23 ก.ค. 2565

มาทำหนังสือเดินทางด้วยเครื่อง (kiosk) ตู้พาสปอร์ตอัตโนมัติ ที่ห้าง MBK. senter เขตปทุมวัน กทม.

โดย.ณ วงเดือน

   เพื่อบันทึกความทรงจำที่ได้มาทำหนังสือเดินทางหรือพาสปอตแบบตู้อัตโนมัติ (kiosk)ที่ห้าง MBK..senter ชั้น5 เขตปทุมวัน กทม.ได้ เดินทางมาก่อนเวลาแต่เช้าของวันเสาร์ ห้างเปิดในเวลา 10.00 น.  เมื่อขึ้นบันไดเลื่อนมาถึงเดินเลยลึกเข้าไปด้านซ้ายของร้าน mr.DIY. 
    เมื่อขึ้นมาถึงปรากฎว่าพบผู้คนมาทำหนังสือเดินทางรอแถวต่อคิวทำพาสปอต อยู่ก่อนแล้วร้อยกว่าคน  เดินต่อแถวพร้อมนำหนังสือเดินทางเล่มเก่าพร้อมบัตร ประชาชน ออกมาให้ จนท.ตรวจสอบเพื่อรอรับบัตรคิว ในการทำตามขั้นตอนต่อไป
หลัง จนท.ตรวจสอบ ชื่อในบัตร ปชช.และพาสปอตตรงกันแล้ว ให้เราเข้าไปกดตู้รับบัตรคิว ที่อยู่ด้านใน ตรงข้ามกับช่องหมายเลข 3 ในการทำพาสปอต ซึ่งปรากฎว่าได้คิวอันดับที่ 143 คน ซึ่งในวันเสาร์นี้ เปิดให้บริการพิเศษ จำกัดคนเพียง 1 พันคนเท่านั้น
ในแต่ละตู้ ต้องใช้เวลาพอสมควร 5-10 นาที  ซึ่งด้านหน้าทางเข้าสำนักงานหนังสือเดินทาง จะมีบร์อด การทำหนังสือเดินทางบอกไว้ด้วย                                          
สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป  1.กรณีทำหนังสือเดินทางครั้งแรก ต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงของผู้ขอหนังสือเดินทางมาด้วย                                        
2.กรณีหนังสือเดินทางหมดอายุ  นำบัตรประชาชนตัวจริงของผู้มาขอหนังสือเดินทาง และหนังสือพาสปอร์ตเล่มที่หมดอายุมาด้วย  
3.กรณีหนังสือเดินทางหาย นำบัตรประชาชนตัวจริงของผู้ขอมาด้วย  พร้อมใบแจ้งความเอกสารหายฉบับจริงแนบมาด้วย                                                              
หลังรอเรียกคิวตามลำดับ ทางเจ้าหน้าที่เรียกให้เข้าไปยังตู้ทำพาสปอร์ตอัตโนมัติ  แนะนำให้เราเสียบบัตรประชาชนในช่องของตู้ kiosk. เพื่อสะแกนข้อมูลของเราเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และทำการกรอกข้อมูลของเรา พร้อมทั้งลายเซ็น ลงในช่องสุดท้าย 
หลังจากเรียบร้อยก็เป็นขั้นตอนถ่ายรูป        
               
