30 ต.ค. 2562

ลุงเชย วัดมะกอก ที่พึ่งของนักแสวงโชคขอหวย เขตพญาไท กทม.

ขอหวยเสี่ยงโชค กับลุงเชยวัดมะกอก

โดย..ณ  วงเดือน

         ผมไปท่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ พบเรื่องแปลก และทุกเรื่องที่น่าสนใจก็จะนำมาบันทึกไว้เป็นความรู้และทรงจำที่ได้ไปพบเจอมา ได้บันทึกเรื่องต่าง ๆ ไว้ อย่างเช่น  เรื่องของศพโบราณไม่เน่าเปื่อย ที่ชาวบ้านเรียกว่า ลุงเชยนั้น ผมได้รับฟังมานาน ทั้งจากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าหนังสือ ทีวี หรือว่า วิทยุ ก็เคยเอาเรื่องศพไม่เน่าเปื่อยของลุงเชย ไปอ่านข่าว เล่าขานกันอยู่เนือง ๆ

              ในโอกาศนี้ทางผู้เขียนได้มีโอกาศ ไปที่ วัดอภัยทายาราม” หรือว่าวัดมะกอก จึงพลาดไม่ได้ที่จะไปดูให้เห็นกับตาด้วยเช่นกัน  วัดนี้ตั้งอยู่เลขที่ 15 ตรอกวัดมะกอก ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 


        ประวัติคร่าว ๆ ของวัดมะกอก เป็นวัดที่สร้างแต่ ปี พ.ศ. 2340    มีพื้นที่ใหญ่พอสมควร ที่ด้านหลังวัดมีป่าช้าเก่า  ติดท้ายวัดอวัดและความที่วัดสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๔๐ ซึ่งถือว่ามีอายุวัดนานทีเดียว
จนถึงตอนนี้ก็อายุราวๆสองร้อยกว่าปีเข้าไปแล้ว
   ที่ป่าช้าเก่าท้ายวัดแห่งนี้ มีศพคนตาย ในสมัยโบราณ  ทีได้ถูกนำมาทิ้งที่ป่าช้าท้ายวัดนี้มีจำนวนมากนับร้อยพันศพ  จนมากระทั่งทางวัดได้พัฒนาท้ายวัดที่เป็นป่าช้าเก่า และได้พบ ศพลุงเชย ที่ไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด  เป็นที่แปลกประหลาดใจในสมัยนั้นมาก จึงนำศพลุงเชย   มนุษย์โบราณศพไม่เน่าไม่เปื่อย    มาไว้ยังศาลาเพื่อที่จะคิดทำการต่อไป   ซึ่งชาวบ้านแถบนั้น ที่รู้ข่าว ต่าง แห่แหนมาดูกันเป็นอันมาก ถึงความแปลกประหลาดที่ศพมีอายุหลายร้อยปี ไม่เปื่อยเน่าแต่อย่างใด  เมื่อปากต่อปาก ผู้คนจากทั่วสารทิศที่ทราบข่าวก็มาขอหวยกันตามความเชื่อ  
ที่มา มากราบไหว้ ขอโชคลาภ บ้างก็เห็นตัวเลข ที่ปรากฏให้เห็น ถูกดวงดีก็มาก แล้วแต่วาสนา ใครมัน ยิ่งมีคนที่เคยถูกปากต่างเล่าลือต่อ ๆ กันไป  จึงยิ่งทำให้คนมาที่นี่มากขึ้น   แต่ก่อนศพลุงเชยไม่ได้อยู่ในศาลามีกระจกครอบแบบปัจจุบัน ทางวัดนำมาไว้ในศาลาและให้คนมากราบไหว้ ก็มีคนนำของมาเซ่นไว้มากมาย แต่ก็ยังมีคนลองของมาขโมยของเซ่นไหว้ไปอยู่เนื่องๆ จนมีคนมาบนกับลุงเชยว่าหากถูกหวยจะปรับปรุงศาลาติดกระจกครอบกันของหายให้ ปรากฏว่าถูกจังๆ เขาเลยมาปรับปรุงศาลาให้เป็นที่ตั้งศพ ของลุงเชย อย่างที่เห็นปัจจุบันนี้
     ในสมัยโบราณ คนสมัยนั้นมักจะมีรูปร่างสูงใหญ่ อย่างที่คนเล่าขานกันว่า คนสมัยก่อน อก 8 ศอก ซึ่งจะใหญ่โตพอสมควร  เพราะขนาดศพของลุงเชย ที่ตายแห้งเหี่ยวไปนานนับไม่น้อยกว่าเป็นร้อยปี แล้ว ยังมีความสูงถึง 2 เมตรเลยทีเดียว 
        ผู้คนที่มากราบไหว้ ขอโชคลาภ โดยเฉพาะจากหวย ทุกก่อนวันที่หวยออก ต้นเดือน กลางเดือน จะมีผู้คนแห่กันมากราบขอโชคกันอยู่เนือง ๆ   ซึ่งต่างที่มา ก็ได้รับการบอกต่อเล่าขาน ถึงความเฮี่ยน ของศพลุงเชย ที่เล่าต่อๆ กันไปนั้นเอง
 นี่คือที่มาคราวๆจากที่ชาวบ้านเล่ากัน

