24 ก.ย. 2563

เที่ยวชมธาตุก่องข้าวน้อย อ.เมือง จ.ยโสธร

ธาตุก่องข้าวน้อย ฆ่าแม่ บ้านสะเดาตาดทอง จ.ยโสธร
โดย.ณ วงเดือน
  
   ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเรื่องราวของ แม่และลูกชาย ที่มีอาชีพทำนา ด้วยความหิวโหย ถึงกับฆ่าแม่ของตัวเอง จนเป็นที่มาของเรื่องราวธาตุก่องข้าวน้อย ฆ่าแม่ ครั้งนี้บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ ได้มีโอกาศแวะมาเที่ยวชม จึงขอบันทึกไว้อีกเรื่องราว

ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์ ที่มีเรื่องราวความเป็นมา ไม่เหมือนกับการก่อสร้าง เจดีย์ ในที่ต่าง ๆ  เพราะเกิดจากการทำมาตุฆาต คือการ สร้่งเจดีย์เพื่อชำระบรรเทาลบล้างบาป ที่ได้ฆ่าแม่ตัวเอง  จึงเป็นเจดีย์ ที่ให้ข้อคิดเตือนสติตัวเอง อย่างยิ่ง

ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ บ้านสะเดา-ตาดทอง มาตามถนนธรรมาภินันท์ ซึ่งธาตุเจดีย์นี้ ตั้งอยู่ในกลางทุ่งนา ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร มีเจดีย์และสถูปพระพุทธรูป ตั้งอยู่ข้างกัน ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนแบบโบราณ 


ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์เก่าแก่ยุคสมัยขอม คาดว่าสร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงช่วงอยุธยาตอนปลาย เป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตรุรัส กว้างแต่ละด้าน 2 เมตร สูง 1 เมตร และรอบเจดีย์ ก่อเป็นกำแพงอิฐล้อมโดยรอบ 


ตำนานการสร้างเจดีย์นี้ มีเรื่องเล่าบันทึกต่อ ๆ กันมาว่า มีครอบครัวหนึ่งมี แม่ชราและลูกชาย ลูกสะไภ้ ที่กำลังตั้งท้อง อยู่กัน 3 คน ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงฤดูการทำนา ลูกชายชื่อทอง ได้ออกไปไถนาแต่เช้าตรู่ จนตะวันสาย รอแม่เอาข้าวมาให้กินแต่เช้า จนเกือบเวลาใกล้เพล ยังไม่เห็นแม่เอาข้าวมาส่งสักที ทำให้เกิดโมโหหิวขาดสติ


ลูกชายที่ชื่อทอง ไถนาไปด้วยบ่นพึมพำไปด้วย มองทาง ที่แม่เฒ่า ว่าเมื่อไร แม่จะเอาข้าวมาส่งสักที  ด้วยความที่หิวข้าว และเหนื่อยจากการไถนา หิวข้าวจนตาลาย เมื่อเห็นแม่หอบหิ้วข้าว ของมาให้เกือบเพล มองเห็นกะติบข้าว ที่แม่เอามาให้เล็กนิวเดียว บอกว่าจะพออิ่มได้อย่างไร  ด้วยความโมโห เลยใช้ไม้ทุบแท่ตัวเองจนตาย แล้วลงมือกินข้าว เมื่ออิ่มแล้วเริ่มได้สติคืนมา และสำนึกผิดต่อแม่ จึงได้ก่อสร้างเจดีย์ธาตุนี้ขึ้น เพื่อเป็นการไถ่บาปตัวเอง


เมื่อปี พ.ศ. 2525 ชาวบ้านได้ขุดพบไหโบราณ จำนวน 4 ไห ใต้ฐานเจดีย์องค์แรก พบสิ่งของที่บรรจุในไห มีพระพุทธรูป ปางสมาธิ และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ตลอดพระพุทธรูป ที่สร้างจากสำริด และตะกั่ว อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปดินเผาสีแดงชาดปิดทอง  กล้องยาสูบ เครื่องถ้วยชามแบบจีน และเศษเถ้ากระดูก ของคนโบราณบรรจุในไห ที่พบนั้นด้วย ทราบว่าปัจจุบันได้นำมาเก็บรักษาไว้ ที่วัดทุ่งสะเดา บ้านตาดทอง นั้นเอง



ธาตุก่องข้าวน้อย วัดสะเดา-ตาดทองนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ห้ามผู้ใดบุกรุกทำลาย มีความผิดตามกฎหมาย  เมื่อ 27 กันยายน 2479 และได้รับการบูรณะครั้งล่าสุด ปี 2537 

