27 ต.ค. 2562

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อ.เมืองนครปฐม




ตามรอยกงล้อธรรมพระตถาคต ที่วัดปฐมเจดีย์

โดย..ณ  วงเดือน


             วันนี้ ทางผู้เขียน บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ขอนำเรื่ององค์พระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม ซึ่งทางผู้เขียนได้มีโอกาศ ได้ไปกราบสักการะอยู่เนือง ๆ จึงได้หาข้อมูลความรู้ จากแหล่งต่้าง ๆ เพื่อมาบันทึกไว้เป็นความรู้ในบันทึกท่องเที่ยวของทางผู้เขียนเอง เพื่อไว้ประดับความรู้และรู้แหล่งที่มาความเป็นไปของสถานที่นั้น ๆ ของผู้เขียนเองที่ได้ไปมา
     
        พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์  ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร    มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครปฐม   มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ด้วย
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช  ได้เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี  ที่รัฐมัธยมประเทศ อินเดีย
  แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2   ( ศิลาจารึกวัดศรีชุม )  ของพระมหาเถรศรีสรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด  
            พระปฐมเจดีย์ มีลักษณะเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำ (ปากผาย) โครงสร้างทำจากไม้ซุง รัดด้วยโซ่ขนาดใหญ่ ก่ออิฐ ฉาบปูน และปูประดับด้วยกระเบื้องสีเหลือง-แสด ชั้นล่างประกอบด้วยวิหารสี่ทิศ พร้อมด้วยกำแพงแก้วสองชั้น
                นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธานพระพุทธรูปศิลาขาว  ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทวารวดี    นอกจากนี้ยังมีพระร่วงโรจนฤทธิ์ มีชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย อีกทั้งบริเวณใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ยังบรรจุพระราชสรีรางคารในรัชกาลที่ 6 ไว้ด้วย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. 2396 ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร
    กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ แต่งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต
ใครที่มีโอกาศได้มา  ควรมากราบนมัสการ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน รวมถึง ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง และ พระศิลาขาว ด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เมื่อมาพระปฐมเจดีย์ นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้นนอก หรือชั้นในก็ได้ให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนาดั่งสิ่งที่หวังไว้ ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาศมากราบไหว้หลายครั้งถือเป็นบุญบารมี
           องค์พระปฐมเจดีย์นี้   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ สร้างใหม่เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่

ซึ่งภายในองค์พระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ในทุกปี ทางวัดพระปฐมเจดีย์  จะมีการกำหนดจัดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ขึ้นในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี  ซึ่งใครมีโอกาศแวะเที่ยวชมสักกราะกราบไหว้กันได้ครับ เพื่อความเป็นสิริมงคลแต่ตัวเองและครอบครัว  บันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ  จึงขอนำ เรียบเรียงบทความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์  เพื่อได้เป็นความรู้และทรงไว้ให้คงอยู่ต่อไป ของบันทึกผู้เขียนเองด้วย...



                           @@@@@@@@@@@


26 ต.ค. 2562

ศาลเจ้าดอนปู่ตา เหมรัฐเทพดำรงฤทธิ์ อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ

ศาลดอนปู่ตา อ.เขมราฐ ที่พึ่งทางใจ ของชาวเมืองเขมราฐ

โดย.ณ  วงเดือน


               อำเภอเขมราฐ เป็นอำเภอเล็ก ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนแม่น้ำโขง ของ สปป.ลาว ตรงข้ามเมือง สองคอน  แขวงสะหวันเขต เป็นระยะทางถึง 40 กม. เลยทีเดียว   ตลอดเลาะเลียบชายโขง มีชายหาดที่สวยงาม มีหาดทรายขาว สวยงามที่มีชื่อแลละเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย คือหาดทรายสูง  ซึ่งอำเภอเขมราฐนี้ มีความหมายว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข จึงขอเอาอำเภอแห่งนี้บันทึกไว้ให้เป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำดี ๆ ตลอดไป ในเรื่องเมืองเขมราฐ ที่ได้บันทึกไว้ว่า  ใน ปี พศ.2357  เจ้าอุปราช ( ก่ำ )  แห่งเมืองอุบลราชธานี  ได้ขอแยกตัวออกมาตั้งบ้านเมืองใหม่ ที่บ้านโคกก่งดงพะเนียง คือที่ตั้งของ อ.เขมราฐ ในปัจจุบันนี้
และเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี คือ เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์  ( เจ้าทิดพรหม )  ต้นสกุล พรหมวงศานนท์  จึงได้มีใบบอกแจ้งลงไปกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ 2  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ยกฐานะบ้านโคกก่งดงพะเนียง  ขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า เขมราษฎร์ธานี  มีฐานะเทียบเท่าหัวเมืองชั้นเอก  ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าอุปราชก่ำ  ซึ่งเป็นพระโอรสของ เจ้าพระวรราชภักดี  พระนัดดา พระเจ้าสุวรรณปาง คำ  ที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ สุวรรณปางคำ  ขึ้นเป็น พระเทพวงศา ( เจ้าก่ำ )  เจ้าผู้ครอง เมืองเขมราษฎร์ธานี พระองค์แรก ระหว่างปี พศ. 2357-2369 ใน ปี พศ. 2369  ได้เกิดศึกระหว่าง กรุงเทพมหานคร กับกรุงเวียงจันทร์ เจ้าอนุวงศ์ ได้สั่งการให้เจ้าราชบุตร แห่งเมืองจำปาศักดิ์ ยกทัพมายึดเมืองเขมราษฎร์ธานี เพื่อให้ พระเทพวงศาก่ำ เข้าร่วมตีกรุงเทพมหานครด้วย แต่ทางเจ้าเมืองเขมราฐ  ไม่ยินยอมในการทำศึกกับกรุงเทพมหานคร  ท่านเจ้าเมืองจึงได้ถูกสำเร็จโทษประหารชีวิต     
                ปัจจุบันสวนสาธารณะดอนปู่ตา อ.เขมราฐ  เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พระเทพวงศา เจ้าเมืองเขมราฐ คนแรก ที่ตั้งหันหน้าออกสู่ถนน  และ สวนแห่งนี้ยังเป็นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นงานสมโภชฉลองเขมราษฎร์ธานี 204 ปี ก็มาจัดที่นี่ ภายในสวนสาธารณะ  ยังมี ที่ตั้งศาลหลักเมืองเขมราฐ และ ศาลปู่ตาเจ้าปู่เหมรัฐเทพดำรงฤทธิ์ ซึ่งภายในศาล ตลอดจนต้นไม้ใหญ่ใกล้ศาลพ่อปู่ จะทาด้วยสีแดง และถูกผูกด้วยผ้าสีแดง ไปทั่วบริเวI
   ในส่วนการที่จะยก อ.เขมราฐ แห่งนี้ขึ้นเป็นจังหวัดนั้น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ สมัยนั้น ลงวันที่ 8 พย.2561  ถึงนาย  อ.ตระการพืชผล อ.โพธิ์ไทร  อ.กุดข้าวปุ้น อ.นาตาล อ.ศรีเมืองใหม่  อ.โขงเจียม โดยได้รับรายงานจากทางอำเภอ เขมราฐว่า มีความประสงค์จะจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดใหม่  เป็นจังหวัดเขมราษฎร์ธานี  โดยมี อำเภอในเขตปกครอง 7 อำเภอนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งยังไม่สามารถสรุปเป็นที่ชัดแจ้ง แต่ก็คาดว่าคงจะได้ข่าวดีในเร็ว ๆ นี้  บันทึกท่องเที่ยวจึง ขอเขียนไว้ในความทรงจำไว้เพื่อเป็นความทรงจำ ดี ๆ ที่ได้มาเที่ยวชมและบันทึกสถานที่สำคัญต่าง ไว้ ณ ที่ตรงนี้ตลอดไป..


@@@@@@@@@@@@@

วัดหลวงพี่แซม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

ไปดูถ้ำลอดมหาจักรพรรดิ์ วัดหลวงพี่แซม 

โดย.ณ วงเดือน

       ช่วงก่อนเข้าพรรษาปี 2562  ที่ผ่านมา ด้วยความตั้งใจยิ่งที่อยากไปเยี่ยมชมและ ดูสิ่งมหัศจรรย์ที่มนุษย์สร้างขึ้น นั้นคือถ้ำลอดที่สร้างขึ้นด้วยบุญบารมีของหลวงพี่แซม และการสรรสร้างปันแต่งขึ้นมาด้วยฝีมือ ของมนุษย์อย่างสวยงาม  ที่ อ.พนัสนิคม  จ.ชลบุรี 