            ส่วนท่านที่ได้หวยตรง ๆ จะแม่นไม่แม่น จากความเฮี้ยน  ของลุงเชย ที่ให้ จะถูกตรง ๆ หรือว่าเฉียดฉิว ก็อยู่ที่ดวงวาสนา ชะตาของใครของมันนั่นเอง     ในส่วนของผู้เขียนเองก็ได้เข้าไปไหว้ขอโลชคลาภด้วยเช่นกัน เผื่อมีวาสนา ดวงมาบุญหล่นทับ จะได้มีทุนตะลอนไปในที่ต่าง ๆ มากขึ้น   ใครที่ไปชมแล้วหิว ที่ด้านข้าง ๆ วัดริมคลอง ยังมีร้านก๋วยเตี๋ยวเรือชื่อดัง ให้บริการกับผู้คนทั่วไปในรสชาดที่ถูกปาก ก็ลองไปชิมกันดู  วัดมะกอก ไปมาสะดวก อยู่ติดข้าง ๆ ใกล้กับ รพ.พระมงกุฎนั้นเอง ก็ลองมาพิสูจน์ความเฮี้ยน ขอโชคลาภกันดูครับ ผู้เขียนก็ไปมาแล้วจึงนำเรื่องราว ที่เป็นที่น่าสนใจของผู้คน มาบันทึกไว้เป็นอีกเรื่องราวหนึ่ง ให้อยู่ในความทรงจำตลอดไป..

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

29 ต.ค. 2562

วัดพูสะเลา เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว

 พระใหญ่บนยอดเขาพูสะเลา อีกจุดแลนมาร์คหนึ่งของจำปาสัก

โดย..ณ  วงเดือน

     
                     เมื่อช่วงหน้าหนาวของปีก่อน ทางผู้เขียนได้มีโอกาศไปเที่ยวยังแขวงจำปาสัก สปป.ลาว  ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นดินแดนทางลาวใต้ เลยก็ว่าได้ จากกการเดินทางผ่านด่านช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลฯ   โดยการเดินทางครั้งนี้ไปกับคณะทัวร์ของผู้แสวงบุญ โดยการนำของท่านพระครูศรีสุตาลังการ จอ.เขมราฐ เป็นผู้นำพาในการไปเที่ยวเยือนลาวใต้ในครั้งนั้น

           เมื่อทำการพิธีทางการตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งหากใคร
มีพาสปอตก็ง่ายหน่อย หลังทำการผ่านพิธีเข้าเมืองเป็นที่
เรียบร้อย เราเดินทางไปยังจุดหมายแรก นั้นคือ วัดพูสะเหลา ซึ่งวัดนี้จะอยู่บนเนินเขาไม่สูงมากนัก มองจากฝั่งตัวเมืองจำปาสัก สามารถเห็นพระพุทธรูปสีทององค์ใหญ่ บนยอดเขาลิบ ๆ ได้แต่ไกล ซึ่งเมื่อเราข้ามสะพานลาว-ญี่ปุ่น จากเมืองปากเซ  ด้านซ้ายมือคือที่ตั้งวัดพูสะเหลา  ซึ่งด้านหน้าของวัด นี้ยังมีบันไดหลายร้อยขั้น เพื่อเดินขึ้นไปยังด้านบน เลยมาอีกหน่อย จะเป็นทางลาดขึ้นสู่่ด้านบนของวัด   
                         หลังรถนำคณะเรา ขึ้นสู่ด้านบน ได้ให้ลงชมความงามบนยอดเขา ซึ่งด้านของวัดพูสะเหลา สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบตัวเมืองปากเซ ได้เลย

   บนวัดพูสะเหลานอกจะมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็นจุดเด่นแล้ว ยังมีพระพุทธรูป ที่สร้างขึ้นบริเวณลานทางขึ้นวัดด้านขวามือ อีกนับร้อยองค์ที่เรียงราย เป็นระเบียบสวยงามมาก คณะทัวร์ของเรากว่าสิบชีวิต ลงจากรถตู้ เดินเที่ยวชมวิวทิวทัศน์จากยอดเขาลงมา มองเห็นสนามบินเมืองปากเซ อยู่ลิบๆ และความสวยงาม ของแม่น้ำโขงที่ทอดตัวคดโค้งไปมาเหมือนงูเลื้อยอย่างมีชีวิต
                      และสพานข้ามฟากด่านล่างอยู่ลิบ ๆ เราเดินถ่ายรูปพระใหญ่เสร็จ แล้วเดินต่อมายังลานพระ ที่สร้างเป็นทิวแถวยาวเยียดสวยงาม ถือเป็นอีกจุดที่ นักท่องเที่ยวเรานิยมถ่ายรูปกัน เพราะถือว่า เป็นอีกจุดที่มายังวัดพูสะเหลาแห่งนี้ จะขาดถ่ายรูปคู่กับพระพุทธรูปนับร้อยๆ องค์ไม่ได้

                        เดินเลยขึ้นมาอีกเกือบ 50เมตร จะเป็นวิหารขนาดไม่ใหญ่โตนัก เป็นที่ตั้งของรอยพุทธบาท และองค์พระแก้วมรกตจำลอง สามฤดู ใก้ผู้มาเที่ยวได้เข้าไปกราบไหว้ขอพรกันเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
      หากเราขึ้นมาด้านบนแล้ว อาจจะสงสัยว่า ทำไมวัดนี้ถึงเรียกวัดพูสะเหลา ก็เพราะบนเขาลูกนี้มีต้นสะเหลา มากมายเลยที่เดียว จึงได้ชื่อว่าวัดพูสะเหลา นั้นเอง

    ซึ่งวัดนี้ได้ยินมาว่าผู้ใจบุญนักธุรกิจใหญ่ ในตัวเมืองปากเซ เป็นผู้อุปถัมภ์และ สร้างทางลาดยางขึ้นมาสู่ยอดภู เพื่อให้นักแสวงบุญนักทีองเที่ยวได้ขึ้นมากราบไหว้เที่ยวชมได้สะดวก ปัจจุบันด้านบนวัดกำลังก่อสร้างเสนาสนะหลายอย่าง เพื่อรองรับผู้มาทำบุญบำเพ็ญและเป็นที่ต้อนรับญาติโยมด้วย  ใครมาถึงปากเซ แขวงจำปาสักแล้ว ก็ไม่ควรพลาดมาเที่ยวชมความงาม บนยอดเขาแห่งนี้ ที่วัดพูสะเหลา  ทางผู้เขียนจึงขอบันทึกเรื่องราวดี ๆ ให้อยู่ในความทรงจำตลอดไป.


@@@@@@@@

28 ต.ค. 2562

ต้นไม้มณีโคตร กกชี้ตาย ปลายชี้เป็น ที่น้ำตกคอนพะเพ็ง หลี่ผี สปป.ลาว


กกชี้ตาย ปลายชี้เป็น ต้นไม้มณีโคตร ที่น้ำตกหลี่ผี สปป.ลาว

โดย..ณ  วงเดือน



               ผู้เขียนได้มีโอกาศเดินทางไปเยือน ที่ สปป.ลาวใต้ แขวงจำปาสัก และได้มีโอกาศได้ไปเที่ยวและชมต้นไม้มหัศจรรย์หนึ่งเดียวในโลก ก็ว่าได้ จึงขอนำเอาเรื่องราวเล่าขานกันมาเนินนาน ของต้นไม้มณีโคตร หรือที่ ชาวบ้านทั่วไปเรียกต้น กกชี้ตายปลายชี้เป็น เอามาเล่าขานในบันทึกท่องเที่ยว ของผู้เขียนเองที่ได้ไปเยือนและชมมาแล้ว ได้เป็นความรู้ต่อไป ตลอดจนถึงความเชื่อที่มีต่อ ๆ กันมาได้มาบันทึกไว้