ด้านหน้าทางเข้ามา ยังธาตุก่องข้าวน้อย มีป้ายบอกเรื่องราวความเป็นมา ของธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ ให้ผู้คน ได้รับรู้ ถึงความเป็น
บรรยากาศท้องทุ่งนา ที่บ้านสะเดา-ตาดทอง ในทุกวันนี้ ก็ยังคงดูสงบ เงียบเหงา รอผู้คนแวะมาเยี่ยมเยือน เพื่อเป็นข้อคิดเตือนสติตนเอง เมื่อได้มาเยือนเที่ยวชม  ยังที่แห่งนี้


การเดินทางมาเที่ยวชม สามารถมาได้ทั้งจาก เส้นทางหลวงหมายเลข 23  ( สายยโสธร- อุบล ฯ ) จากตัว จ.ยโสธร ระยะทาง 9 กม.หรือมาทางจาก จ.อำนาจเจริญ ก็ได้เช่นกัน 




บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ ได้มาเที่ยวเยี่ยมชม จึงขอบันทึกเรื่องราว ของพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้  ไว้เป็นความรู้และ อนุสติเตือนใจ ถึงเรื่องราวแห่งนี้ อยู่ในความทรงจำดี ๆ ตลอดไป.

23 ก.ค. 2563

พระธาตุโพน วัดเจติยาราม เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว.

โดย.ณ วงเดือน




  หลายปีก่อน ได้มีโอกาศเดินทางมายังพระธาตุโพน วัดเจติยาราม บ้านโนนทาด เมืองไชพูทอง สปป.ลาว 
บันทึกท่องเที่ยว ในความทรงจำ จึงขอบันทึกเรื่องราว ความเป็นมาของสถานที่นี้ ไว้เป็นความรู้และความทรงจำดี ๆ ตลอดไป

พระธาตุโพน ตั้งอยู่กลางทุ่งนา บ้านโนนทาด เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ลาว พระธาตุแห่งนี้เป็นอีกแห่ง ที่ชาวลาวเคารพศรัทธาเลื่อมใสมากอีกแห่งหนึ่ง

การเดินทางมาในครั้ง ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ขับข้ามมาจากฝั่งไทย โดยใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร  หลังทำพิธีการตรวจคนเข้าเมืองมาแล้ว ก็วิ่งข้ามสู่ฝั่งลาว ตรวจพาสปอต ทั้งรถ ทั้งคนเรียบร้อย ก็ขับสู่เมืองไกสอนพรมวิหานทันที 
.
เลี้ยวขวา ที่แยกวงเวียนไดโนเสาร์ เราใช้เส้นเลี่ยงตัวเมืองไกสอน ตามทางหลวงสาย 9B จนมาถึงหลักบ้านหลัก 35 ระยะทางกว่า 35 กม.แล้วเลี้ยวขวามาเมืองไชพูทอง อีกระยะทางกว่า 20 กม.ผ่านท้องนาไร่ ของชาวบ้านมาพอสมควร จะถึงตัวเมืองไชพูทอง แล้วเลี้ยวขวามา ตามถนนลูกรัง ผ่านนาชาวบ้านและสะพานไม้ผสมเหล็ก ที่พุพัง มาอีก เกือบ 5 กม.มองเห็นวัดได้แต่ไกล

