด-แห้ง น้ำปลา กะปิคลองโคน อาหารทะเลคุณภาพดีจากชาวบ้านนำมาวางขาย ให้ได้เลือซื้อหามากมาย หลายร้าน จึงขอนำเรื่องราว ที่ไปพบเจอมา บันทึกไว้ในความทรงจำดี ๆ ของผู้เขียนเพื่อเป็นความรู้ต่อไปในภาคหน้า ให้คงอยู่ตลอดไป..


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@



หาดบางแสน สถานท่องเที่ยวชายทะเลเรื่องชื่อ จ.ชลบุรี

ไปชมวิวเอาบรรยากาศ 

ที่ชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี

โดย.ณ วงเดือน
       ______
  แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่ขึ้นชื่อของภาคตะวันออก
     
      เป็นความทรงจำเมื่อหลายปีก่อน ที่ได้ไปเที่ยวหาดบางแสน  ในช่วงหลัง ๆ ไม่มีโอกาศได้ไปเยือนอีกเลย  จึงขอเขียนบันทึกไว้เป็นความทรงจำอีกแห่งหนึ่ง..
   เกือบจะค่ำมืดแล้วในวันที่เดินทางไปถึงชายหาดบางแสน
    ที่ครั้งหนึ่งในอดีตในนั้นเป็นชายทะเลรกร้างและได้พัฒนา มาเป็นแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรกในราวปี 2486 จนมาถึงทุกวันนี้
            ในทุกวันนี้ชายหาดบางแสน   ถือเป็นอีกชายทะเล อีกแห่งที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ใช้เวลาเดินทางแค่ครึ่ง ชม.ก็มาถึงแล้ว  เพราะไม่ไกลเกินไปการเดินทางสดวก  จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยเอง และต่างชาติ   มักแวะเวียนมาเล่นน้ำและพักผ่อนอยู่เนือง ๆ  โดยเฉพาะในวันหยุดต่าง และโดยเฉพาะ เสาร์ อาทิตย์ มีผู้คนพาบุตรหลานมาเที่ยวกันมาก
   เพราะตลอดชายหาดของบางแสน มีความยาวกว่า 5 กม.
"โดยชายหาดบางแสนจะมีความยาวต่อเนื่องไปจนถึงแหล่มแท่น "    ซึ่งที่นี่ ก็เป็นอีกแห่งที่ผู้คนมักเดินมากินลมชมวิวกันในช่วงยามเย็น ๆ และมี ร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว ตลอดแนวความยาวของชายหาด  และมีที่พักไว้ให้กับนักท่องเที่ยวได้ใช้เป็นที่พักผ่อนพาครอบครัวมาเที่ยวอีกด้วย
นอกจากราคาที่พักหลักร้อยแล้ว  ยังมีที่พักเป็นโรงแรมหรู ไปถึงหลักหลายพันบาทก็มี     และมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกมากมายหลายจุดกระจายเลาะเรียบชายหาดตลอดแนว                   ผมมาเที่ยวชมในครั้งนี้ก็นับรอบที่เท่าไร จำไม่ได้ แต่เพื่อกันลืมจึงขอเขียนไว้เพื่อกันลืม  เพราะถือว่า "หาดบางแสน" เป็นสถานที่แห่งแรกเลย ที่ได้มีโอกาศมาเยือนเล่นน้ำทะเล เป็นครั้งแรกในสมัยวัยเด็กจวบจน เลยวัยทำงานแล้ว มีโอกาศก็ยังจะมาเยือนท่องเที่ยวอีกให้ได้ระลึกถึงความหลัง ที่ได้มาเที่ยวเป็นแห่งแรกของการมาเห็นทะเล เป็นครั้งแรกของชีวิตก็คือ ที่ชายหาดทะเลบางแสน นี่เอง
    จึงขอบันทึกไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในความประทับใจ ของอีกหลาย ๆ คนเลยก็ว่าได้        เป็นหนึ่งในสถานที่สุดคลาสิคน่ามาพักผ่อนแบบชิว ๆ  
ในวันหยุดต่าง ๆ ได้