เมื่อถ่ายรูปเสร็จกดตกลง  จากนั้นมาสะแกนหลายนิ้วมือ ทั้ง4 นิ้ว แต่ละข้าง  และ นิ้วโป้ง 2 ข้างพร้อมกัน เมื่อผ่านเรียบร้อย ก็มาถึงช่วงการสะแกนม่านตา  เสร็จเรียบร้อย ก็เลือกว่า จะทำพาสปอร์ต แบบ 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 1,000 บาท  และแบบ10 ปี มีค่าธรรมเนียม 1,500 บาท
ส่วนใครต้องการด่วน เสียเพิ่ม 3,000 บาท และยื่นคำร้องก่อนเวลา 11.00น. และมารับได้ที่กรมการกงศุล แต่เวลา  14.30 เป็นต้นไป ทำได้ทุกสำนักงานแต่มารับได้ที่กรมการกงสุล เท่านั้น    
                         หากจะให้ ทางจนท.ส่งเอกสารให้เราทางไปรษณีย์ ต้องจ่ายค่าลงทะเบียนเพิ่มอีก 40 บาท    เป็นอันเรียบร้อย กดยืนยัน รอสักพัก ตู้ kiosk. ก็จะปริ้นแผ่นกระดาษค่าธรรมเนียมที่เราเลือกแบบ 5 ปี หรือ 10 ปีให้ไปจ่ายเงินสด กับทางเจ้าหน้าที่  ช่องเคาท์เตอร์
 เป็นอันเรียบร้อย                                                             
ในการมาทำพาสปอร์ตแบบ ตู้ kiosk.ในครั้งนี้ จึงบันทึกไว้เป็นข้อมูลความรู้ในการมาทำหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ต  ที่สะดวกรวดเร็วพอสมควร    ซึ่งเล่มพาสปอร์ตผู้ที่ต้องการด่วน เล่มด่วนคือ 3,000ิบาท               
สำหรับเครื่องทำพาสปอร์ตอัตโนมัติ ( kiosk.) นี้มีทำที่ศูนย์การค้า mbk.senter ชั้น5  เขตปทุมวัน กทม.ที่เดียวเท่านั้น และเปิดให้เป็นกรณีพิเศษในวันเสาร์ จำกัดเพียง 1 พันคนเท่านั้น ถ้ามาช้า คิวอาจเต็มก่อน
ส่วนสถานที่อื่น ๆ ในการทำพาสปอร์ต ในเวลาทำการปกติ จันทร์ถึงศุกร์ มนเวลา 08.30-16.30 น. ในเขต กทม.และปริมณฑลก็มี 1.กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ 123  ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่  2.สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวมีนบุรี ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาสุวินทวงศ์ 29  และ 3. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT.คลองเตย สถานีรถไฟฟ้ามหานคร เขตคลองเตย 4.สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา- ศรีนครินทร์  ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ชั้น 1  โซน c  5. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวสายใต้ใหม่-ตลิ่งชัน  อาคาร SC plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) 
6.สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวธัญบุรี ห้างฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ชั้น 3  และสุดท้าย7.สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวบางใหญ่  ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต ชั้น G  ส่วนสำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ประตูฝั่งทิศตะวันออก ชั้น7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ จะทำเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น                              
ในการจองคิวทำพาสปอร์ตออนไลค์ สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์  www.qpassport.in.th  กดเข้าไปลงทะเบียนได้ตามขั้นตอน                            