   
         ผู้เขียนได้มาที่น้ำตกคอนพะเพ็ง  แห่งนี้มาแล้ว จึงขอนำเรื่องราวความเชื่อ และศรัทธา ที่ชาวลาวมีความต่อต้นไม้มณีโคตร ที่อยู่ที่น้ำตกหลี่ผี ตามที่ชาวบ้านเขาเรียก หรือที่เรียกทั่วไปอย่างเป็นทางการว่า น้ำตกคอนพะเพ็ง เป็นน้ำตก
ที่มีชื่อเสียงของ ลาวใต้ แขวงจำปาสัก   โดยน้ำตกแห่งนี้ถือเป็นแก่งขนาดใหญ่กลางลำแม่น้ำโขง  และสวยงามที่สุดในลาว  ก็ว่าได้
      ความหมายของน้ำตกคอนพะเพ็ง  มีความหมายว่า พระจันทร์วันเพ็ญ”  ซึ่งที่กลางเกาะแก่ง แห่งนี้ มีต้นไม้    ต้นหนึ่งและมีความเชื่อว่ามีเพียงต้นเดียวในโลก ชื่อต้นไม้มณีโคตร หรือเรียกแบบบ้าน ๆ ว่า ต้นกกชี้ตาย ปลายชี้เป็น  มีคนเล่าเรื่องถึงต้นไม้นี้ตามตำนานเล่าขานมาอย่างยาวนาน
 และเป็นที่น่าอัศจรรย์ สมัยที่ต้นไม้ชนิดนี้ยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันพระขึ้น 15 ค่ำ จะมีนกกาน้ำสีขาว จำนวนมากบินมาเกาะยังต้นไม้จำนวนมาก  ส่วนในวันพระแรม 14 หรือ 15 ค่ำ จะมีนกกาน้ำสีดำ บินมาเกาะสลับปรับเปลี่ยน กันวนเวียนมานานนับหลายสิบปี ตามที่คนเล่าคนแก่ เล่าขานสืบต่อมา และมีการบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานอย่างน่าอัศจรรย์มาก ของธรรมชาติ สร้างมาหรือว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ปาฎิหาริย์ ก็เหลือจะคาดเดาได้
        ซึ่งที่ตั้งของต้นไม้มณีโคตร จะเกิดอยู่ตรงหน้าผาเกาะแก่งที่กลางแม่น้ำโขงมาไหลมาบรรจบกันพอดี  ซึ่งจุดดังกล่าวมี ความกว้างกว่า 1 กิโลเมตรและสูงกว่า 15 เมตร และว่า
แม่น้ำโขง สายนี้เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในลาวทางตอนใต้ของประเทศลาว โดยมีอาณาเขตติดต่อกัน ถึง 3 ประเทศ คือลาว ไทย เขมร  จากตำนานของลาวที่เล่าขานกันว่า เป็นต้นไม้วิเศษ หากปลายชี้ไปทางไหนก็จะมีแต่ความเจริญ โดยมณีโคตรมี  ปลายอยู่สามกิ่ง กิ่งหนึ่งชี้ไปทางแผ่นดินกัมพูชา กิ่งหนึ่งชี้มาทางแผ่นดินลาว และปลายที่ใหญ่ที่สุดชี้มาทางแผ่นดินไทย 
ต้นไม้ "มณีโคตร" เป็นต้นไม้ใหญ่เพียงต้นเดียวเท่านั้น ที่ เกิดอยู่กลางระหว่างต้นไทร 2 ต้น ลักษณะของกิ่งและใบไม่ดกหนานัก  และที่ประหลาดพิสดารที่สุดก็คือ แทนที่ต้นมณีโคตรจะตั้งอยู่ตามธรรมชาติเหมือนต้นไม้ทั่วไปที่เติบโตพุ่งขึ้นสู่ฟ้า แต่กลับแหวกกฏธรรมชาติโดยปล่อยให้รากแก้ว รากฝอยพุ่งขึ้นไปในอากาศ และให้กิ่งก้านสาขาหยั่งลงบนพี้นน้ำแทน 
      โดยยังเจริญงอกงามอยู่ได้ไม่เฉาตาย มีตำนานเล่า
ขานจากคนแก่คนเฒ่าว่า แต่เดิมต้นไม้ต้นนี้ไม่ได้มีความประหลาดพิสดารแบบนี้แต่อย่างใด ทว่า คราวหนึ่งมีสามเณรน้อยผู้เคร่งครัดรูปหนึ่งได้ขึ้นไปนั่งจำศีลบำเพ็ญภาวนาอยู่ใต้ต้นไม้นี้ ซึ่งยังมีลักษณะปกติอยู่ ตกเช้าก็ออกบิณฑบาตไปตามป่าเขา แม้บริเวณนั้นไม่มีผู้คนอยู่เลยแต่มีสามเณรก็มีอาหารเต็มบาตรทุกเช้า ว่ากันว่าทสามเณรได้บิณฑบาตมาจาก "ผีบังบด" ซึ่งเป็นภูตชนิดหนึ่งที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี ต่อมาวันหนึ่งสามเณรท่านนี้ก็ได้เดินลุยน้ำเข้าไปในโพรงใต้ต้นไม้หายไปแล้วไม่กลับออกมาอีกเลย รุ่งขึ้นอีกวันต้นไม้นั้นก็มีอันผิดกฏธรรมชาติ และคงอยู่ในลักษณะนั้นตลอดมา 