     เป็นอย่างดี   บางแสน  จึงถูกขอนำมาบันทึกไว้  แหล่งท่องเที่ยวในความทรงจำตลอดไป
   หากเราเดินเลาะเรียบอีกสักระยะหนึ่งแบบ เหงือเริ่มจะซึมก็จะมาถึง ยังบริเวณแหล่มแท่น ซึ่งถือว่าเป็นจุดชมวิว ติดกะชายหาดบางแสน เลยมาทางทิศเหนือนั่นเอง
โดยบริเวณแหลมแท่นจะเป็นเกาะขนาดเล็ก ๆ ยื่นออกไปในทะเล และมีโขดหินใหญ่น้อย อยู่หลายก่อน โดยเฉพาะมีอีกก้อนที่ใหญ่

กว่าก้อนอื่น ๆ ถือเป็นจุดถ่ายภาพวิว ที่สวยงามอีกด้วย และที่แหลมแท่นนี้ ทางเทศบาลยังได้จัดสร้างเป็นรูปปั้นปฎิมากรรมรูปปลาโลมา กับเกลียวคลื่นทะเล ดูสวยงามมากเลยทีเดียว ทางผู้เขียนไม่พลาดที่จะเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก และใกล้ศาลาทรงไทยลานชมวิวแหล่มแท่น ทางผู้เขียนเห็นเรือหาปลา ขนาดเล็กลอยลำ รอเวลาออกหากินของชาวประมงทะเลแห่งนี้ วิถีชีวิตความงดงาม ความเป็นอยู่ของผู้คนก็ยังมีชีวิตสีสัน ตั้งแต่อดีตจนสู่ปัจจุบันนี้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ใครอยากไปเที่ยวผ่อนคลายในชีวิตที่แสนยุ่งยากในเมืองหลวง ลองออกมาเปิดหูตาพักผ่อนดูบ้างอาจจะสบายใจเหมือนผู้เขียน จึงได้ขอบันทึกไว้..

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ตำนานเสาชิงช้า หน้าวัดชนะสงคราม ที่ศาลาว่าการ กทม.

เสาชิงช้า หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

                              -----------
                          โดย..ณ  วงเดือน
     เสาชิงช้า ได้ขับรถผ่านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครบ่อยครั้ง และผ่านเสาชิงช้าที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลางระหว่างจุดบรรจบถนนบำรุงเมือง ถนนตีทอง และถนนดินสอ  และอีกด้านเป็นจุดตัดระหว่างถนนบำรุงเมือง และถนนอุณากรรณ และถนนศิริพงษ์
          
    และเคยมีความสงสัย มานานแล้วถึงความเป็นมาของเสาชิงช้าต้นนี้  จึงได้หาข้อมูลมาเขียนไว้เป็นความรู้ เพื่อได้เป็นความรู้ตนเองและความทรงจำดี ๆ ได้อยู่ตลอดไป

   จากข้อมูล การสร้างและประเพณีมาแต่ครั้งโบราณนั้นได้ความว่า เมื่อสร้างบ้านแปงเมือง สร้างพระนครแห่งใหม่ขึ้น ได้สำเร็จลุล่วงแล้ว  จะมีการทำพิธีทางพราหมณ์  ที่สำคัญยิ่งอีกพิธีหนึ่ง นั้นคือ พิธียืนชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย เพื่อทดสอบความมั่นคงของราชธานี
      เป็นกุศโลบายที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เพื่อให้พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศาณุวงศ์ ขุนนาง คหบดี สมณชีพราหมณ์ และอาณาประชาราษฏร์น้อมระลึกถึงความไม่ประมาท
    หลังการสถาปนาราชธานีไม่นาน ได้มีการสร้างศาสนสถานที่สำคัญ   อันประดิษฐานเทวรูปพระอิศวร พระพิฆเนศ และพระนารายณ์ รวมเรียกว่า “เทวสถาน” หรือเรียกสามัญว่า “โบสถ์พราหมณ์” ในพุทธศักราช ๒๓๒๗ 
ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเสาชิงช้านั้นเอง  
   มีพราหมณ์ชาวสุโขทัยชื่อพระครูสิทธิชัย (กระต่าย) ตำแหน่งพราหมณ์พฤฒิบาศ หรือที่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียกว่า “หลวงสิทธิไชยพระหมอเฒ่า” ซึ่งเป็นที่เคารพของพราหมณ์แต่ครั้งกรุงเก่า ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
      ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเสาชิงช้าขึ้นตรงบริเวณที่ถือเป็นใจกลางพระนคร เพื่อประกอบพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย  ตามธรรมเนียมการสร้าพระนคร
          มาแต่โบราณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้สร้างเสาชิงช้าพร้อมกับสถาปนาเทวสถาน 
      สำหรับพระนครขึ้น  เมื่อวันพุธเดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ
 ปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๗    ในครั้งนั้นเสาชิงช้ามีขนาดย่อมกว่าในปัจจุบัน มีเพียงเสาหลัก ๒ ต้น ไม่มีเสาตะเกียบ ส่วนเครื่องยอดของเสาชิงช้าน่าจะมีรูปแบบ   
        เช่นเดียวกับที่ ปรากฏในปัจจุบัน มีฐานปัทม์เป็นสี่เหลี่ยมดังภาพลายเส้นที่วาดโดยชาวต่างชาติที่เข้ามาในกรุงเทพฯ สมัยช่วงรัชกาลที่ ๓ และภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