      โดยได้เดินทางไปพร้อมกับท่าน ปุโรหิตพ่อใหญ่ทรงยุทธ เหลาเคน ซึ่งท่านเป็นชาว จ.มหาสารคาม  พึ่งได้พ้นจากการออกปฎิบัติธรรม ออกมาสู่ทางโลก ก่อนเข้าพรรษา  ได้พาออกเสาะแสวงหาโมกขธรรม และความงดงามและมหัศจรรย์ดั่งว่ามา  เราออกเดินทางเกือบเที่ยงวัน  จาก กทม.ถึง วัดที่หมายช่วงบ่ายพอดี วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับถนนใหญ่ทางหลวงยุทธศาสตร์ สัตหีบ-พนมสารคาม หมายเลข 331

   เราเข้าไปยังวัดหลวงพี่แซม ซึ่งมีนักท่องเที่ยวแสวงบุญมาเที่ยวชม อยู่มากพอชมควร ป้ายด้านข้าง ๆ ที่เป็นลานจอดรถของทางวัดที่บอกขวาก็รวย ซ้ายก็รวย เป็นที่ตั้งของตลาดที่มาขายของกินให้กับนักท่องเที่ยว  ที่มีอาหารขายหลากหลายภูมิภาค ให้ได้เลือกชิมและซื้อหาในราคาชาวบ้าน 
      เมื่อเดินเข้ามาในวัด ซ้ายมือจะเป็นที่ตั้งอุโบสถ ซึ่งมีพระประธานใหญ่ ที่ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อยิ้มเบิกฟ้า  และเดินเลยเข้ามาจะเป็นที่  สะดุดตาและเป็นไฮไล ของวัดแห่งนี้ นั้นก็คือ ถ้ำลอดขนาดใหญ่ เมื่อเดินเข้าไป จะมีห้องโถงขนาดใหญ่ กลางโถง จะมีพญานาค 7 เศียร และหากใครอยากถวายลูกแก้วให้กับองค์พญานาค  ก็มีให้เช่าบูชาถวายได้ ภายในถ้ำนั้นเอง 
ซึ่งพญานาคราชจะอยู่กลางบ่อน้ำนั้นเอง  นอกจากนี้  มีหุ่นขี้ผึ้งของครูบาอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นหุ่นปั้นหลวงปู่สรวง เทวดาเดิน  ที่ชาวจ.ศรีษะเกษ และคนทั้งประเทศ รู้จัก นับถือ หรือหลวงปู่พระเกจิต่าง ๆ ก็มีให้ได้กราบไหว้ขอพรกัน  บูชากันอย่างที่ใจเราต้องการ
ถือได้ว่าถ้ำลอดมหาจักรพรรติ์ตามที่เรียกๆ กันมา ถือว่า

สถานที่แห่งนี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ของทางวัดอีกแห่ง ภายในถ้ำมีความเย็นสบายทั้งจากน้ำและจากแอร์เครื่องปรับอากาศ มีไฟแสงสีสลัว ๆ พอได้มองเห็นความเป็นไปภายใน ได้  วัดหลวงพี่แซมแห่งนี้ท่านยังเป็นเพื่อนสหธัมมิก กับ   พระอาจารย์เจ้าคุณอุเทน สิริสาโร วัดท่าไม้  อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร อีกด้วย ที่ตั้งของวัดหลวงพี่แซม  ตั้งอยู่ ซอยบ้านโรงหมู ต.หนองปรือ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี  ไปมาสะดวกสบาย ทุกวันนี้กลายเป็นแหล่งแสวงบุญและที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกแห่ง ที่ชาวบ้านมักนิยมมาเที่ยวกัน โดบเฉพาะวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ หรือ วันสำคัญอื่น ๆ นอกจากถ้ำมหาจักรพรรดิ์แล้ว ที่วัดยังมีหลวงพ่อพระใหญ่อินทร์แปลง หรือหลวงพ่อยิ้มเปิดฟ้า มีความเชื่อกันว่า ใครได้มากราบขอพร มักได้รับความสุขสมหวัง สำเร็จทั้งการงาน ความรัก ดังที่ขอ
  เลยมาทางด้านหน้าของวัดยังมีโรงเลี้ยงสัตว์วัวควาย ใครอยากจะทำบุญ ให้อาหารก็เชิญได้




@@@@@@@@@@@

พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลอิสาน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

ตามร่องรอยความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา ที่พระธาตุนาดูน