                          มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่าเคยมีพระธุดงค์ ได้ออกจาริกเพื่อหาความสงบ และท่านเมื่อผ่านไปในหมู่บ้านหรือที่ใด ที่อยู่เลาะเลียบชายแดน ท่านมักจะกล่าวกับผู้คนที่พบพานอยู่เสมอว่า "ผู้ใดไปถึงหลี่ผี หากเป็นผู้ไม่มีบุญบารมีแล้วอย่าหวังเลยว่าจะได้เห็นต้นมณีโคตร".. ผู้คนจึงหลั่งไหลมาเพื่อพบเห็นต้นมณีโคตรในที่สุด ซึ่งก็ไม่ทราบว่า ต้นไม้ต้นนี้ขึ้นอยู่กลางน้ำใหญ่ที่นี่มานานเท่าใดแล้ว 
   แกนของต้นมณีโคตรหากตัดดูจะเห็นเป็น 3 สี คือสีนวลเหมือนไข่ไก่ สีม่วง และสีชมพู เป็นที่มาของชื่อมณีโคตรมณีโคตรต้นนี้ มองด้านหนึ่งคล้ายเขาควาย มี 3 กิ่งหลักๆ กิ่งหนึ่งหันไปฝั่งลาว ชาวลาวเชื่อว่าใครได้กินลูกไม้ ที่เกิดจากกิ่งนี้จะแก่ชราขึ้น กิ่งหนึ่งหันไปทางเขมร เชื่อว่าใครกินผลของกิ่งนี้จะกลายเป็นลิง และอีกกิ่งหนึ่งหันไปทางฝั่งไทย เชื่อว่าใครที่ได้กินผลจากกิ่งนี้ จะหนุ่มขึ้น เยาว์วัยขึ้น 
                       ต่อมา เมื่อวันที่ 19 เมษา  2012 ต้นมณีโคตรได้โค่นล้มลงแล้ว สาเหตุที่ต้นไม้ล้มเชื่อว่าเนื่องมาจากต้นไม้อายุมากแล้ว และก่อนหน้านั้นก็มีพายุลมแรงและฝนตกติดต่อกัน 3 วัน ทำให้ต้นไม้ทานกระแสลมและกระแสน้ำไม่ไหว เหตุที่ต้นมณีโคตรโค่นล้มเนื่องมาจากการบวงสรวงที่ต้องกระทำทุกปีนั้น ในปีนี้ได้กระทำผิดวิธี ทำให้ต้นไม้โค่นลง โดยหลังจากเริ่มทำพิธีเมื่อเวลา 1 ทุ่ม จากนั้นตอน 4 ทุ่มต้นไม้ก็ล้มลง เป็นที่ฮือฮาน่าตกใจสำหรับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง   ในขณะนี้ต้นมณีโคตรที่โค่นล้มยังคงถูกมัดไว้กับแก่งหินในบริเวณคอนพะเพ็ง โดยใช้วิธีหย่อนคนลงมาจาก ฮ. เพื่อนำเชือกมามัดต้นไม้ไว้กับแก่งหินไม่ให้ลอยหายไป แต่ยังไม่สามารถนำต้นขึ้นมาบนฝั่งได้เนื่องจากต้นไม้มีขนาดใหญ่มากและกระแสน้ำเชี่ยวมากเช่นกัน 
   จนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2013 ทางการลาวได้ปฏิบัติ ภารกิจนี้จนสำเร็จ โดยมีประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  ดยทหารต้องใช้เวลาทั้งวันตั้งแต่เช้าถึง โมงเย็น เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญครั้งนี้ โดยนำเฮลิคอปเตอร์ทางทหารของลาวนำเจ้าหน้าที่หย่อนลงไป 2-4 คนเพื่อช่วยกันนำเอาต้น "มณีโคตร" ขึ้นมาจนได้
โดยหากเมื่อนำขึ้นมาแล้วจะนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ไม่ไกลจากที่ ต้นไม้เคยอยู่นั้นเอง ซึ่งผู้เขียนขอนำเอาเรื่องราวต่าง ๆ มาบันทึกไว้ตามที่ได้รับรู้มา ดังนี้..