7 ก.ค. 2565

กราบหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก อ.เมือง จ.นครปฐม

โดย.ณ วงเดือน
      เมื่อหลายปีก่อนได้ขับรถผ่านไปยังถนนเส้น ตำบลมาบแค อ.เมืองนครปฐม  เลยถือโอกาศแวะเข้ากราบหลวงพ่อทา แห่งวัดพะเนียงแตก พระเกจิชื่อดังในสมัยก่อน ซึ่งท่านเป็นผู้ที่คนให้ความเคารพเลื่อมใส ศรัทธามิได้ขาดจนปัจจุบัน ยังมีสาธุชนหลั่งไหลมากราบไหว้ขอพร อยู่เสมอมา
วัดพะเนียงแตก สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ.2334  ตั้งอยู่บ้านหมู่ 4 ต.มาบแค เดิมชื่อวัดปทุมคงคา พื้นที่โดยรอบของวัดมีเนื้อที่ 44 ไร่ 40 ตรว. จนต่อมาได้ชื่อวัดพะเนียงแตกนั้น ก็มีสาเหตุความเป็นมาดังนี้                            
  ในสมัยที่หลวงพ่อทา อยู่ที่วัดพะเนียงใหม่ ๆ ท่านชอบเล่นพลุไฟพะเนียง ในงานบุญเทศกาลประจำปีของวัด ซึ่งในขณะที่ท่านเอามือไปปิดปากพลุ ไม่ให้พลุออกมาทางปากกะบอกขณะนั้นจึงทำให้ พลุพะเนียงลูกนั้นแตกระเบิดใส่ท่าน แต่ท่านไม่ได้รับบาดเจ็บใด ๆ เลย
ซึ่งท่านทำเช่นนั้น เพื่อต้องการให้พวกนักเลงหัวไม้ได้เกรงขาม เพื่อจะได้ให้เชื่อฟัง และปกครองและอบรมให้เป็นคนดีต่อไป จนต่อ ๆ มาในทุกปีงานเทศกาลของทางวัด ไม่มีเหตุทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นสักคราวเดียว จนชาวบ้านได้ให้ฉายาท่านว่า หลวงพ่อพะเนียงแตก และเรียกชื่อวัดต่อมา ว่าวัดพะเนียงแตก ตามมาด้วย
หลวงพ่อทา ท่านเป็นชาว อ.โพธาราม จ.ราชบุรี  เกิดในรัชสมัยรัชกาลที่ 3  เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชา เป็นสามเณร ที่วัดโพธาราม มีหลวงพ่อทาน เจ้าอาวาสสมัยนั้นเป็นผู้บวชให้  จนกระทั่งอายุครบอุปสมบท เป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ.2386 ที่วัดบ้านฆ้อง  อ.โพธาราม จ.ราชบุรี   
      จากนั้นได้ตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัย และฝึกวิปัสสนากรรมฐาน แล้วท่านจึงออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ  เป็นเวลาหลายปี จนท่านเดินธุดงค์มาถึงวัดพะเนียงแตก แห่งนี้ในช่วงปีประมาณ พ.ศ.2417  ขณะท่านอายุได้ 51 ปี และตกลงใจที่จะอยู่จำพรรษาที่วัดเล็ก ๆ แห่งนี้มาแต่ครั้งนั้น                                       
หลวงพ่อทา ท่านได้อยู่และพัฒนาวัด จนเจริญรุ่งเรือง มีชาวบ้านทั้งใกล้และไกล ต่างทราบกิติศัพย์บารมีของท่าน ต่างก็มากราบไหว้สักการะ ถึงที่วัดท่านอยู่เนื่อง ๆ          จนมาถึง ปี พ.ศ.2462 ( รศ.138 ) ปีมะแม หลวงพ่อท่านได้แก่ชราภาพมาก ได้มรณะภาพลงอย่างสงบ สิริอายุ ได้ 96 ปี พรรษา 76
ในการได้มากราบรูปเหมือนหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ในครั้งนั้น ทางวัดกำลังจัดสร้าง หลวงพ่อทาองค์ใหญ่  มีขนาดหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 19 เมตร หล่อด้วยเนื้อทองเหลือง ซึ่งช่วงเวลาที่ไปปีนั้น กำลังหล่อเสร็จแล้ว ส่วนเศียรถึงไหล่   
จนปัจจุบัน ยังไม่มีโอกาศ ได้กลับไปกราบเที่ยวชม อุทยานหลวงพ่อทา องค์ใหญ่อนุสรณ์ ซึ่งปัจจุบันนี้ทราบว่า สร้างเป็นที่เสร็จเรียบร้อย สวยงาม สามารถไปเที่ยวชมกราบไหว้ขอพรกันได้ที่วัดพะเนียงแตก ต.มาบแค อ.เมือง จ.นครปฐม

6 ก.ค. 2565

หลวงปู่เส่ง อินทสโร วัดน้อยนางหงษ์ เขตบางยี่ขัน กทม.