โดย.ณ วงเดือน

                    ได้มีโอกาศได้เดินทางผ่านไป ที่ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ตามทางหลวงหมายเลข 2040 ผ่าน อ.แกดำ  อ.วาปีปทุม  แล้วเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 เข้าอำเภอนาดูน 
ด้วยความตั้งใจ ที่จะมายังที่นี่โดยเฉพาะ  คือได้พบและได้สักการะ พระธาตุนาดูนสักครั้งในชีวิต
       ที่ตั้งพระธาตุนาดูน เคยเจริญรุ่งเรืองมากในครั้งอดีต ที่นี่ถือเป็นศูนย์กลางส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรม ของภาคอิสานอีกแห่ง เรียกว่า เป็น พุทธมณฑลอีสาน ก็ว่าได้ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 902 ไร่เลยทีเดียวโดยรอบของพื้นที่ มีพิพิธภัณฑ์ ทางศาสนาและ วัฒนธรรม ตลอด จนสวนสมุนไพรและ สวนรุกขชาติ ที่ร่มรื่น เย็นสบายเงียบสงบพอสมควร
  ทางผู้เขียนจึงขอสืบนำความเป็นมา ของพระธาตุนาดูน ถึงความเป็นมา อย่างไรได้เป็นข่อมูลความรู้ไว้ ว่าครั้งหนึ่งเคยได้มายังที่แห่งนี้
   ตามที่ได้มีการบันทึกไว้ทางหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีต  ว่าที่นี่ เคยเป็นที่ตั้งของ นครจำปาศรี มาก่อน โดยขุดพบวัตถุโบราณต่าง ๆ ที่สำคัญ คือพบสถูปบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ในตลับทองคำ เงิน และสำริด  มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15  สมัยทวาราวดี โดยพระธาตุนาดูน เคยมีความเจริญรุ่งเรือง มา 2 ยุค  คือ  1.ยุคทวาราวดี ระหว่าง พ.ศ.1000-1200 2.ยุค ลพบุรี ระหว่าง พศ.1600-1800
  เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522  ที่นาของนายทองดี  ราษฎรบ้านนาดูน  ได้ทำการขุดดินเพื่อทำเกษตรกรรม ได้ขุดค้นพบวัตถุโบราณหลายอย่าง และได้ตรวจพิสูจน์วัตถุโบราณที่ค้นพบมี

สถูปพระบรมสารีริกธาตุ ทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน ตัวสถูป แบ่งออกเป็นอีกสองส่วน คือตัวสถูป บรรจุ ขี้เถ้า เทียนดอกไม้ ในส่วนของคอสถูป บรรจุ เป็น 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน และผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบสำริด อีกชั้น ทุกผอบมีฝาปิดอย่างมิดมิด และในผอบทองคำ มีพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุ 1 องค์ เป็นเกล็ดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหัก  หล่อเลี้ยงด้วยน้ำมันจันทร์หอม
     ในส่วนของพระธาตุนาดูน นั้นได้จำลองแบบมาจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์  มีความกว้าง 35.70 x  35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด  50.50 เมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังรอบนอกพระธาตุส่วนใหญ่ ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 ฉาบปูนเรียบสีขาว ลวดลายบัว เสาบัวต่าง ๆ และจำลองพระเครื่องพิมพ์ ต่าง ๆ ที่ขุดพบได้นั้น มาตกแต่งตามฐานพระธาตุ จำนวน 32 องค์  และแกะสลักรูปมารแบกปูนปั้น ที่ฐานล่างอีก 40 ตัว องค์พระธาตุ แบ่งเป็นชั้น ๆ 16 ชั้น  คือ ชั้นที่ 1 เป็นฐานมีลักษณะกลม มีทางเดินโดยรอบ  ส่วนชั้นที่ 16  ถึงยอดปลี ชั้นลูกแก้ว  และชั้นฉัตร ส่วนยอดฉัตร บุด้วยโมเสกแก้วสีทอง
    ในทุกปี จะมีการจัดงานนมัสการพระธาตุนาดูนขึ้น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา มีจัดกิจกรรม เวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ ก็ถือเป็นความภูมิใจที่ ในชีวิตครั้งหนึ่งนี้ได้มาเยือนแหล่งอารยธรรมพุทธศาสนา ที่มีอายุหลายพันปี ที่พระธาตุนาดูนแห่งนี้  จึงขอนำข้อมูล ที่รับรู้มา ลงบันทึกไว้เป็นความรู้ของผู้เขียนในที่นี้สืบไป.