@@@@@@@@@@@@



27 ต.ค. 2562

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อ.เมืองนครปฐม




ตามรอยกงล้อธรรมพระตถาคต ที่วัดปฐมเจดีย์

โดย..ณ  วงเดือน


             วันนี้ ทางผู้เขียน บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ขอนำเรื่ององค์พระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม ซึ่งทางผู้เขียนได้มีโอกาศ ได้ไปกราบสักการะอยู่เนือง ๆ จึงได้หาข้อมูลความรู้ จากแหล่งต่้าง ๆ เพื่อมาบันทึกไว้เป็นความรู้ในบันทึกท่องเที่ยวของทางผู้เขียนเอง เพื่อไว้ประดับความรู้และรู้แหล่งที่มาความเป็นไปของสถานที่นั้น ๆ ของผู้เขียนเองที่ได้ไปมา
     
        พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์  ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร    มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครปฐม   มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ด้วย
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช  ได้เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี  ที่รัฐมัธยมประเทศ อินเดีย
  แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2   ( ศิลาจารึกวัดศรีชุม )  ของพระมหาเถรศรีสรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด  
            พระปฐมเจดีย์ มีลักษณะเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำ (ปากผาย) โครงสร้างทำจากไม้ซุง รัดด้วยโซ่ขนาดใหญ่ ก่ออิฐ ฉาบปูน และปูประดับด้วยกระเบื้องสีเหลือง-แสด ชั้นล่างประกอบด้วยวิหารสี่ทิศ พร้อมด้วยกำแพงแก้วสองชั้น
                นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธานพระพุทธรูปศิลาขาว  ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทวารวดี    นอกจากนี้ยังมีพระร่วงโรจนฤทธิ์ มีชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย อีกทั้งบริเวณใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ยังบรรจุพระราชสรีรางคารในรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. 2396 ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร
    กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ แต่งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต
ใครที่มีโอกาศได้มา  ควรมากราบนมัสการ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน รวมถึง ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง และ พระศิลาขาว ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เมื่อมาพระปฐมเจดีย์ นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้นนอก หรือชั้นในก็ได้ให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนาดั่งสิ่งที่หวังไว้ ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาศมากราบไหว้หลายครั้งถือเป็นบุญบารมี
           องค์พระปฐมเจดีย์นี้   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ สร้างใหม่เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่

ซึ่งภายในองค์พระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ในทุกปี ทางวัดพระปฐมเจดีย์  จะมีการกำหนดจัดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ขึ้นในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี  ซึ่งใครมีโอกาศแวะเที่ยวชมสักกราะกราบไหว้กันได้ครับ เพื่อความเป็นสิริมงคลแต่ตัวเองและครอบครัว  บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ  จึงขอนำ เรียบเรียงบทความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์  เพื่อได้เป็นความรู้และทรงไว้ให้คงอยู่ต่อไป ของบันทึกผู้เขียนเองด้วย...