พื้นที่บริเวณโดยรอบของวัดเจติยาราม โพนทาดนี้ มีพื้นที่อาเขตหลายร้อยไร่พอสมควร ซึ่งได้ลองขับรถวน รอบวัดมาแล้ว
เราเดินเที่ยวชม รอบบริเวณวัดจนทั่วแล้ว จึงได้ไปบูชา ขันหมากเบง ที่ทำเป็นพานดอกไม้ ทำด้วยใบกล้วยจับเป็นพลูชั้น ๆ ขึ้นเป็นรูปเจดีย์ขนาดเล็ก ๆ ประดับด้วยดอกไม้ เพื่อนำไปบูชาองค์เจดีย์ทาดตามลำดับ และมาดูประวัติของพะทาดแห่งนี้ที่ชาวลาวบันทึกไว้ดังนี้
ตามตำนานแต่โบราณกาลชาวลาวเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่นี่ หลังจากที่พระองค์ทรงฉันภัตาหารที่ทำด้วยเนื้อหมู  ที่ต้นรัง ซึ่งปัจจุบัน คือที่ตั้งะะทาดอิงฮัง นั่นเอง แล้วได้มายังที่บริเวณที่เป็นพะทาดโผ่นแห่งนี้ เกิดท้องเสียอย่างแรง พญานาคได้เนรมิต ส้วมสำหรับเป็นที่ถ่ายหนักเบา ให้พระองค์ ชาวบ้านเลยเรียกพะทาดโพน หรือพะทาดขี้โผ่น ก็เรียก เช่นกัน
บันทึกของชาวลาวกล่าวว่าพะทาดโผ่นหลือเจ้าแท่นคำเหลือง เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ตั้งอยู่ห่างจากเทสะบานเมืองไชพูทอง 22 กิโลแมดตามเส้นทางเลขที่ 13 ใต้มุ่งหน้าสู่แขวงจำปาสัก 
ตามตำนานได่ก่าวไว่ว่า : พะทาด องนี้ส้างขึ้นในตอนค่ำของวันพุด เดือน 12  พส.236 ส้างด้วยหินเข้าจี่ หลือเอิ้นว่า (หินหนามหน่อ) ก่อเป็นทาดอุโมง ฮูปโอขว่ำ  กว้างด้านละ 12 วา ส้างมื้อนึ่งกับคืนนึ่งก็สำเล็ดมาเถิงปะจุบันนี้มีอายุ 2,500 ปี
สะนั้นสะถานที่แห่งนี้จึงถือว่าเปนมอระดกตกทอด เป็นสมบัติมิ่งเมืองที่มีค่าสูง  โดดเด่นทางด้านวัดทะนะทำอันบ่ำค่าและเป็นปะหวัดสาด ซึ่งติดพันกับแบบแผนดำลงชีวิตของปะชาชนลาว บันดาเผ่ามาแต่ดึกดำบัน และยังเป็นสะถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัดทะนะทำที่สำคัน และมีชื่อเสียงอีกหนึ่งของแขวงสะหวันนะเขต
ก็เป็นความเชื่อและบันทึกเรื่องราว ความเป็นมาของพระธาตุโพ่น แห่งเมืองไชพูทอง มาจากหลายแห่งหน ที่ได้บันทึกเป็นความเชื่อต่อ ๆ กันมา ว่าใครมาบนบาน ขอพรมักสมปรารถนากันทุกคน เมื่อสมหวังแล้ว ก็กลับมาแก้บน ตามที่บนบานไว้ 

บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ จึงขอบันทึกเรื่องราว ความทรงจำดี ๆ ที่ได้ไปเยือนพะทาดโผ่น แห่งนี้ ให้อยู่ในบันทึกเที่ยว แห่งนี้ตลอดไป.
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


16 ก.ค. 2563

ข้ามโขงไปกราบพระธาตุอิงฮัง สะหวันนะเขต สปป.ลาว

โดย.ณ วงเดือน

     เมื่อปีที่แล้ว บันทึกเที่ยวในความทรงจำ ได้มีโอกาศเดินทางข้ามไปยัง เมืองไกสอนพรหมวิหาน สะหวันเขต สปป.ลาว เพื่อไปเที่ยวชม วัดวาอารามและไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่่ชาวลาวนับถือกันมากอีกแห่งหนึ่งนั้นก็คือ พระธาตุอิงฮัง ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุในการก่อสร้างไล่เลี่ยกันกับพระธาตุพนม ของไทย
สถานที่นี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธ ทั้งลาว และไทยตลอดจนนักท่องเที่ยวทั่วไปที่นับถือพุทธศาสนา ต่างก็มักมาแสวงบุญและท่องเที่ยวกันที่นี่ เราใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว มุกดาหาร หลังทำพิธีการตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อย เราขับรถเข้าสู่เมืองลาวทันที
ในครั้งนี้เรามุ่งหน้าตั้งใจ มาที่พระธาตุอิงฮัง เป็นการเฉพาะ  เมื่อเราขับรถเข้ามาถึงฝั่งลาวประมาณ เกือบหนึ่งกิโลเมตรจะพบกับ วงเวียนไดโนเสาร์ แล้วเลี้ยวซ้ายมือ ไปตามทางหลวงหมายเลข 13 ขึ้นมา ทางเมืองเซโน บ้านโพนสิม ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เจอป้ายบอกทางเข้าพระทาดอิงฮัง แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีก ประมาณเกือบ 2 กม.