25 ต.ค. 2562

หลวงปู่จอม นาคเสโน วัดภูจำปา อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

ครั้งหนึ่งที่ได้ไปกราบหลวงปู่จอม นาคเสโน พระอริยะผู้มีวิถีสมถะเรียบง่าย

โดย..ณ  วงเดือน



             หลายปีมาแล้วผมได้ยินกิตติศัพย์ชื่อเสียงของหลวงปู่จอม นาคเสโน จ.อำนาจเจริญ  พระผู้เป็นอริยะสงฆ์ผู้มีชีวิตเรียบง่าย ซึ่งไม่ยึดถือในลาภสักการะ มีความเมตตาต่อลูกศิษย์ลูกหาและให้การต้อนรับต่อญาติธรรมไม่แยกชั้นวรรณะ โดยทางผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาศได้เข้าไปกราบไหว้และสนทนากับหลวงปู่ ในครั้งที่ท่านยังจำพรรษาอยู่ที่วัดภูจำปา  แห่งนี้ จึงขอนำเรียบเรียงไว้เป็นความทรงจำและระลึกถึงหลวงปู่ ผู้จากไปให้อยู่ในความทรงจำตลอดไป

         ในครั้งนั้นผมได้ยินมาว่าหลวงปู่จอม นาคเสโน ได้มาอยู่ปฎิบัติธรรมและจำพรรษาที่ วัดภูจำปา  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่ที่
8 บ้านภูจำปา ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ห่างจากเทศบาลตำบลนาหมอม้า ประมาณ 8 กิโลเมตร   ที่วัดนี้  มีลักษณะเป็นภูเขาเตี้ยๆถ้าหากไม่เดินเข้าไปใกล้ๆจะมองไม่เห็น มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในถ้ำบนภูจำปา ซึ่งมีความสูงจากพื้นถึงยอดภูประมาณ 30 เมตร บนเนื้อที่ 150 ไร่ เดิมเป็นสถานที่พระธุดงค์ใช้ปักกรดพักอาศัย เพื่อปฏิบัติธรรมเป็นการชั่วคราว

 ต่อมามีพระสงฆ์นิยมมาจำพรรษาอยู่เป็นประจำ พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ร่วมใจกันก่อสร้างพระพุทธรูปไว้สักการบูชา และได้สร้างพระไม้พระครั่ง สะสมไว้ในถ้ำเป็นจำนวนมาก ภูจำปา ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น หินสามก้อน พระพุทธรูปไม้แกะสลัก ต้นจำปาที่เกิดบริเวณหินดาน ผู้คนนิยมไปทำบุญ เสี่ยงโชค พักผ่อน ท่องเที่ยวชมธรรมชาติ เสี่ยงชะตาชีวิตและด้านความรัก คือ ตั้งจิตอธิษฐานแล้วปลูกต้นจำปาในบริเวณวัด บนลานหินดาน ถ้าต้นจำปาที่ปลูกไว้ไม่ตาย แสดงว่าคำอธิษฐานนั้นจะเป็นจริง เป็นสถานที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มีพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาว ซึ่งชาวบ้านตำบลนาหมอม้าและตำบลใกล้เคียงได้ร่วมกันจัดงาน สรงน้ำพระถ้ำภูจำปา ในวันที่ 17 เมษายน ของทุกปี โดยจะจัดงานช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ ประกอบกับธรรมชาติบนภูเขาอยู่ในช่วงที่ดอกจำปา หรือดอกลีลาวดี กำลังออกดอกขาวบานสะพรั่ง ตามลานหินและดงไม้เต็มไปหมด จึงสร้างความสวยงาม ประทับตา ประทับใจแก่ผู้ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นแรงดึงดูดใจอีกสิ่งหนึ่ง เพราะนอกจากจะได้ขึ้นไปสรงน้ำพระถ้ำบนภูเขา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ยังได้ชมความสวยงามตามธรรมชาติของดอกจำปาอีกด้วย
พระครูอาทรธรรมวินัย “หลวงปู่จอม นาคเสโน” เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2463  ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11  ปีวอก ในตระกูลชาวนา ที่บ้านเลขที่ 38 หมู่ 7  บ้านดอนดู่ ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 
จบประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านคำสร้างบ่อ อ. อำนาจเจริญ 
      หลวงปู่จอม นาคเสโน ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ คือ บรรพชา-อุปสมบท  โดยมี ท่านพระครูทัศนประกาศ ( บุ จนฺทสิริ อดีตเจ้าอาวาสวัดสำราญนิเวศ จังหวัดอำนาจเจริญ​ ​ท่านเป็นเจ้าอาวาสและอุปัชาย์​ที่วัดนี้ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๔-๒๕๑๗) เป็นพระอุปัชฌาย์,ให้กับหลวงปู่จอม, มี ท่านพระอาจารย์ขาล ญาณปญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมี ท่านพระอาจารย์สาร สาทโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ ว่า    " นาคะเสโน แปลว่า ผู้ประเสริฐสมควรแก่การกราบไหว้   หลังจากการบวชแล้ว ท่านก็ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ในปี พศ.2486   และศึกษาธรรมกรรมฐานควบคู่การปฏิบัติตามแนวสายอาจารย์ที่มีอยู่ในยุคนั้นไปด้วย 
          ในสมัยนั้น มีครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ออกจาริกผ่านมามิได้ขาดในเขตอำเภออำนาจเจริญ เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย (วัดบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน) ก็ถือว่าอยู่ไม่ไกลจากวัดบ้านดอนดู่ และครูบาอาจารย์อีกหลาย ๆ รูปในแถบอีสานศรัทธาเลื่อมใสพระปฏิบัติสายพระธรรมยุติ คือ สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างมาก จึงได้อุปสมบทในสายพระธรรมยุติ เมื่ออายุ 37 ปี 
           พิจารณาเห็นว่า การปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิ การเดินธุดงควัตร เป็นหนทางแห่งความสงบ ความสำเร็จ จึงได้เดินทางไปกราบนมัสการ ครูบาอาจารย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และตระเวรธุดงค์ไปกราบนมัสการ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่แหวน สุจิณโน ได้ทราบข่าวว่า พระองค์ไหนมีชื่อเสียงก็เดินทางไปพบเพื่อศึกษาเวทย์วิทยาและได้รับพระคาถาอายุยืน “อายุวัฒนะ” จากหลวงปู่พลเอกหลวงศรี ที่ จังหวัดสกลนคร 