                           @@@@@@@@@@@


26 ต.ค. 2562

ศาลเจ้าดอนปู่ตา เหมรัฐเทพดำรงฤทธิ์ อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ

ศาลดอนปู่ตา อ.เขมราฐ ที่พึ่งทางใจ ของชาวเมืองเขมราฐ

โดย.ณ  วงเดือน


               อำเภอเขมราฐ เป็นอำเภอเล็ก ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนแม่น้ำโขง ของ สปป.ลาว ตรงข้ามเมือง สองคอน  แขวงสะหวันเขต เป็นระยะทางถึง 40 กม. เลยทีเดียว   ตลอดเลาะเลียบชายโขง มีชายหาดที่สวยงาม มีหาดทรายขาว สวยงามที่มีชื่อแลละเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย คือหาดทรายสูง  ซึ่งอำเภอเขมราฐนี้ มีความหมายว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข จึงขอเอาอำเภอแห่งนี้บันทึกไว้ให้เป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำดี ๆ ตลอดไป ในเรื่องเมืองเขมราฐ ที่ได้บันทึกไว้ว่า  ใน ปี พศ.2357  เจ้าอุปราช ( ก่ำ )  แห่งเมืองอุบลราชธานี  ได้ขอแยกตัวออกมาตั้งบ้านเมืองใหม่ ที่บ้านโคกก่งดงพะเนียง คือที่ตั้งของ อ.เขมราฐ ในปัจจุบันนี้
และเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี คือ เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์  ( เจ้าทิดพรหม )  ต้นสกุล พรหมวงศานนท์  จึงได้มีใบบอกแจ้งลงไปกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ 2  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกฐานะบ้านโคกก่งดงพะเนียง  ขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า เขมราษฎร์ธานี  มีฐานะเทียบเท่าหัวเมืองชั้นเอก  ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าอุปราชก่ำ  ซึ่งเป็นพระโอรสของ เจ้าพระวรราชภักดี  พระนัดดา พระเจ้าสุวรรณปาง คำ  ที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ สุวรรณปางคำ  ขึ้นเป็น พระเทพวงศา ( เจ้าก่ำ )  เจ้าผู้ครอง เมืองเขมราษฎร์ธานี พระองค์แรก ระหว่างปี พศ. 2357-2369 ใน ปี พศ. 2369  ได้เกิดศึกระหว่าง กรุงเทพมหานคร กับกรุงเวียงจันทร์ เจ้าอนุวงศ์ ได้สั่งการให้เจ้าราชบุตร แห่งเมืองจำปาศักดิ์ ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี เพื่อให้ พระเทพวงศาก่ำ เข้าร่วมตีกรุงเทพมหานครด้วย แต่ทางเจ้าเมืองเขมราฐ  ไม่ยินยอมในการทำศึกกับกรุงเทพมหานคร  ท่านเจ้าเมืองจึงได้ถูกสำเร็จโทษประหารชีวิต     
                ปัจจุบันสวนสาธารณะดอนปู่ตา อ.เขมราฐ  เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พระเทพวงศา เจ้าเมืองเขมราฐ คนแรก ที่ตั้งหันหน้าออกสู่ถนน  และ สวนแห่งนี้ยังเป็นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นงานสมโภชฉลองเขมราษฎร์ธานี 204 ปี ก็มาจัดที่นี่ ภายในสวนสาธารณะ  ยังมี ที่ตั้งศาลหลักเมืองเขมราฐ และ ศาลปู่ตาเจ้าปู่เหมรัฐเทพดำรงฤทธิ์ ซึ่งภายในศาล ตลอดจนต้นไม้ใหญ่ใกล้ศาลพ่อปู่ จะทาด้วยสีแดง และถูกผูกด้วยผ้าสีแดง ไปทั่วบริเวI
   ในส่วนการที่จะยก อ.เขมราฐ แห่งนี้ขึ้นเป็นจังหวัดนั้น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ สมัยนั้น ลงวันที่ 8 พย.2561  ถึงนาย  อ.ตระการพืชผล อ.โพธิ์ไทร  อ.กุดข้าวปุ้น อ.นาตาล อ.ศรีเมืองใหม่  อ.โขงเจียม โดยได้รับรายงานจากทางอำเภอ เขมราฐว่า มีความประสงค์จะจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดใหม่  เป็นจังหวัดเขมราษฎร์ธานี  โดยมี อำเภอในเขตปกครอง 7 อำเภอนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งยังไม่สามารถสรุปเป็นที่ชัดแจ้ง แต่ก็คาดว่าคงจะได้ข่าวดีในเร็ว ๆ นี้  บันทึกท่องเที่ยวจึง ขอเขียนไว้ในความทรงจำไว้เพื่อเป็นความทรงจำ ดี ๆ ที่ได้มาเที่ยวชมและบันทึกสถานที่สำคัญต่าง ไว้ ณ ที่ตรงนี้ตลอดไป..


@@@@@@@@@@@@@