           เมื่อสร้างเสาชิงช้าและเทวสถานแล้วเสร็จ 
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีต้อนรับพระอิศวรและพระนารายณ์ที่จะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ในเดือนยี่ของทุกปี 
     อันถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของศาสนาพราหมณ์ ในระหว่าง
ที่เสด็จอยู่ในโลกนี้ 

         พราหมณ์จึงทำพิธีต้อนรับที่เรียกว่าพระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย   มีการจัดงานรับรองพระผู้เป็นเจ้าอย่างสนุกสนาน                ในสมัยโบราณการพระราชพิธีตรียัมปวายจะมีขั้นตอนสำคัญที่เรียกว่า พิธียืนชิงช้า” ปัจจุบันได้ยกเลิกเปลี่ยนเป็นพิธีเจิมเสาชิงช้าแทน เป็นการแสดงตำนานเรื่อง พระเจ้าสร้างโลก” 
          ซึ่งมีอยู่ว่า เมื่อพระพรหมธาดาได้สร้างโลกสำเร็จลุล่วง ทรงขอให้พระอิศวรไปรักษา แต่พระอิศวรทรงห่วงใยว่าโลกนี้ดูไม่น่าจะแข็งแรง เพื่อความไม่ประมาทจึงเสด็จลงมายังโลกเพียงพระบาทข้างเดียว เพราะเกรงว่าถ้าลงมาทั้งสองข้างโลกจะแตก   จึงทรงให้พญานาคอันทรงฤทธิ์มาโล้ยื้อยุดระหว่างขุนเขาสองฝั่งมหาสมุทร ปรากฏว่า  แผ่นดินของโลกยังแข็งแรงดีอยู่ 
         พญานาคทั้งหลายก็โสมนัสเป็นยิ่งนัก ลงสู่สาครเล่นน้ำและเฉลิมฉลอง เสาชิงช้า ทั้งคู่เปรียบได้กับขุนเขาทั้งสองฝั่งมหาสมุทร ส่วนขันสาครเปรียบได้กับมหานทีอันกว้างใหญ่ ซึ่งพญานาคพากันเล่นน้ำ รำเขนงสาดน้ำกันในตอนท้าย ผู้ที่ขึ้นโล้ชิงช้านี้เรียกว่า นาลิวัน 
         หมายถึง พญานาค และอีกนัยหนึ่ง มีความหมายเป็นกุศโลบายที่จะทรงสื่อสารกับชาวพระนครว่ากรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงสถาปนาขึ้นนี้มีความแข็งแกร่ง มั่นคง ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพระนครแห่งนี้จะมีชีวิตที่เป็นสุขร่มเย็นสืบไปนานเท่านาน
         เสาชิงช้า  แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด 

       ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติดสายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดินกรมศิลปากร  ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน  สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22  พย. พศ.  2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี    พศ.  2327
    จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี  พศ.2549  โดย เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี

       บันทึกท่องเที่ยวจึงขอนำบทความ การสร้างและความเป็นมาของการสร้างเสาชิงช้า ที่เคยสงสัยมานานแล้ว ขอบคุณหลายข้อมูลที่ได้นำมารวมไว้เป็นความรู้ ได้ประดับเป็นความรู้และได้บันทึกไว้ตลอดไป..
                                          @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@