ทางเข้าไปสู่พระทาดอิงฮัง ขณะกำลังพัฒนาในช่วงที่เข้าไปในตอนนั้น ยังเป็นทางลูกรังอยู่ ซึ่งก็ถือว่าสะดวกพอสมควร ใช้เวลาขับรถเข้ามาไม่ถึง 5 นาที ก็มาถึงลานจอกรถด้านหน้า องค์พระทาด เสียค่าจอดอีก ประมาณ 2,000 กีบ และเมื่อจะเข้าไปด้านในองค์พระทาดอิงฮัง ก็เสียค่าเข้าไปอีก ชาวลาว 2,000 กีบ ต่างชาติ 5,000 กีบ ซึ้งโดยรอบองค์พระธาตุจะสร้างเป็นกำแพงโดยรอบ มีประตูทางเข้าหลายด้าน

เมื่อเข้ามาแล้วด้านในจะมี ขันหมากเบ็งขายให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเอาไปบูชา องค์พระทาดอิงฮังอีกด้วย ขายอยู่บริเวณทางเข้าองค์พระทาดนั้นเอง และรอบผนังกำแพงของพระะธาตุด้านใน ยังมีพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ เรียงรายโดยรอบ ทั่วกำแพงหลายร้อยองค์เลยทีเดียว

ในบันทึกเรื่องของการสร้างพระธาตุอิงฮังนี้ ที่เป็นข้อมูลของชาวลาว ได้บันทึกไว้เป็นภาษาลาวว่า " พะทาดอิงฮังเป็นเจดีที่บันจุกะดูกของสมเด้ดพะพุดทะเจ้า ส้างขึ้นเมื่อปี พ.ส. 500 เพื่อเป็นอะนุสอนไว้ว่าคั้งหนึ่งพะพุดทะเจ้า ได้มาโผดสัดในดินแดนสุวันนะพูมแห่งนี้ และได้นั่งสันเข้าอิงต้นฮังยู่ จึ่งใส่ชื่อว่า " ทาดอิงฮัง "

ซึ่งบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ในการได้มาเยือนกราบไหว้องค์พระธาตุอิงฮัง เมืองสะหวันนะเขต ในครั้งนี้นั้น จึงขอนำเรื่องราวการสร้างพระธาตุและความเป็นมาในที่ต่าง ๆ มาบันทึกไว้เป็นความรู้ของผู้เขียนอีกด้วย ซึ่งการบันทึกเรื่องราวก็มีความแตกต่างกันออกไป ต่างได้ความรู้ในมุมมองต่างกัน และดูอีกบันทึกหนึ่งขององค์พระธาตุอิงฮังนี้ว่า

ในประวติการสร้างพระธาดุอิงฮัง นี้สร้างขึ้นราว พ.ศ. 400 ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร มีความสูง 25 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนโบราณ ฐานรอบองค์พระธาตุกว้างแต่ละด้าน 9 เมตร มีประตูเข้าภายในองค์พระธาตุ ทั้ง 4 ด้าน และรอบด้านขององค์เจดีย์ มีภาพแกะสลักนูนต่ำ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้รับการบูรณะในสมัยอาณาจักรล้านช้าง และสมัยฝรั่งเศสปกครอง

องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาในหลายสมัย ในครั้งรัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้ม ช่วงปี พศ.1892 เมื่อพระองค์รวบรวมอาณาจักรลาว ให้เป็นปีกแผ่น พระองค์ก็ได้ทำนุบำรุงองค์พระธาตุให้มีความสวยงามเจริญขึ้นมากในยุคพระองค์
และในปี พศ.2492 ประชาชนชาวลาว ร่วมแรงร่วมใจสละเงินทุนทรัพย์ พัฒนาพระธาตุอิงฮัง ด้วยการขยายอาณาพื้นที่สร้างเป็นกำแพงโดยรอบและ สร้างประตูโขง สร้างศาลาโรงธรรม ให้กับผู้มากราบไหว้บูชาได้มีที่พักพิง ทำพิธีกรรมของทางวัด อีกด้วย



โดยรอบขององค์พระธาตุ มีการแกะสลักลายนูนต่ำอย่างสวยงาม และภายในองค์พระธาตุนี้ ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนกระดูกสันหลังของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ภายใน

ในทุกวันทางวัดพระธาตุอิงฮังจะเปิดให้กับผู้คนได้เข้าไปเที่ยว และกราบไหว้ขอพรกัน ตั้งแต่เวลา 08.00 จนถึงเวลา 16.30 น. และในทุกปีจะมีการจัดงานนมัสการองค์พระธาตุในช่วงเดือน ธันวาคม ในงานมีขบวนแห่เทียน การฟ้อนรำถวายองค์พระธาตุอย่างยิ่งใหญ่ ผู้คนนับหมื่นๆ ร่วมงานอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี




ในการได้มาเยือนองค์พระธาตุอิงฮังในครั้งนี้ จึงขอบันทึกทุกเรื่องราวความเป็นมา ไว้ในบันทึกท่องเที่ยวในความทรงจำ ของผู้เขียน ได้รับรู้ประเพณีอันดีงาม ศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ได้ไปเยือน มาบันทึกไว้เป็นความรู้ทรงจำดี ๆ ให้คงอยู่ตลอดไป..