งานปกครอง ในงานปกครอง การปฏิบัติงานช่วยคณะสงฆ์หลวงปู่ท่านได้รับความไว้
วางใจจากเจ้าคณะผู้ปกครอง ให้ช่วยงานในด้านปกครอง ตามประวัติ                                                               ดังต่อไปนี้  ปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๓ เป็นประธานสงฆ์ วัดบ้านหนองเรือ ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 
ในปี  พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๘    ได้ เป็นประธานสงฆ์ สำนักสงฆ์ภูจำปา ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ (ปัจจุบันได้ประกาศตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องแล้ว) และในปี พ.ศ.๒๕๒๙-๒๕๔๕  เป็นประธานสงฆ์ สำนักสงฆ์โพธิสมภรณ์  ซึ่งปัจจุบันเปลื่ยนชื่อเป็นวัดป่าบ้านดอนดู่  ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ และ ได้เป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านดอนดู่ หมู่ที่ ๗ ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ได้รับสมณศักดิ์พัดยศทางคณะสงฆ์  เมื่อปี  พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ และพัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ) ในราชทินนามที่ “พระครูอาทรธรรมวินัย”

          โดยได้ปฏิบัติตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมาอย่างเคร่งครัดกระทั่งปัจจุบัน  หลวงปู่จอม นาคเสโน ออกปฏิบัติธรรมในสถานที่วิเวกมาตลอดชีวิต กระทั่งปี พ.ศ. 2533 ได้มาปฏิบัติธรรมอยู่วัดภูจำปา ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เจ้าคณะจังหวัด (ธ.) จึงได้นิมนต์กลับมาจำวัดที่บ้านเกิด คือ วัดป่าโพธิสมพร ในปี พ.ศ. 2547
       ต่อมา สำนักสงฆ์โพธิสมภรณ์  ได้เปลี่ยนชื่อ เป็นวัดป่าบ้านดอนดู่  เพราะตั้งอยู่ในบริเวณบ้านดอนดู่  หลวงปู่จอม นาคเสโน ดูแลและเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านดอนดู่ ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ  ซึ่งทั้งสองวัดทั้งวัดภูจำปา และวัดป่าบ้านดอนดู่ เป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ที่ท่านเป็นผู้ดูแลปกครอง    หลวงปู่ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2560 ณ วัดบ้านดอนดู่ ต.น้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญเวลา 13.19 น. ด้วยโรคชรา สิริอายุ 99 ปี 9 เดือน 7 วัน พรรษา 45  ทางผู้เขียนที่เคยครั้งหนึ่งได้ไปกราบไหว้หลวงปู่ถึงที่ ขอกราบถวายความอาลัยอย่างเคารพยิ่ง และขอบันทึกไว้เป็นความทรงจำไว้ ที่นี้เพื่อให้ได้รับรู้ ความเป็นมาและอยู่ในความทรงจำตลอดไป..


@@@@@@@@@@@@@@@