12 ต.ค. 2563

ชมพุทธอุทธยาน จ.นครนายก

ไปเที่ยวชม พุทธอุทยาน จ.นครนายก
โดย.ณ วงเดือน

จ.นครนายก มีแหล่งท่องเที่ยว ทั้งวัดวาอาราม ภูเขาลำเนาไพร ท่องป่า เดินเขา ชมน้ำตก และสถานที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนนิยมมา ไหว้กราบขอขอพร ก็มีอยู่หลายที่
ครั้งนี้บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ ได้มาเที่ยวชมยังพุทธอุทยาน จ.นครนายก ซึ่งที่นี่ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธที่นี่ เรียกกันว่า พุทธอุทยานมาฆบูชาอนุสรณ์ หรือว่า สวนพุทธชยันตี 2600 ปี
พุทธอุทยานสถานนี้ ตั้งอยู่ที่พื้นที่บ้านหมู่ 3 ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก ที่นี่มีเนื้อที่ 53 ไร่ มีจุดเด่นคือ มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางแสดงธรรม โอวาทปาติโมกข์ มีความสูงถึง 13.5 เมตร ขนาดหน้าตักกว้าง 9 เมตร และมีสงฆ์พุทธสาวก อีกจำนวน 1,250 องค์ ขนาดหน้าตัก 90 ซม.
ซึ่งพื้นที่โดยรอบ มีอาณาบริเวณจอดรถ สะดวกสบายพอสมควร พุทธอุทยานนี้ มีหลวงพ่อ " พระราชพิพัฒน์โกศล เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม เขตบางกอกน้อย กทม.เป็นประธานในการดำเนินการก่อสร้าง ในโอกาศครบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา

และท่านถือเอาฤกษ์ วันมาฆบูชา วันที่ 7 มีนาคม 2555 เป็นวันเททองหล่อ พระเกตุพระพุทธรูป ปางแสดงธรรมโอวาทปาติโมกข์ ขึ้นเป็นครั้งแรก พร้อมปั้นรูปพระสงฆ์อรหันตสาวก รายรอบอีก 1,250 องค์ และพระอสีติมหาสาวก อีก 80 องค์
ด้านหลังของสวนพุทธอุทยาน ยังมีรูปปั้นองค์พิฆเณศร์ ขนาดใหญ่ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและ กราบไหว้กันอีกด้วย
ในอาคารด้านหน้าของ ที่ตั้งองค์พระพุทธรูปแสดงธรรมนั้น ยังมีปฎิมากรรมจากการปั้นทรายเป็นรูปต่าง ๆ อย่างสวยงามอีกด้วย โดยปฎิมากรรมปั้นทราย จัดแสดงนี้ มีพื้นที่ความยาวกว่า 54 เมตร ใช้ทรายจากแม่น้ำ รวมน้ำหนักกว่า 100 ตัน
มีรูปปั้นทั้งเมืองนรก เทวทูต ยมราช พญาครุฑ นาคราช ตลอดจนตำนานเกี่ยวกับพุทธประวัติ และพระพุทธปางต่าง ๆ อีกด้วย
รูปปั้นทรายกงล้อแห่งธรรม มีความละเอียดปราณีตสวยงามมากของช่างปั้นทราย ดูสวยงามราวกับมีชีวิตชีวา ในแต่ละรูปปั้นทรายที่จัดแสดงให้ชม
การเดินทางมายังที่พุทธอุทยานแห่งนี้ อยู่ระหว่างเส้นทางไปน้ำตกสาริกา ติดถนนหมายเลข 3050 ซึ่งเปิดให้เข้าเที่ยวชมได้แต่เวลา 08.00-18.00 น. ของทุกวัน ซึ่งพุทธอุทยานแห่งนี้ มีรูปปั้นพระอรหันต์ที่มีชื่อเสียงด้านต่าง ๆ ทั้ง ปัจจวัคคี ทั้ง 5 อีกด้วย
บันทึกเที่ยว ในความทรงจำ ได้มาเที่ยวเยือนเยี่ยมชมแล้วจึงขอ บันทึกไว้ให้อยู่ในความทรงจำ อีกเรื่องให้คงอยู่ตลอดไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น