โดย.ณ วงเดือน
      ได้มีโอกาศมายังวัดน้อยนางหงษ์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 เขตบางยี่ขัน กทม. ในงานขาวดำของพี่ชายเพื่อนร่วมงานสื่อมวลชน ที่นับถือที่วัดแห่งนี้ จึงได้มีโอกาสเข้ามากราบรูปเหมือนหลวงปู่เส่ง อินทสโร  อดีตเจ้าอาวาสของวัดนี้ด้วย
วัดน้อยนางหงษ์ เป็นวัดเล็ก ๆ ด้านตะวันออก ของวัดอยู่ติดกับคลองสุนัขหอน  ทิศใต้จรดคลองบางยี่ขัน เนื้อที่ของวัดมีประมาณเพียง 8 ไร่  กับอีก 1 งาน ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2350 โดยพระปิ่น ได้ซื้อที่ดินจากชาวสวนสมัยนั้น ในราคา 30 บาท แล้วสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น               
จากนั้นก็ได้เจริญพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ และได้รับวิสุงคามสีมา เป็นวัดที่ถูกต้องเมื่อปี พ.ศ.2362  และพระปิ่น ก่อได้เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้          
วัดน้อยนางหงษ์  สันนิษฐานว่า  เป็นชื่อของชาวบ้านแถวนั้น เป็นผู้ออกทุนทรัพย์และอุปถัมน์วัดแห่งนี้ จึงได้ชื่อตามที่ปรากฎอย่างเช่นทุกวันนี้  ซึ่งมีอุโบสถ หลังเล็ก ๆ หน้าบัน มีลายปูนปั้น ซุ้มประตูหน้าต่าง ทำด้วยหินทรายแดง  ลวดลายวิจิตรสวยงามมากเลยทีเดียว  ด้านหลังอุโบสถมีพระพุทธรูปปางป่าเลย์ไลยก์ ให้ขอพรอีกด้วย                
  ด้านข้างอุโบสถ จะเห็นมีมณฑปหลังเล็ก ๆ ภายในมีรูปปั้นบูรพาจารย์อดีตเจ้าอาวาสองค์เก่า ที่เป็นพระเกจิของวัดนี้ คือหลวงปู่เส่ง อินทสโร ซึ่าวบ้านแถบนั้นให้ความเคารพศรัทธามาก ได้มากราบไหว้บูชากันตลอด    
หลวงปู่เส่ง อินทสโร  หรือท่านพระครูอนุกูลพิทยา  ท่านเป็นพระสายวิปัสสนากรรมฐานที่เคร่งครัดมาก ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดน้อยนางหงษ์นี้ เป็นรูปที่ 2 ครองวัดมาแต่ ปี พ.ศ.2460-2521 เป็นระยะเวลานานที่ท่านสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน ในที่แห่งนี้   วัตถุมงคลต่าง ๆ ของท่านก็เป็นที่นิยมแสวงหาบูชาในหมู่ลูกศิษย์ลูกหามากพอสมควร  ซึ่งมีอภินิหารแก่ผู้ครอบครองรักษาให้ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน   แก่ผู้นับถือท่านเสมอมา   
                           

หลวงปู่เส่ง อินทสโร ท่านเป็นคนจ.ลพบุรี เกิดที่บ้านกระแซง ต.ตะลุง อ.เมืองลพบุรี ในช่วงอายุ 10 ปี ท่านได้ตามบิดามาอยู่แพที่บ้านปูน กรุงเทพฯ                                  
จนเมื่อท่านอายุครบอุปสมบท จึงได้บรรพชาอุปสมบท ที่วัดน้อยนางหงษ์ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2443 มีพระอาจารย์ริด เป็นอุปัชชาย์ มรณภาพเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2521 สิริอายุรวม 98 ปี 78 พรรษา                                        
ในการได้มายังวัดน้อยนางหงษ์ เขตบางยี่ขัน กทม.  ของผู้เขียนในครั้งนี้ ได้มากราบขอพรหลวงปู่ และทราบประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้ จึงขอบันทึกไว้เป็นอีกเรื่องราวที่ได้พบปะ บันทึกไว้ให้เป็นความรู้และคงอยู่ตลอดไป.